16 พ.ย. 2023 เวลา 11:49 • ท่องเที่ยว

Hoysaleswara Temple (3) รูปสลักบนผนังด้านนอกของเทวาลัย

ผนังด้านนอกของเทวาลัย มีไว้สำหรับให้ผู้มาเยี่ยมชมเดินชมผลงานศิลปะตามเข็มนาฬิกาขณะเดินวนรอบห้องศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า ประทักษิณาปาฏะ (เส้นทางเวียนเวียนขวาตามเข็มนาฬิกา) .. งานศิลปะที่นี่ได้รับความเสียหายบ้าง แต่ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพดี
งานศิลปะของเทวาลัย ช่วยให้เห็นภาพชีวิตและวัฒนธรรมในอินเดียตอนใต้ของศตวรรษที่ 12 .. ภาพนูนขนาดใหญ่ประมาณ 340 ภาพแสดงถึงเทววิทยาฮินดูและตำนานที่เกี่ยวข้อง ลวดลายเล็กๆ จำนวนมากบรรยายตำนานและมหากาพย์ฮินดู เช่น รามายณะ มหาภารตะ และภะคะวะตะปุราณะ
ลวดลายสลักบางชิ้นใต้ภาพนูนต่ำนูนสูงแสดงถึงเรื่องราวตอนต่างๆ
ผนังด้านนอกของเทวาลัยได้รับการแกะสลักอย่างประณีต .. ตามมาชมและเข้าใจความหมายกันค่ะ
ชั้นต่ำสุดประกอบด้วยแผงที่มีลายสลักที่ประกอบด้วย (จากล่างขึ้นบน) ช้าง สิงโต ลายพรรณพฤกษา และนักเต้นขนาดจิ๋ว ม้า ลายดอกไม้ ฉากจากตำราฮินดู ภาพสัตว์ มาการะ และหงส์
ว่ากันว่า .. งานศิลปะแสดงรายละเอียด "ไม่มีช้าง หรือสิงโตสองตัวที่เหมือนกันตลอดช่วงที่ครอบคลุมมากกว่า 200 เมตร" .. สัตว์ทุกตัวอยู่ในท่วงท่าที่แตกต่างกัน
ศิลปิน "จับภาพรามเกียรติ์และมหาภารตะ และตอนหลักของภควัตคีตา" ผนังด้านนอกของวัดเป็นภาพเล่าเรื่องมหากาพย์ฮินดู และส่วนตรงกลางมีแผงขนาดใหญ่ที่ "นำเสนอวิหารของเทพเจ้าฮินดูทั้งหมด
ภาพสลักเล่าเรื่องราวของมหากาพย์รามายะนะ บางส่วน
ภาพสลักเล่าเรื่องราวของมหากาพย์มหาภาระตะยุทธ์ และ ภควัตคีตา บางส่วน
เทพเจ้าฮินดู
คุณภาพและปริมาณของ "ลายสลัก" ที่เกี่ยวข้องกับมหากาพย์นั้นน่าทึ่งมาก .. แต่ซีรีส์บนแผงสลัก ไม่ได้ทำให้เรื่องราวเสร็จสมบูรณ์ยืดเยื้อ แต่จะใช้วิธีการยืดออกไป แล้วสลับด้วยลายสลักที่เล่าเรื่องอื่น แล้วจึงกลับมาเล่าเรื่องตำนานเดิมต่อในบางตอน .. ผนังด้านนอกของเทวาลัยวัดฮอยซาเลวาระมีภาพนูนขนาดใหญ่ 340 ภาพ
ลวดลายสลักและภาพผนังบนผนังด้านนอกส่วนใหญ่บรรยายเรื่องรามเกียรติ์ มหาภารตะ ภควตาปุราณะ พระศิวะ และพระไวษณพปุราณะ ที่สำคัญอื่นๆ ภาพสลักบางส่วนได้แก่ :
เริ่มจากการนมัสการ พระพิฒคเนศ
พระวิษณุยกเขาโควรรธนะ ..
กฤษณาวตาร (KRISHNA AVATARA) อวตารปางที่แปดของพระนารายณ์คือ กฤษณาวตาร นี่ ทรงอวตารมาเป็น "พระกฤษณะ" ซึ่งเรื่องราวของพระกฤษณะสามารถอ่านได้ที่ http://huexonline.com/knowledge/20/88/
ชีวิตในวัยหนุ่มของพระกฤษณะผ่านประสบการณ์มากมาย โดยเฉพาะการโน้มน้าวให้คนเลี้ยงโคเลิกเซ่นบวงสรวง พระอินทร์ โดยให้ไปบูชาภูเขาโควรรธนะแทน ทำให้พระอินทร์พิโรธ บันดาลให้เกิดพายุฝนตกหนักตลอดทั้งเจ็ดวัน เพื่อเป็นการลงโทษ แต่พระกฤษณะใช้นิ้วเพียงนิ้วเดียวยกภูเขาโควรรธนะขึ้นกำบังฝูงคนเลี้ยงโคเอาไว้ กระทั่งท้ายที่สุด พระอินทร์ได้ทรงช้างไอราวตะหรือช้างเอราวัณ พร้อมกับแม่วัวสุรภีลงมาเคารพพระกฤษณะ.
นรสิงหาวตาร
เรื่องราวของหิรัณยกศิปุปรากฏอยู่ในคัมภีร์ภาควตปุราณะ ซึ่งได้บรรยายถึงอดีตชาติและสาเหตุที่จะต้องมาเกิดเป็นหิรัณยกศิปุและถูกนรสิงห์ซึ่งเป็นอวตารของพระนารายณ์สังหาร
หิรัณยกศิปุได้รับพรจากพระพรหมว่าจะไม่ถูกสังหารโดยมนุษย์หรือสัตว์ ซึ่งนรสิงห์ก็ไม่ใช่ทั้งมนุษย์หรือสัตว์ หิรัณยกศิปุ มีน้องชายชื่อ หิรัณยากษะ ซึ่งถูกนรสิงห์อวตารของพระวิษณุสังหารเช่นกัน
Gajasurasamhara
เมื่อพระอสูร มหิศะสุระ ถูกเทพทุรคาสังหาร เทวดาทั้งหลายก็มีความสุขมาก ความสงบสุขกลับคืนมาอีกครั้ง แต่ Gajasura ลูกชายของ Mahishasura ต้องการแก้แค้นที่พ่อของตนเสียชีวิต
คชสุระได้บำเพ็ยเพียรด้วยการยกแขนขึ้น ยืนบนหัวแม่เท้าทั้งสองข้าง มองขึ้นไปบนท้องฟ้าเป็นเวลานาน .. เนื่องจากการบำเพ็ยเพียนอย่างรุนแรง จึงปรากฏำไฟขึ้นบนผมของเขาและแพร่กระจายไปทั่วสามโลก เหล่าเทวดาซึ่งเดือดร้อนหนัก จึงไปขอให้พระพรหมช่วย
พระพรหมเสด็จไปหาคชสุระ บอกให้คชสุราตื่นขึ้นและขอพร คชสุระรีบลุกไปสรรเสริญพระพรหม พร้อมขอพร ..“ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากชายหรือหญิงที่ถูกครอบงำด้วยราคะตัณหา ขอให้มีพลังมาก
คชสุระใช้พลังพิชิตสามโลก ทั้งอสูร นาค มนุษย์ เทวดาและ คันธารพยัคฆ์ ฯลฯ แล้วทรงตัดสินใจประทับอยู่ที่เมืองอมราวดีซึ่งเป็นเมืองของพระอินทร์ คชสุระทรงใช้อำนาจอันเข้มแข็งเหนือเทวดาทั้งหลาย
.. แต่กระนั้นเขาก็ยังต้องการมากกว่านี้อยู่เสมอ เมาพลัง และกลายเป็นคนชั่วร้าย เริ่มก่อกวนพราหมณ์และปราชญ์ผู้เคร่งครัด ตลอดจนมนุษย์บนโลกและเทวดาโดยไม่มีเหตุผล
เทวดาได้ไปเข้าเฝ้าพระศิวะ ขอให้ปกป้องผู้ศรัทธาของพำระองค์
พระศิวะเข้าไปหาคาชิทันทีด้วยความตั้งใจที่จะสังหารคชสุรา .. เมื่อคชสุระเห็นพระศิวะกระทืบเท้าเข้าหาพระตรีศูล เขาก็คำราม การต่อสู้ครั้งนั้นเป็นไปอย่างดุเดือด แต่ถูกพระศิวะใช้ตรีศูลพุ่งใส่ร่างของคชสุรา
ทันใดนั้น คชสุราก็ตระหนักถึงพลังอำนาจของพระศิวะ จึงกล่าวว่าว่า “ข้าแต่พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระองค์ ท่านเป็นเจ้าแห่งโลกทั้งสาม พระองค์เป็นเพองค์เดียวที่สมควรได้รับการบูชา”
ศิวะได้ยินเช่นนั้นก็กล่าวให้คชสุราขอพร .. ซึ่งคชสุราได้ขอให้พระองค์สวมหนังช้างของตน รวมถึงขอให้ผู้คนเรียกพระองค์ว่า กฤติวาสส (ผู้สวมหนังช้าง) ด้วย
พระศิวะก็ทรงสวมหนังของคชสุรา แล้วคชสุราก็สิ้นใจตาย .. จักรวาลทั้งหมดก็กลับมาเป็นปกติ
ทศกัณฑ์ยกเขาไกรลาส .. ครั้งหนึ่งยักษ์วิรุณหกเอาสังวาลฟาดตุ๊กแกที่เขาไกรลาส ตุ๊กแกตาย แต่เขาไกรลาสเอียงทรุด เทวาดาน้อยใหญ่ช่วยกันสุดกำลัง แต่ก็ไม่สามารถยกเขาไกรลาสให้ตั้งตรงได้
.. พระอิศวรให้ไปตามทศกัณฑ์มายกเขาไกรลาส ทศกัณฑ์แผลงฤทธิ์แปลงกายใหญ่โตที่สุด ดังบทพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ เรื่องรามเกียรติ์ ดังนี้ ..
ใหญ่เท่าบรมพรหมาน ตระหง่านเงื้อมพระเมรุคีรีศรี
ตีนเหยียบศิลาปัถพี อสุรีเข้าแบกยืนยัน
ยี่สิบกรกุมเหลี่ยมเขา เท้าถีบด้วยกำลังแข็งขัน
ลั่นเลือนสะเทือนหิมวันต์ เขานั้นก็ตรงขึ้นมา
“นารายณ์ตรีวิกรม-วามนาวตาร”
พระวิษณุในภาคนี้ อวตารลงมาเป็นพราหมณ์เตี้ยตัวเล็ก นามว่า “วามน-วามนะ” ที่ดูอ่อนแอและด้อยความสามารถ ด้วยรูปลักษณ์ภายนอก เพื่อล่อลวง “อสูรพลี-มหาพาลี” (Bali Asura-Mahabali) ผู้แกร่งกล้า เพื่อปลดปล่อยโลกทั้งสามที่ตกอยู่ในอำนาจของอสูรให้เป็นอิสระ
ในพิธีอัศวเมธ ของอสูรพลีครั้งสุดท้าย ซึ่งเป็นพิธีกรรมเพื่อการประกาศความเป็นใหญ่เหนือสามโลก .. มหาพลีจะต้องนำน้ำมาล้างเท้าให้พราหมณ์ผู้มาร่วมพิธี แล้วรองน้ำที่ชำระเท้าของพราหมณ์นั้นมารดที่ศีรษะของตนเพื่อให้เกิดสิริมงคล ก่อนที่จะทำการบริจาคทานแก่พราหมณ์เพื่อเป็นการแสดงความยิ่งใหญ่
นคัมภีร์ภาควัตปุราณะกล่าวว่า “น้ำที่อสูรพลีชำระล้างพระบาทแห่งพระวิษณุ (พราหมณ์เตี้ยวามน) นั้น “เปรียบประดุจน้ำที่พระศิริศะ – (พระศิวะ) ผู้ทรงทัดจันทราเป็นปิ่นพระเกศา ได้ทรงรองรับไว้เหนือพระเศียรด้วยความเคารพศรัทธาอย่างสูงสุด”
ท้าวพลีได้เอ่ยปากถามพราหมณ์เตี้ยว่าปารถนาสิ่งใด พราหมณ์วามนะจึงกล่าวตอบว่า
"....มหาราชาผู้ยิ่งใหญ่ ตัวข้านั้นเตี้ยแคระ คงมิปรารถนาสิ่งใดมากไปกว่าแผ่นดินสามย่างก้าว เพื่อมาเป็นที่อยู่อาศัยแก่สรรพสัตว์ทั้งมวล ก็คงเพียงพอแล้ว..."
อสูรพลีมองพิจารณาดูร่างอันเตี้ยแคระของพราหมณ์วามนก็เกิดความคิดอันหลงไปในรูปลักษณ์สังขาร “แผ่นดินสามย่างก้าว มันจะเท่าไหร่กันเชียว .....เอาไปเลยท่านพราหมณ์เตี้ยเอ๋ย ข้าให้สัตย์ ถ วา .... ยยยย ...”
ยังมิทันเอ่ยสิ้นคำสัตย์ “พระศุกราจารย์” คุรุผู้ทรงปัญญาจึงรีบเข้าขัดขวาง และพยายามอธิบายแก่อสูรพลีว่า พราหมณ์เตี้ยนั้นเป็นเพียงภาพมายา แท้จริงแล้วเป็นพระวิษณุเจ้าที่จำแลงอวตารลงมา แต่กระนั้นมหาพลีผู้ลุ่มหลงในอำนาจเหนือเหล่าเทพเจ้า ผสมกับมนตร์สะกดแห่งพระวิษณุ จึงไม่ได้สนใจในคำตักเตือนครั้งสำคัญของคุรุอันควรเคารพเชื่อฟัง
อสูรพลีเอ่ยวาจาสัตย์แห่งมหาราชา ประทานแผ่นดินให้ 3 ก้าว แล้วยกคนโทน้ำหลั่งทักษิโณทกลงบนมือพราหมณ์วามน
เมื่อเตือนให้มีสติไม่ได้ พระศุกราจารย์จึงรีบแปลงร่างเป็น “ฝาจุก” ไปอุดคนโทน้ำเอาไว้ ไม่ให้คำกล่าวอุทิศบริจาคอันบริสุทธิ์ผ่านลงสู่ธรณี ฤๅษีวามนรู้แก่การณ์ จึงเอาใบ “หญ้าคา” อันแหลมคม แทงทะลุฝาจุก (พระศุกร์แปลง) เข้าไป โดนตาของพระศุกร์จนทนไม่ได้ ไหลหลุดออกมา น้ำจึงหลั่งผ่านมือลงสู่พื้น
ภายหลังที่น้ำอุทิศไหลลงสู่ธรณี พราหมณ์เตี้ย คืนกลับร่างเป็นพระวิษณุ 4 กร ร่างขยายใหญ่มหึมา ก้าวข้ามมหาสมุทรแห่งดอกบัว (ในความหมายของจักรวาล) ก้าวขาแรกก็เอาสวรรค์คืนไว้ได้ทั้งหมด ก้าวขาครั้งที่สองก็เอาโลกมนุษย์ไว้ทั้งหมด และก้าวขาครั้งที่สามเอาบาดาลไว้ทั้งหมด
วราหาวตาร ทรงอวตารเป็นหมูป่า เพื่อกู้แผ่นดินจากยักษ์ร้ายชื่อหิรัณยากษะ
อวตารปางนี้ อยู่ในช่วงสัตยยุค พระวิษณุทรงอวตารเป็นหมูป่า (วราห์) เพื่อปราบแทตย์ ผู้มีนามว่า "หิรัณยากษะ" (ผู้ซึ่งมีนัยน์ตาทอง) ซึ่งเป็นอสูรที่ชั่วร้ายมีความร้ายกาจยิ่งนัก เดิมนั้นอสูรตนนี้ได้บำเพ็ญตบะ เพื่อบูชาพระพรหม ทำให้พระองค์โปรดปรานพอพระทัยยิ่งนัก
จึงประทานให้อสูรตนนี้มีฤทธิ์สามารถปราบได้ทั่วสากลจักรวาล พญาอสูรจึงได้มีความฮึกเหิมอหังการยิ่งนัก ได้จัดการม้วนแผ่นดินโลกทั้งหมด แล้วหนีบใต้รักแร้ หนีลงไปอยู่ในบาดาล ในที่สุดต้องเดือดร้อนถึงพระวิษณุอวตารลงมาเป็นหมูป่า (วราห์) กายสีขาว ใหญ่ 10 โยชน์ สูง 100 โยชน์ เขี้ยวเป็นเพชร นัยน์ตาเป็นประกายดังสายฟ้าแลบ เสียงคำรามดังก้องมหาสมุทร รัศมีดุจดวงสุริยะ เพื่อปราบปรามยักษ์ตนนี้
หมูนี้มีเขี้ยวเป็นเพชร ดำน้ำลงไปในมหาสมุทรต่อสู้กับหิรัณยากษะ จนเวลาล่วงเลยไปถึงหนึ่งพันปี จึงสามารถฆ่าหิรัณยากษะได้สำเร็จ ท้ายที่สุดก็เอา เขี้ยวเพชรนั้นงัดเอาแผ่นดินขึ้นมาไว้บนผืนน้ำตามเดิม.
พระแม่มหิษาสุรมรรทินี
พระแม่ทุรคา (สันสกฤต: दुर्गा ทุรฺคา) หรือ พระแม่มหิษาสุรมรรทินี เป็นปางหนึ่งของพระปารวตี มีความหมายว่า "ผู้เข้าถึงได้ยาก" ไม่ว่าทั้งเทพเจ้า มนุษย์ อสูร แม้แต่พระศิวะ พระพรหม หรือพระวิษณุ ก็ไม่อาจสังหารมหิษาสูรได้ มีเพียงหญิงสาวที่ไม่ได้เกิดอย่างธรรมชาติ และเป็นหนึ่งในอำนาจทั้งหมดของจักรวาล ซึ่งก็คือพระแม่ทุรคา ซึ่งเกิดจากอำนาจทั้งปวงของเหล่าเทพเจ้า
พระแม่กาลี
ปางดั้งเดิมของพระแม่กาลีคือเป็นผู้ทำลายล้างพลังชั่วร้าย และถือกันว่าพระนางเป็นศักติองค์ที่มีพลังอำนาจมากที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในสี่กาวลมรรค ตามธรรมเนียมตันตระของลัทธิไศวะ ความเชื่อพื้นฐานคือพระนางเป็นผู้ทำลายความชั่วร้ายและปกป้องผู้บริสุทธิ์
 
ในยุคถัด ๆ มา มีการเคารพบูชาพระแม่กาลีในสถานะต่าง ๆ ทั้งในฐานะเทวีสูงสุด, พระมารดาแห่งเอกภพ, อาทิศักติ นอกจากนี้ยังถือว่าพระนางเป็นเทวดาผู้พิทักษ์บุคคลผู้ที่เข้าสู่โมกษะ (การหลุดพ้น)
รูปเคารพทั่วไปของพระแม่กาลีมักแสดงพระนางกำลังยืนหรือร่ายรำอยู่บนร่างกายของพระศิวะ คู่ครองของพระนาง ซึ่งนอนอย่างสงบเสงี่ยมอยู่เบื้องใต้
ภาพแกะสลักกระบวนทัพของฝ่ายเการพในรูปแบบค่ายกล 'จักรพยุหะ'
ในวันที่ 13 แห่งการรบที่ทุ่งกุรุเกษตร ในมหากาพย์มหาภารตะ .. 'อภิมันยุ' แม่ทัพหนุ่มน้อยที่มีอายุเพียง 16 ปี บุตรชายแห่ง 'อรชุน' ถูกรุมสังหารของเหล่ามหารถี แม่ทัพอันยิ่งใหญ่ของฝ่ายเการพจำนวน 7 คน ภาบยในค่ายกล 'จักรพยุหะ'
ในภาพด้านซ้ายมือที่เป็นรูปบุคลลตัวใหญ่ๆ ก็น่าจะเป็น 'ภีมะ' ที่กำลังต่อสู้กับ 'ชยัทรัถ' ที่มีหน้าตรึงกำลังฝ่ายปาณฑพไม่ให้เข้าไปช่วยอภิมันยุที่กำลังตกอยู่ในวงล้อมของ 'จักรพยุหะ' ได้
และบุคคลสองคนที่ยืนอยู่บนรถศึกที่กำลังยิงธนูเข้าใส่กัน ฝั่งด้านซ้ายก็น่าจะเป็น 'ยุธิษฐิระ' หรือ 'ธฤษฏทยุม' ส่วนฝั่งด้านขวาก็น่าจะเป็น 'โทรณาจารย์' เพราะดูจากด้านท้ายรถศึก ที่มีธงสัญลักษณ์ประจำตัวเป็นรูปหม้อน้ำและคันธนูวางอยู่บนแท่นเวทิกา
Credit : ไกด์โอ
ผู้เขียนไม่สามารถถ่ายภาพรูปสลักบนผนังรอบๆเทวาลัยมาได้ทั้งหมด .. หากท่านมีโอกาสไปเยี่ยมชมเทวาลัยแห่งนี้ ก็อาจจะนำรายละเอียดด้านล่างไปเป็นไกด็ในการชมได้ในระดับหนึ่งค่ะ
บนผนังด้านนอกด้านตะวันออกเฉียงเหนือของวัดพระศิวะตอนเหนือ:
ฉากศาล, ไภรวะ, ภารวี, สมุทรามันธาน, นักดนตรีที่มีเครื่องดนตรีสมัยศตวรรษที่ 12, ศุกระจารย์, ตำนานคจะเทวะยานี, พระลักษมี, อุมามเหศวร, ตำนานวามานา-บาหลี-ตรีวิกรม, ตำนานอินดรา , วิรภัทร, พระอิศวรในโยคะ
บนผนังด้านนอกด้านตะวันออกเฉียงใต้ของวัดพระศิวะทางตอนเหนือ ได้แก่ นักเต้น ไภรวะ ไภรวี อุมามเหศวร
บนผนังด้านนอกด้านตะวันออกเฉียงเหนือของวัดพระอิศวรทางตอนใต้:
.. กฤษณะไลลาจากภควาตะ, วะสุเดวะในคุก ตามมาด้วยการอุ้มพระกฤษณะแรกเกิดข้ามตำนานยมุนา, พระกฤษณะสังหารปูตานีและอาซูรีอื่นๆ, พระกฤษณะขโมยเนย, พระกฤษณะเล่นขลุ่ยกับมนุษย์และสัตว์เต้นรำ ตำนานของพระกฤษณะและพระยุมนา พระกฤษณะยกเขาโคทาระ
.. ยุธิษฐิระ และซากุนิเล่นลูกเต๋า คิชากะลวนลามเทราปาดี และภีมะพบกับคิชากะที่แต่งตัวเป็นผู้หญิงเพื่อทวงคืนความยุติธรรม
บนผนังด้านนอกด้านตะวันออกเฉียงใต้ของวัดพระอิศวรทางตอนใต้:..
ภีสมะ ปารวา และ โดรนา ปารวา แห่งมหาภารตะ; พระวิษณุยืน นักเต้นและนักดนตรีเฉลิมฉลองชัยชนะของอรชุนเหนือโดรน่า
บนผนังด้านนอกทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระศิวะตอนใต้:
อรชุนกับพระกฤษณะตอนในมหาภารตะ; นักเต้นเฉลิมฉลองชัยชนะของปาณฑพอย่างรื่นเริง ตำนาน Mohini ในพระเวท; ทักษิณามูรติ, อุมามเหศวร, ทันทเวศวร, พระวิษณุ; อรชุนพบกับตำนานพระศิวะ อรัญญาปารวาแห่งมหาภารตะ; ตำนานภีมะและภคทัตตา; ไภรวะ พระพิฆเนศ พระวิษณุ และวามานะ; นักเต้นและนักดนตรีในงานแต่งงานของปาราวตีและพระศิวะ;
พระวิษณุ-พระศิวะ-พระพรหม ร่วมกัน; ตำนาน Shanmukha และ Tarakasura; ทันทเวศวร; พระพรหมสามหน้าบนหงส์ พระอิศวรกับพระพิฆเนศและกรติเกยะ; นราซิมฮากำลังเล่นโยคะ ทุรคาเป็นมหิศสุระมาร์ดินี; การเต้นรำของโมฮินี
ที่ผนังด้านนอกทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดพระอิศวรทางตอนใต้:
พระวิษณไสยาสน์พร้อมด้วยเทพเจ้าและเทพธิดาทั้งปวงเคารพสักการะ ตำนานพระประห์ลทา-หิรัณยกาสิปู-นาราสิมหะ จากภควตาปุรณะ; Mohini เป็น Bhairavi กับ Bhairava; พระรามต่อสู้กับทศกัณฐ์จากรามเกียรติ์; พระอินทร์นั่ง; พระพรหมกับพระสรัสวดี; ตำนาน Karna-Arjuna และ Bhina-Dussasana จากมหาภารตะ; อุมามาเฮชวารา, พระพิฆเนศ; ฉากจูบระหว่างชายและหญิง นักดนตรี นักเต้น; เรื่องราวของโมฮินี; ฉากเกี้ยวพาราสีและจูบมากขึ้น ตำนานกาลี Shakti; ตำนานอรชุน
บนผนังด้านนอกทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระศิวะตอนเหนือ:
รูปยืนของพระพรหม พระศิวะ พระวิษณุ ทุรคา พระสรัสวดี กามารมณ์และรตี พระปาราวตี ตำนานอินทรกิลา; ปาราวตีกำลังเล่นโยคะ พระอิศวรหลงรักโมฮินี
.. เรื่องราวของรามเกียรติ์ ได้แก่ กวางทอง การพบกับหนุมานและสุครีพครั้งแรก พระรามยิงธนูผ่านฝ่ามือทั้งเจ็ด หนุมานมอบแหวนพระรามให้นางสีดา
.. ตำนานโมฮินี; พระนารายณ์นอนบน Sesha ให้กำเนิดวงจรจักรวาล ตำนานวามานะ; อวตารของพระวิษณุ; พระศิวะและพระพิฆเนศเต้นรำด้วยกัน
.. สิบสอง Adityas จากพระเวท; ตำนานอรชุน-ภีษมะ; โมฮินี ร่างอวตารหญิงของพระศิวะและพระวิษณุเต้นรำด้วยกัน
บนผนังด้านนอกด้านตะวันตกเฉียงเหนือของวัดพระอิศวรทางตอนเหนือ:
นาฏราชาในการเต้นรำทันทวะ; ทุรคาและสัปตะตริกา;
.. ตำนานของ Abhimanyu, Drona, Krishna กับ Arjuna ในมหาภารตะ; นาฏราช; Rudra แปดรูปแบบ; การเต้นรำของโมฮินี ภารวี; ระบำสรัสวดี ระบำพระศิวะและพระพิฆเนศ นาราสิมมหาโกรธ พระวิษณุรูปแบบต่างๆ ระบำพระพิฆเนศร่วมกับพระศิวะคชสุรารมณฑนะ การ์ติเกยา; ปาราวตี; นักเต้นและนักดนตรี
โฆษณา