29 ก.พ. เวลา 23:10 • ประวัติศาสตร์

‎بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَـٰنِ الرَّحِيمِ

วันศุกร์ ที่ 18 เดือนยะมาดิ้ลอาเคร่ ฮ.ศ. 1443 : อ้างอิงวันที่จากเพจประวัติศาสตร์อิสลาม
ท่านอัลมัสอูดี นักประวัติศาสตร์ นักภูมิศาสตร์ และนักเดินทางชาวอาหรับ
ท่านอะบูฮา ซัน อะลี อิบน์ อัลฮุซัยน์ อิบน์ อะลี อัลมัสอูดี (أَبُو ٱلْحَسَن عَلِيّ ٱبْن ٱلْحُسَيْن ٱبْن عَلِيّ ٱلْمَسْعُودِيّ)
ท่านเกิดในปี ฮ.ศ. 282 (ค.ศ. 896) ที่เมืองแบกแดด ประเทศอิรักในปัจจุบัน ในช่วงยุคทองของอิสลามในสมัยนั้น ท่านสืบสายมาจากท่านอับดุลลาห์ อิบน์ มัสอูด (Abdullah ibn Masud) สหายท่านนบีมูฮัมหมัด ซล.
ท่านอัล มัสอูดี บางครั้งท่านถูกกล่าวว่าเป็น “เฮโรโดทัส ของชาวอาหรับ” (ท่านเฮโรโดทัส ถูกยกย่องให้เป็น บิดาแห่งประวัติศาสตร์ในสมัยกรีกโบราณ”
ท่านเป็นนักเขียนที่มีความรู้รอบด้านที่มีผลงานทั้งด้านศาสนศาสตร์ ,ประวัติศาสตร์อิสลามประวัติศาสตร์สากล
และอารยธรรมโบราณ เช่น อาณาจักรอัสซีเรีย ,อิทธิพลของบาบิโลนโบราณต่อเปอร์เซีย ,ประวัติอเล็กซานเดอร์มหาราชกับอาร์ดาชี ที่ 1 (Ardashir king of Marv) ที่แม่นยำกว่าท่านอัล ทาบารี (Muhammad ibn Jarir al-Tabari) ,ตำนานการก่อตั้งกรุงโรมของโรมูลัสและรีมัส และประวัติของไซรัสมหาราช เป็นต้น
ภูมิศาสตร์ ,วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ,ปรัชญา และมีผลงานมากกว่า 20 ชิ้น
ผลงานชิ้นเอกของท่านคือ มุรูญุษษะฮับ วะมะอาดินิลเญาฮัร (ทุ่งหญ้าทองคำและถ้ำแห่งอัญมณี) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สากล ,ภูมิศาสตร์ที่อิงวิทยาศาสตร์ ,อรรถกถาสังคม และชีวประวัติ
ก่อนที่ท่านอัล มัสอูดี จะเสียชีวิตในเดือนยะมาดิ้ลอาเคร ฮ.ศ. 345 (ค.ศ. 956) ตอนอายุ 63 ปีตามฮิจเราะห์ศักราช ที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ในปัจจุบัน
ท่านได้เขียนผลงานสำคัญอีกชิ้นนึงคือ อัตตันเบียะห์ วัลอัชร็อฟ (การตักเตือนและทบทวน) ที่มีเนื้อหา 1 ใน 5 เกี่ยวกับอาณาจักรไบแซนไทน์
ท่านอัล มัสอูดี ท่านชื่นชอบการเดินทางไปตามอาณาจักรต่างๆ เช่น อาณาจักรอับบาซิยะห์ ,อียิปต์ ,หุบเขาสินธุ ,ดินแดนอาหรับและชีเรีย เป็นต้น
ท่านอัล มัสอูดียังพบปะกับนักวิชาการมุสลิมท่านอื่นๆ เช่น ท่านคาซาจิม (Kashajim) ที่มีความรู้ด้านปรัชญา ที่เมืองอาเลปโป
ท่านอบู ซัยด์ อัล-สิราฟี (Abu Zaid al-Sirafi) ที่ความรู้เกี่ยวกับประเทศจีนและอินเดีย ที่บริเวณชายฝั่งอ่าวเปอร์เซีย
และท่านราชิก อัล-วาดามี (ลีโอ แห่งตริโปลี) ผู้บัญชาการกองทัพเรือของจักรวรรดิอับบาซิยะห์ ในศึกซาโลนิกา ปีฮ.ศ. 291
ทั้งยังแล่นเรือในมหาสมุทรอินเดีย ,ทะเลแดง ,ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทะเลแคสเปียนอีกด้วย
และยังศึกษางานเขียนทั้งมุสลิมและงานเขียนของต่างศาสนิก เช่น งานเขียนของท่านอัล-คินดี และท่านอัล-ราซี เกี่ยวกับปรัชญา ,งานเขียนของท่านกาเรน เกี่ยวกับงานด้านการแพทย์ ,งานเขียนของท่านปโตเลมี เกี่ยวกับด้านดาราศาสตร์ และงานเขียนของท่านมารีนุส เกี่ยวกับด้านภูมิศาสตร์ เป็นต้น
ขอยกอัลกุรอาน มากล่าวไว้ ณ ที่นี้ สัก 1 อายะห์ ความว่า :
وَهُوَ الَّذِي مَدَّ الْأَرْضَ وَجَعَلَ فِيهَا رَوَاسِيَ وَأَنْهَارًا ۖ وَمِن كُلِّ الثَّمَرَاتِ جَعَلَ فِيهَا زَوْجَيْنِ اثْنَيْنِ ۖ يُغْشِي اللَّيْلَ النَّهَارَ ۚ إِنَّ فِي ذَٰلِكَ لَآيَاتٍ لِّقَوْمٍ يَتَفَكَّرُونَ
และพระองค์คือผู้ทรงแผ่แผ่นดิน และในนั้น ทรงทำให้มันมีภูเขามั่นคง และลำน้ำมากหลาย
และจากพืชผลทุกชนิด ทรงให้มีจำนวนคู่
ทรงให้กลางคืน ครอบคลุมกลางวัน
แท้จริง ในการนั้นแน่นอนย่อมเป็นสัญญาณสำหรับหมู่ชนผู้ใคร่ครวญ
ซูเราะห์อัรเราะอ์ดุ อายะห์ที่ 03
ข้อมูลจาก : https://en.m.wikipedia.org/wiki/Al-Masudi
โฆษณา