Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ทนายความ
•
ติดตาม
10 พ.ย. 2023 เวลา 13:35 • การศึกษา
การแต่งกายของทนายความ
การแต่งกายของทนายความผู้ชาย 🙍♂️
1
ในเวลาว่าความมีหลักเกณฑ์ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ซึ่งสรุปได้ ดังนี้
👨🦲 แต่งตามแบบสากลนิยม เป็นชุดสีขาว หรือสีอื่นที่ไม่ฉูดฉาด
👔 เชิ้ตขาว ผ้าผูกคอสีดำหรือสีอื่นที่สุภาพไม่ฉูดฉาดแบบเงื่อนกะลาสี
🧥 หรือแต่งเสื้อชุดไทยแบบแขนสั้นหรือยาวสีสุภาพไม่มีลวดลายแทนเสื้อชุดสากลก็ได้
👞 รองเท้าหุ้มส้นสีขาว น้ำตาลหรือดำ
🧦 ถุงเท้าสีคล้ายคลึงกับรองเท้า
🧑🎓 ในขณะว่าความ ทนายความที่มีสิทธิสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิต ต้องสวมเสื้อครุยนั้นด้วย
👮♂️ ทนายความที่มีสิทธิแต่งเครื่องแบบราชการ จะแต่งเครื่องแบบราชการก็ได้
การแต่งกายของทนายความผู้หญิง 💇♀️
ในเวลาว่าความมีหลักเกณฑ์ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ซึ่งสรุปได้ดังนี้
🦸♀️ แต่งตามแบบสากลนิยม กระโปรง หรือกางเกงขายาวสีขาว กรมท่า ดำ หรือสีอื่น ซึ่งเป็นสีเข้มและไม่ฉูดฉาด โดยมีรูปแบบที่เหมาะสม
👖เสื้อสีขาวหรือสีตามกระโปรง หรือกางเกงขายาว
👠 รองเท้าหุ้มส้น น้ำตาลหรือดำ เข้าชุดกันกับเครื่องแต่งกาย
👩🎓ในขณะว่าความ ทนายความที่มีสิทธิสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิต ต้องสวมเสื้อครุยนั้นด้วย
👨💼👨💼👨💼👨💼👨💼👨💼👨💼👨💼👨💼👨💼👨💼👨💼👨💼👨💼👨💼
เพิ่มเติม 👉🏽 ว่าด้วยชุดครุย
อัยการและทนายความใส่ชุดครุยเหมือนกัน ซึ่งเป็นของเนติบัณฑิต
ผู้มีสิทธิสวมชุดครุย คือผู้ที่สำเร็จการศึกษาเป็นเนติบัณฑิตไทย หรือเป็นทนายความที่ขึ้นทะเบียนวิสามัญสมาชิกกับเนติบัณฑิตยสภา
ส่วนสีแถบ (ตรงบ่าซ้าย) มี 3 สี
แบบมาตรฐาน “สีทอง“ ใช้กันที่ไป เป็นดิ้นทองญี่ปุ่น เรียกว่าสีทองสุก
แบบที่สอง เป็นสีทองอ่อน เป็นดิ้นทองฝรั่งเศษ เรียกว่าสีทองเหลือง (ราคาแพงกว่าสีอื่น)
แบบที่สาม เป็นสีทองดำๆ เหมือนของเก่า เป็นดิ้นทองญี่ปุ่นรมดำ
ส่วนผู้พิพากษาใส่ชุดครุยตุลาการ
👩💼👩💼👩💼👩💼👩💼👩💼👩💼👩💼👩💼👩💼👩💼👩💼👩💼👩💼👩💼👩💼
👩✈️ ทนายความที่มีสิทธิแต่งเครื่องแบบราชการ จะแต่งเครื่องแบบราชการก็ได้
👩⚖️ ข้อบังคับดังกล่าวได้รับการปรับปรุงใหม่ในปี 2566 หลังจากที่คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (คณะกรรมการ วลพ.) วินิจฉัยว่าการใช้ข้อบังคับเดิมเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 และมีคำสั่งให้สภาทนายความและเนติบัณฑิตยสภา (เนติฯ) ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับให้สอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว
กฎหมายย่อยง่าย
กฎหมาย
2 บันทึก
2
5
2
2
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย