8 พ.ย. 2023 เวลา 16:09 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

การสังเคราะห์โปรตีน | Biology with JRItsme

🕓 เวลาที่ใช้ในการอ่าน 4 นาที
การสังเคราะห์โปรตีนเป็นหนึ่งในเมตาบอลิซึมที่แตกต่างไป เพราะต้องอาศัยรหัสพันธุกรรมบน DNA ด้วย ทำให้ในบางคนที่มีพันธุกรรมต่างไป จะสังเคราะห์โปรตีนออกมาต่างกันด้วย โปรตีนที่ได้จากกระบวนการนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเอนไซม์ที่ใช้ในกระบวนการเมตาบอลิซึม แน่นอนว่ากระบวนการต้องดำเนินไปด้วยเอนไซม์เสมอ จึงจะเกิดวิถีเมตาบอลิซึมที่หลากหลายและซับซ้อน
เนื่องจากว่าซีรีส์นี้เป็นอธิบายให้คนธรรมที่ไม่ได้เรียนวิทย์มาก่อน ได้เข้าใจเรื่องที่ซับซ้อนมากขึ้น ผมจะไม่พูดถึงเอนไซม์และสารเสริมที่ช่วยในกระบวนการนี้ทั้งหมด จะขออธิบานเพียงแค่คอนเซ็ปต์คร่าว ๆ ของแต่ละขั้นตอนนะครับ
การถอดรหัสจาก DNA (สายน้ำเงิน) เป็น mRNA (สายแดง) ที่มา: https://ib.bioninja.com.au/standard-level/topic-2-molecular-biology/27-dna-replication-transcri/transcription.html
เริ่มจากขั้นตอนแรก “การถอดรหัส” [Transcription] จะเป็นการแปลงรหัสพันธุกรรมจาก DNA สายคู่ ให้เป็น RNA สายเดี่ยว โดยให้ DNA คลายคู่ออกมา แล้วนำคลีโอไทด์ของ RNA ที่คู่สมมาต่อบนสาย DNA แม่แบบ รันยาวไปเรื่อย ๆ จนหมดสาย จะได้ RNA ที่ใช้สำหรับการถอดรหัสหรือ mRNA [messenger RNA] ส่วน DNA จะกลับมาต่อเป็นเกลียวคู่เหมือนเดิม
การแปลรหัสจาก mRNA เป็นโปรตีนโพลิเปปไทด์ ที่มา: https://quizlet.com/gb/259862584/26-protein-synthesis-translation-diagram/
ขั้นตอนต่อมา “การแปลรหัส” [Translation] แปลจากรหัสพันธุกรรมบนสาย mRNA ให้ได้เป็นโปรตีน โดยใช้ tRNA [Translational RNA] มาจับบริเวณรหัสที่จำเพาะแล้วปล่อยกรดอะมิโนออกมา tRNA ตัวต่อมาจะเข้ามาจับรหัสถัดไปแล้วปล่อยกรดอะมิโนไปเรื่อย ๆ จนหมดสาย กรดอะมิโนที่ได้แต่ละตัวจะต่อกันเป็นโพลีเปปไทด์หรือโปรตีนปฐมภูมิ ม้วนพับจนได้ระดับทุติยภูมิ ตติยภูมิ จตุรภูมิตามลำดับ ได้เป็นโปรตีนที่จะทำหน้าที่ตามคำสั่งยีนบน DNA แม่แบบในที่สุด
ภาพรวมการสังเคราะห์โปรตีนขั้นตอนการถอดและแปลรหัส ที่มา: https://www.khanacademy.org/science/ap-biology/gene-expression-and-regulation/transcription-and-rna-processing/a/overview-of-transcription
การสังเคราะห์โปรตีนเกิดขึ้นได้หลายตำแหน่งของ DNA เนื่องจากแต่ละบริเวณแสดงถึงยีนที่ทำหน้าที่ต่างกัน โปรตีนที่ได้ออกมาจึงจะทำหน้าที่ตามคำสั่งยีนนั้นด้วย สำหรับบางคนที่ไม่มียีนบางชนิด เช่น ยีนเอนไซม์เรนินที่ใช้ย่อยน้ำนม จึงไม่เกิดการผลิตการสังเคราะห์เรนินออกมา ทำให้เกิดอาการแพ้นมนั่นเอง
และนี่คือทั้งหมดของกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน เมตาบอลิซึมที่อิงพันธุกรรมโดยตรง ในตอนต่อไปจะเป็นการอธิบายว่าเหล่า X-men เกิดขึ้นมาได้อย่างไร แล้วเราจะมีสิทธิ์ได้พลังวิเศษแบบนั้นไหม... อย่าลืมติดตามเพจ Mr.BlackCatz. Academy ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจ เพื่อไม่พลาดเนื้อหาชีววิทยาฉบับคนทั่วไปเข้าใจง่ายนะครับ 😻

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา