18 พ.ย. 2023 เวลา 08:00 • ข่าวรอบโลก

กัมพูชา จ่อเป็นรายต่อไปเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ

เหตุพึ่งพาแต่ทุนจีนชาติเดียวสูงถึง 73% ตึกร้างเพียบ
ประชาชนหนี้ท่วมหัวสูงกว่ารายได้ถึง 2 เท่า
วิกฤตการเงินในประเทศที่ระดับการพัฒนาต่ำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังเป็นปัญหาใหญ่ที่บั่นทอนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ใช่แค่ประเทศลาวเท่านั้นที่กำลังเจอวิกฤตค่าเงินกีบเสื่อมมูลค่า จากที่ค่าเงินเคยอยู่ระดับที่ 250 กีบเท่ากับ 1 บาท หรือ 10,000 กีบต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของไวรัส กลายเป็น 600 กีบถึงจะเท่ากับ 1 บาท หรือเกือบ 20,000 กีบต่อ 1 ดอลลาร์
9
ขณะที่หนี้สาธารณะยังพุ่งทะยานสูงถึง 110% ต่อจีดีพี สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศลาวที่เข้าขั้น “อ่อนแอ” ที่อาจจะลุกลามเป็นวิกฤตเศรษฐกิจใหญ่ของประเทศจนยากที่กู้สถานการณ์กลับคืนได้เร็ววัน
9
อีกหนึ่งประเทศเพื่อนบ้านที่ส่อเค้าลางของวิกฤตการเงินแล้วอย่างกัมพูชา ซึ่งได้รับผลกระทบเศรษฐกิจชะลอตัว เนื่องจากมีการพึ่งพาการลงทุนจากประเทศจีนมากที่สุด และประเทศจีนในขณะนี้กำลังเผชิญกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือประเทศที่พึ่งพาจีนในสัดส่วนที่สูงมาก ก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วยเช่นกัน
7
สำหรับกัมพูชามีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment หรือ FDI) โดยเฉพาะจีน มีสัดส่วนมากที่สุด โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี คิดเป็นส่วนถึง 73.5% ของการลงทุนทั้งหมด
2
สิ่งนี้เป็นการบ่งชี้ว่านักลงทุนจีนมีอำนาจในการครอบครองเศรษฐกิจของกัมพูชา เพราะถ้าหากว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนไม่สู้ดี ก็มักจะฉุดรั้งให้เศรษฐกิจของประเทศที่จีนเข้าไปลงทุนนั้นตกต่ำตามไปด้วย
2
หากพิจารณาจากสิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองท่าตามอากาศอย่างสีหนุวิลล์ เมื่อการมาของโควิด-19 ทำให้โครงการก่อสร้างอาคารต่างๆ ทั้งโรงแรม คอนโดมิเนียม และห้างสรรพสินค้าที่เป็นกลุ่มของทุนจีนต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากคนจีนทิ้งโครงการหนีกลับประเทศจนหมด
5
ความเสื่อมโทรมของเมืองจึงปรากฎให้เห็น อาคารทั้งน้อยใหญ่มากกว่า 1,500 หลังถูกทิ้งร้าง และยังไม่มีทีท่าว่าจะกลับมาสานต่อให้เสร็จ เพราะแม้ว่าหลังจากการระบาดใหญ่ผ่านพ้นไป แต่เศรษฐกิจของประเทศจีนนั้นก็ยังไม่กลับมาขับเคลื่อนได้เต็มที่เหมือนเดิม
2
ซ้ำร้ายยังเผชิญกับวิกฤตด้านอังสังหาริมทรัพย์และสินเชื่อซึ่งบั่นทอนเศรษฐกิจของประเทศจีนเองให้ไม่สามารถเติบโตได้อย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งทำให้กลุ่มทุนขนาดกลางและขนาดใหญ่หลายแห่งถึงกับล้มทั้งยืนกันนับร้อยบริษัท
2
ไม่เพียงแค่ปัจจัยภายนอกจากการลงทุนของต่างชาติที่ชะลอตัวเท่านั้น การเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) ของไมโครไฟแนนซ์ในกัมพูชากำลังเข้าขั้นวิกฤต
1
การเติบโตของไมโครไฟแนนซ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของกัมพูชาพุ่งขึ้นเป็นมากกว่า 16,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 5.72 แสนล้านบาท นั่นคือสัดส่วนคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศที่ 26,960 ล้านดอลลาร์ หรือ 9.65 แสนล้านบาท
1
จากข้อมูลของกลุ่มสิทธิกัมพูชา Licadho และ Sahmakum Teang Tnaut ระบุว่า การปล่อยสินเชื่อรายย่อยเติบโตอย่างรวดเร็วซึ่งนับว่าชาวกัมพูชากว่า 2.4 ล้านคนที่เป็นลูกค้า ที่ไม่สามารถชำระยอดการกู้ยืมได้ ถูบบังคับให้ขายหรือจำนองที่ดิน การถูกไล่ที่ การค้ามนุษย์และแรงงานเด็ก รวมทั้งยังถูกยึดพื้นที่เพื่อทำการเกษตร เพื่อนำไปชำระหนี้
5
ซึ่งชาวกัมพูชาส่วนใหญ่ที่ติดหนี้ไมโครไฟแนนซ์ มักค้ำประกันด้วยโฉนดที่ดินทําให้หลายหมื่นครอบครัวเสี่ยงต่อการสูญเสียทรัพย์สิน
2
ทั้งนี้กัมพูชามีหนี้รายย่อยเฉลี่ยต่อผู้กู้สูงที่สุดในโลกที่ประมาณ 3,370 ดอลลาร์ หรือ 120,646 บาทต่อปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่า 2 เท่าของ GDP ต่อหัวประชากรกัมพูชาที่ 1,591 ดอลลาร์ หรือ 54,380 บาทต่อปี
2
รายงานของธนาคารโลกระบุว่า โดยเฉลี่ยแล้วสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของครัวเรือนในกัมพูชาในปี 2019 อยู่ที่ 65% ซึ่งถือว่าสูงมาก สำหรับประเทศที่อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาในระดับเดียวกันกับกัมพูชา เพราะหมายความว่า รายได้ทั้งหมดของครัวเรือนจำเป็นต้องนำไปชำระหนี้ถึง 65% เหลือเงินไว้สำหรับกิน ใช้จ่ายส่วนตัวเพียงแค่ 35% ซึ่งแน่นอนว่าไม่เพียงพอ
7
ธนาคารโลกระบุด้วยว่า หนี้ครัวเรือนในกัมพูชาไม่ได้ถูกนำไปใช้ในทางที่จะก่อให้เกิดรายได้อีกด้วย ผลลัพธ์ก็คือสภาพน่าวิตกว่า อาจนำไปสู่ “วัฏจักรกับดักหนี้” บีบบังคับให้ต้องกู้ยืมต่อเนื่องวนเวียนไม่มีที่สิ้นสุด
ในเวลาเดียวกัน ปริมาณหนี้ที่ต้องชำระในกัมพูชา ก็พุ่งพรวดจากระดับ 9.6% ของจีดีพี เมื่อปี 2009 กลายเป็นสูงถึง 180% ของจีดีพี เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
1
รัฐบาลกัมพูชาไม่เพียงเรียกร้องให้บริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์งดใช้มาตรการยึดทรัพย์แทนการชำระหนี้เท่านั้น ยังร้องขอให้บริษัทเปิดทางให้ผู้ซื้อสามารถ “รีไฟแนนซ์” หนี้ของตนเองได้อีกด้วย โดยประกาศว่าจะใช้ “มาตรการเข้ม” จัดการบริษัทที่ฝ่าฝืน ยังคงยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้
3
สิ่งนี้ทำให้คนกัมพูชาติดอยู่ในวังวนของหนี้อย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น ขณะที่รายได้โดยทั่วไปของคนในประเทศก็ไม่ได้สูงจนพอจะเลี้ยงชีพอยู่แล้ว
3
ในมิติทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่กัมพูชากำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากคือ ภาคการท่องเที่ยว ที่เคยสร้างรายได้สูงคิดเป็นสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของจีดีพีทั้งประเทศเมื่อปี 2017 แต่ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้การท่องเที่ยวกัมพูชาก่อให้เกิดรายได้ลดลงถึง 33% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2019 และนักท่องเที่ยวยังคงไม่กลับคืนสู่กัมพูชา แม้ว่าสถานการณ์ต่างๆ จะคลี่คลายจากโรคระบาด แต่นักท่องเที่ยวยังคงเมินเฉยที่จะเดินทางไปกัมพูชา
5
อีกหนึ่งภาคธุรกิจสำคัญก็คือ อุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่ใหญ่โตพอๆ กันในกัมพูชา คิดเป็นอีก 1 ใน 3 ของจีดีพี และเคยเป็นแหล่งจ้างงานแรงงานมากถึง 750,000 คนเมื่อปีที่แล้ว ก็ตกอยู่ในสภาวะยุ่งยากต้องดิ้นรนเช่นเดียวกัน สถิติจนถึงเดือนมีนาคมปีนี้แสดงให้เห็นว่า มีแรงงานจากธุรกิจผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป “ตกงาน” แล้วมากถึง 50,000 คน
1
ในตอนนี้ดูเหมือนว่ากัมพูชากำลังจะเป็นอีกหนึ่งประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเดินหน้าเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจ เพราะโครงสร้างภายในประเทศที่ไม่แข็งแรง และไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ และให้จีนมีอิทธิพลในการลงทุนที่มีสัดส่วนมากที่สุดเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งไทยก็คงต้องจับตาเพราะกัมพูชาก็เป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะการค้าชายแดนที่มีมากถึง 3.4 แสนล้านบาท เพราะถ้าหากเศรษฐกิจเพื่อบ้านเกิดปัญหา ก็ย่อมส่งผลต่อบรรยากาศการค้า การลงทุนของไทยให้ไม่สดใสตามไปด้วย
8
โฆษณา