Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MONEY LAB
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
10 พ.ย. 2023 เวลา 10:35 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สิ่งที่อาจเกิดขึ้น หลังรัฐบาลเคาะเงินดิจิทัล
เมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้เคาะเกณฑ์การแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทแล้ว
1
โดยผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเงิน ต้องมีเงื่อนไขครบ 3 อย่างนี้
1. คนไทยที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป
2. มีรายได้ไม่เกิน 70,000 บาทต่อเดือน
3. มีเงินฝากไม่เกิน 500,000 บาท
3
ส่วนแหล่งเงินทุน จะมีการออกพระราชบัญญัติกู้เงิน 5 แสนล้านบาท เพื่อนำมาใช้ในโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท
โดยอาศัยข้อกฎหมายในมาตรา 53 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
4
ซึ่งถ้าสุดท้ายแล้ว รัฐบาลตัดสินใจแจกเงินตามเกณฑ์ข้างต้นจริง ก็ย่อมมีผลกระทบตามมาหลายอย่าง
2
แล้วผลกระทบดังกล่าวมีอะไรบ้าง ?
MONEY LAB จะเล่าเรื่องการเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอน ให้เข้าใจ
2
สำหรับหนึ่งในเงื่อนไข การใช้จ่ายเงินดิจิทัลครั้งนี้คือ เงินดิจิทัลสามารถใช้ซื้อสินค้าทั่วไปได้ทุกร้านค้า รวมไปถึงร้านที่ไม่ได้อยู่ในระบบภาษี
2
อย่างไรก็ตาม ร้านค้าที่จะขึ้นเงินได้ต้องอยู่ในระบบภาษีเท่านั้น ซึ่งเกณฑ์ข้อนี้ก็อาจส่งผลให้ ร้านค้านอกระบบภาษีหันมาเข้าระบบภาษีกันมากขึ้นด้วย
6
นอกจากนี้ เงินก้อนนี้ยังกำหนดให้ใช้จ่ายได้แค่การซื้ออาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค ผ่านทางหน้าร้านเท่านั้น โดยไม่สามารถซื้อสินค้าออนไลน์ได้
ดังนั้น ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค เช่น ร้านค้าปลีก-ค้าส่ง ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ก็น่าจะได้รับผลเชิงบวกในระยะสั้น จากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นมาชั่วคราว
1
อย่างไรก็ตามเงื่อนไขการใช้เงินดิจิทัล ไม่ได้กำหนดว่าต้องใช้กับธุรกิจขนาดกลาง หรือขนาดเล็กเท่านั้น
3
ทำให้ธุรกิจขนาดใหญ่ หรือร้านสะดวกซื้อที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ น่าจะได้รับผลประโยชน์จากการแจกเงินในครั้งนี้มากที่สุด
3
ในด้านเศรษฐกิจมหภาค จะส่งผลกระทบอยู่หลัก ๆ 2 เรื่อง
เรื่องแรกเลยก็คือ ต้นทุนการกู้ยืมน่าจะสูงขึ้น เนื่องจากเมื่อมีความต้องการกู้เงินจำนวนมหาศาล อัตราดอกเบี้ยก็จะเพิ่มสูงขึ้น ตามหลักของอุปสงค์และอุปทาน
1
นอกจากนั้น ประเทศไทยก็มีแหล่งเงินกู้ที่ค่อนข้างจำกัด การที่รัฐบาลต้องการกู้เงินมากขนาดนี้ ก็จะทำให้การกู้เงินของเอกชน เป็นไปอย่างยากลำบากด้วย
2
ปัญหานี้เรียกว่า “Crowding Out Effect” คือการที่ภาครัฐมาแย่งแหล่งเงินกู้ ไปจากภาคเอกชน
โดยฝั่งเอกชนเมื่อจำเป็นต้องกู้เงิน ก็ต้องเสนอดอกเบี้ยของหุ้นกู้ ให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล จึงจะสามารถดึงดูดเงินจากผู้ให้กู้มาได้
ทำให้ทางฝั่งเอกชนที่ทำธุรกิจอยู่ดี ๆ ก็ต้องพบกับต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น จากผลของนโยบายที่ออกโดยรัฐบาล
4
และไม่ได้มีเพียงเอกชน ที่ต้องเสียดอกเบี้ยแพงขึ้นเท่านั้น แต่ดอกเบี้ยที่ประชาชนต้องเจอ เช่น ดอกเบี้ยบ้าน ก็จะสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
4
นอกจากนั้นยังมีอีกสิ่งที่ต้องเสียเพิ่มด้วย นั่นก็คือ เสียโอกาสในการทำนโยบายอื่น ๆ เนื่องจากเงิน 5 แสนล้านบาทนี้ ก็เอาไปทำอะไรได้อีกมาก เช่น โครงสร้างพื้นฐาน และสวัสดิการสังคมต่าง ๆ
นโยบายแบบนี้ยังสร้างปัญหาต่อวินัยทางการคลังให้กับประเทศอีกด้วย โดยปัจจุบัน ระดับหนี้สาธารณะของไทย อยู่ที่ 62.14% ต่อ GDP
5
ทั้งที่ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP เมื่อ 10 ปีที่แล้ว อยู่เพียงแค่ประมาณ 42% เท่านั้นเอง และถ้าหากแนวโน้มหนี้สาธารณะ ยังเป็นแบบนี้ต่อไป การที่หนี้สาธารณะต่อ GDP จะไปแตะระดับ 70% หรือมากกว่านั้น ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้
5
หลายคนอาจดีใจที่รัฐบาลกำลังแจกเงิน 10,000 บาทเข้ากระเป๋าเรา แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้ไม่มีอะไรฟรี
เพราะเมื่อระดับหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลให้ในอนาคต อาจมีการขึ้นภาษี เพื่อให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ให้มากขึ้น
7
และสุดท้าย เงิน 10,000 บาท ที่เราได้มาในวันนี้ ในอนาคตคนธรรมดาอย่างเรา ๆ ก็ต้องมาชดใช้คืนอยู่ดี..
5
Reference
-สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
1
กระเป๋าเงินดิจิทัล
34 บันทึก
123
9
188
34
123
9
188
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย