Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ประวัติศาสตร์อิสลาม - التاريخ الإسلامي
•
ติดตาม
4 มี.ค. เวลา 23:10 • ประวัติศาสตร์
بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَـٰنِ الرَّحِيمِ
วันศุกร์ ที่ 11 เดือนยะมาดิ้ลอาเคร ฮ.ศ. 1443 : อ้างอิงวันที่จากเพจประวัติศาสตร์อิสลาม
ท่านอิบน์ อัล-ซาติร์ ( ابن الشاطر ) นักดาราศาสตร์ และนักคณิตศาสตร์ชาวอาหรับ
ท่านอบู อัล-ฮาซัน อะลา อัล-ดิน บิน อาลี บิน อิบรอฮีม บิน มูฮัมหมัด บิน อัล-มุตา’ม อัล-อันซารี ท่านเกิดปี ฮ.ศ. 704 (ค.ศ. 1304) ในเมืองดามัสกัส ประเทศซีเรีย เสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 777 (ค.ศ. 1375) ในเมืองดามัสกัส ประเทศซีเรีย ตอนอายุ 73 ตามฮิจเราะห์ศักราช
ท่านต้องกำพร้าบิดาตอนอายุ 6 ขวบ ท่านต้องทำงานหาเลี้ยงตัวเองและใช้เงินเก็บจากการทำงานออกเดินทางไปเมืองต่างๆของอียิปต์และเมืองต่างๆของอาณาจักรออตโตมานเพื่อศึกษาเล่าเรียนดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ และกลับมายังเมืองดามัสกัสเพื่อทำงานเกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์
ท่านเป็นนักดาราศาสตร์ ,นักคณิตศาสตร์ และเป็นทั้งวิศวกรท่านทำงานเป็นมุอัซซิน (ผู้จับเวลาทางศาสนา) ในมัสยิดอุมัยยะห์ ในเมืองดามัสกัส
และท่านยังแก้ไขทฤษฎีของ ปโตเลมี ที่ท่านปโตเลมีบอกว่า “โลก เป็นศูนย์กลางมี ดวงอาทิตย์ โคจรรอบโลก” ในหนังสือที่ท่านอิบน์ อัล-ซาติร์ เขียนชื่อว่า “نهاية السؤال في تصحيح الأصول”
และมีอิทธิพลต่อแนวความคิดของ โคเปอร์นิคัส ต่อทฤษฎีที่ว่า “ดวงอาทิตย์ เป็นศูนย์กลางมี โลก โคจรรอบดวงอาทิตย์ และมีดวงจันทร์โคจรรอบโลก”
ด้านดาราศาสตร์ :
ท่านอิบน์ อัล- ซาติร์ ท่านมีแนวคิดที่ต่างจากนักดาราศาสตร์ยุคก่อน ที่ไม่ยึดติดกับหลักการทางทฤษฎีของปรัชญาธรรมชาติและจักรวาลวิทยาของท่านปโตเลมี
แต่พยายามสร้างแบบจำลองจากการสังเกตุและการทดลองทางดาราศาสตร์มากกว่า
แนวความคิดนี้ ทำให้ท่านก้าวหน้ากว่านักดาราศาตร์นุ่นก่อนๆ และถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติทางด้านดาราศาสตร์ก่อนยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของยุโรปซะอีก
ท่านสุลต่านมูราดที่ 1 แห่งจักรวรรดิออตโตมานได้ขอให้ท่านอิบน์ อัล-ซาติร์ เขียนหนังสือที่เกี่ยวกับทฤษฎีทางดาราศาสตร์ รวมถึงแกนหมุนรอบตัวเองของโลกที่ที่เอียงทำมุม 23 : 31
ซึ่งนักดาราศาสตร์ในยุคปัจจุบัน ได้ค่าที่ถูกต้องของมุมองศาเอียงของของโลกอยู่ที่ 24:31:8:19
อุปกรณ์ที่คิดค้น :
ท่านอิบน์ อัล-ซาติร์ ท่านได้สร้างนาฬิกาแดดชื่อว่า “อัล วาซีต” เพื่อบ่งบอกเวลาในแต่ละวัน และได้เอาไปไว้ที่หออะซานมัสยิดอุมัยยะห์ ในปี ฮ.ศ. 772 (ค.ศ.1371) และใช้งานจนถึง ฮ.ศ. 849 (ค.ศ.1446)
อิทธิพลต่อโคเปอร์นิคัส :
นักวิชาการหลายคนเริ่มสังเกตุเห็นรายละเอียดทางคณิตศาสตร์และเลขคณิตของแบบจำลองดาราศาสตร์ของโคเปอร์นิคัสนั้นเหมือนกันทุกประการกับแบบจำลองของท่านอิบน์ ซาติร์
นายโนเอล สเวิร์ดโลว์ ให้ความเห็นว่า
“แบบจำลองวงโคจรดาวพุธ ของโคเปอร์นิคัส นั้นผิด”
นี่จึงเป็นหลักฐานที่ดีที่สุดที่แสดงว่า
“โคเปอร์นิคัส ได้คัดลอกงานของท่านอิบน์ ซาติร์ โดยขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้”
ขอยกอัลกุรอาน มากล่าวไว้ ณ ที่นี้ 2 อายะห์ ความว่า :
وَالسَّمَاءِ ذَاتِ الْبُرُوجِ
وَالْيَوْمِ الْمَوْعُودِ
ขอสาบานด้วยชั้นฟ้าที่เกลื่อนกลาดด้วยดวงดาว
และด้วยวันที่ถูกสัญญาไว้
ซูเราะห์อัลบุรูจญ์ อายะห์ที่ 01-02
ข้อมูลจาก :
https://ar.m.wikipedia.org/wiki/ابن_الشاطر
คุยเรื่องประวัติศาสตร์อิสลาม
ประวัติศาสตร์
ซีเรีย
1 บันทึก
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย