16 พ.ย. 2023 เวลา 12:00 • ธุรกิจ

ปตท. พร้อมแค่ไหน ที่จะแข่งขันในระดับภูมิภาค

ปตท. X ลงทุนแมน
จาก Fortune Global 500 ปตท. ถูกจัดเป็นบริษัทที่สร้างรายได้ อันดับที่ 110 จาก 550 ของโลก
ปตท. ติดอันดับมายาวนานกว่า 20 ปี ปีล่าสุด สร้างรายได้อยู่ราว 3.4 ล้านล้านบาท อยู่ในระดับเดียวกันกับบริษัทระดับโลกอย่าง Pfizer, Nestlé และ Johnson & Johnson
ในช่วงที่ผ่านมา เราได้เห็นว่า ปตท. กำลังรุกเข้าสู่ธุรกิจพลังงานสมัยใหม่ และธุรกิจที่มากกว่าพลังงาน เพื่อรองรับการเติบโตต่อไป และตอบรับเป้าหมาย Net Zero Emissions ของโลก
 
วันนี้ เรามาดูกันว่า ปตท. พร้อมแค่ไหน
ที่จะแข่งขันในระดับภูมิภาค ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ปตท. ลงทุนในธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต ทั้งธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร ระบบกักเก็บพลังงาน รวมไปถึงแสวงหาโอกาสจากเทคโนโลยีด้านไฮโดรเจน
สำหรับธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร (EV Value Chain) ก็มีบริษัทเรือธงที่ชื่อว่า “อรุณ พลัส” (Arun Plus) เป็นหัวหอกสำคัญ
ซึ่งก็ต้องบอกว่าจริง ๆ แล้ว ปตท. มีการศึกษา และทำธุรกิจ EV มาสักพักแล้ว แต่บริษัทแห่งนี้ เรียกได้ว่าเป็นการปักหมุดว่า ปตท. จะลุยธุรกิจนี้เต็มตัว
แล้ว อรุณ พลัส ทำอะไรบ้าง ?
ปัจจุบัน บริษัทแห่งนี้ ทำธุรกิจครอบคลุมอุตสาหกรรม EV ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการร่วมทุนกับผู้เชี่ยวชาญ และบริษัทรายใหญ่ เช่น
- ด้านแบตเตอรี่ ส่ง Nuovo Plus ร่วมทุน Gotion จัดตั้ง NV Gotion จำหน่ายมอดูลแบตเตอรี่และชุดแบตเตอรี่สำหรับระบบกักเก็บพลังงาน และยานยนต์ไฟฟ้า รวมไปถึงการลงทุนเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่แบบ Cell-To-Pack ของ Arun Plus กับ CATL
- ด้านการผลิต ร่วมทุนกับ Foxconn ตั้ง Horizon Plus เพื่อผลักดันให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาค
- ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มี on-ion ให้บริการสถานีอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าครอบคลุมทั่วประเทศ รวมถึงให้บริการจำหน่ายและติดตั้งในที่พักอาศัย
และยังรวมไปถึงการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า เช่น EVme Plus บริการให้เช่ารถ EV ผ่านแอปพลิเคชัน EVme ที่เปิดประสบการณ์การเป็นเจ้าของรถ EV รุ่นใหม่ก่อนใคร และ Swap & Go ให้บริการแพลตฟอร์มสลับแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า แบบไม่ต้องรอชาร์จ
ในขณะเดียวกัน ปตท. ก็ยังมีธุรกิจนอกเหนือจากพลังงาน เช่น ธุรกิจด้านวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต (Life Science) ผ่าน “อินโนบิก”
 
โดยมุ่งเน้น 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ธุรกิจยา ธุรกิจเทคโนโลยีทางการแพทย์ และธุรกิจโภชนาการเพื่อสุขภาพ ซึ่งที่ผ่านมาได้เข้าไปลงทุนใน Lotus Pharmaceutical ผู้พัฒนายารายใหญ่จากไต้หวัน
 
ปตท. ได้เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ราว 37% ซึ่งในปีนี้ บริษัทมีผลประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนั้น ยังมีการลงทุน ตั้งโรงงานผลิตอาหารโปรตีนจากพืช (Plant-Based Food) ให้แก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการด้านอาหาร โดยนำเทคโนโลยีขั้นสูงจากต่างประเทศมาไว้ที่ไทย มีกำลังการผลิตราว 3,000 ตันต่อปี
รวมทั้งมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทต่าง ๆ ที่คิดค้นสูตรร่วมกับนักวิจัยไทยจากสถาบันวิจัยภายในประเทศอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมี ธุรกิจด้านโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐาน (Logistic & Infrastructure) ผ่านบริษัท “GML” เพื่อเป็นกำลังหลัก ในการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายการขนส่งของประเทศไทยไปยังตลาดโลก
รวมทั้ง ธุรกิจปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีดิจิทัล (AI, Robotics & Digitalization) โดย “Mekha V” มีเป้าหมายที่จะนำเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในธุรกิจที่ ปตท. กำลังดำเนินธุรกิจอยู่ หรือกำลังจะก้าวขึ้นไปสู่ธุรกิจนั้นในอนาคต แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
- PowerTECH เทคโนโลยีบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
- IndustrialTECH เทคโนโลยีที่ช่วยยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้ไปสู่อุตสาหกรรม 4.0
- MobilityTECH เทคโนโลยีสนับสนุนธุรกิจยานยนต์
- HealthTECH เทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกด้านการแพทย์และสุขภาพอย่างครบวงจร
- CreativeTECH เทคโนโลยีที่ช่วยยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย ให้ก้าวสู่ตลาดสากล ทั้งหมดนี้ก็เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมใหม่ และเศรษฐกิจของประเทศ
ที่กล่าวมาทั้งหมด นับเป็นเพียงก้าวแรก ๆ ของ ปตท. จากแผนการเติบโตทั้งหมดที่บริษัทได้ตั้งเอาไว้
ก็น่าคิดเหมือนกันว่า แนวทางการเติบโตของ ปตท. กำลังเริ่มจะสร้างแบรนด์ ที่แต่ก่อน มีภาพจำว่าเป็นธุรกิจพลังงานดั้งเดิม
กลายมาเป็นแบรนด์ ที่แทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวัน ทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค หรือโลก ไปเลย ก็เป็นได้..
โฆษณา