18 พ.ย. 2023 เวลา 04:04 • การเกษตร

ประปาเพื่อการเกษตร

ปัญหาที่ใหญ่และแก้ไม่ได้สักทีคือการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ถ้ามีน้ำ เกษตรกรก็สามารถปลูกพืชอะไรก็ได้ ทำไมถึงแก้ปัญหาไม่ได้สักที เป็นเพราะว่าไม่ได้แก้กันจริงๆ เก็บปัญหาไว้เพื่อไว้ขอโครงการไปเรื่อยๆ เช่น ต้องหาเมล็ดพันธุ์ทดแทนที่เสียหายไป การศึกษาพืชทนแล้ง งบประมาณขุดบ่อ ขุดอ่างเก็บน้ำ และอีกๆ หลายอภิมหาโปรเจค ทำไมถึงแก้ไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องยาก แต่อยากเก็บปัญหาไว้เพื่อของบประมาณ กันรึป่าว
งบประมาณที่เสียไปเพื่อใช้แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม หมดไปปีละหลานพันล้านหรือมากกว่า แต่เกษตรกรก็ยังประสบปัญหา ลองมาฟังคนธรรมดาคิดนะว่าถ้าทำจริงจะทำได้มั้ย
1. งบประมาณ เพื่อช่วยเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ ตามความต้องการของเกษตรกร แต่ละพื้นที่จะไม่เท่ากัน ให้เกษตรกรขอมาตามโครงการที่จะทำในแต่ละพื้นที่
2. แผนการให้เหมาะกับพื้นที่
เขตชลประทาน
ในพื้นที่ชลประทาน มีน้ำแต่บางปีอาจมีน้อยทำให้แย่งน้ำกัน แต่การใช้น้ำไม่มีการประหยัด เช่นน้ำเข้านา ทีละมากๆ มากกว่าความต้องการจริงของพืช แต่ความเคยชิน และต้องการให้น้ำอยู่ในนานานๆ เพื่อไม่ให้มีวัชพืช เพราะน้ำแห้งวัชพืชก็จะงอกตามมา ต้องกำจัดวัชพืช จึงเอาน้ำเยอะๆ ไว้ก่อน สภาพพื้นที่ที่ไม่สม่ำเสมอก็ทำให้ความต้องการน้ำมากขึ้น เพราะบางแห่งพื้นที่ต่ำ บางแห่งพื้นที่สูง เวลาปล่อยน้ำเข้าแปลงทำไห้ต้องใช้น้ำมากขึ้น
วิธีแก้ไม่ยากเลย ปรับพื้นที่ให้เรียบเสมอกันก่อน ติดตั้งระบบท่อให้น้ำเข้านา เพื่อไม่ให้น้ำเสียไประหว่างทาง มีมิเตอร์วัดปริมาณน้ำที่ใช้ แล้วจ่ายเงินตามจำนวนน้ำที่ใช้ เกษตรกรจะร้องว่าเสียเงิน แต่เงินที่เก็บไม่มากคิดในอัตราต่ำ แต่ต้องเก็บเพื่ออะไร เพราะจะทำให้เกษตรกรใช้น้ำอย่างประหยัดตามความจำเป็น เงินที่เก็บได้ก็ไปใช้เพื่อทะนุบำรุงระบบน้ำในพื้นที่ของชุมชน ส่วนต้นทุนที่ต้องสร้างระบบท่ออาจจะต้องกู้ยืมจากรัฐบาล เพื่อมาดำเนินการต่อ หรืออาจใช้เงินกู้ ขึ้นอยู่กับชุมชน
ส่วนในพื้นที่ใช้น้าฝน ก็ต้องขุดบ่อเก็บน้ำไว้ใช้ ซึ่งรัฐบาลก็ต้องมีงบประมาณให้กู้ยืม หรืออาจจะขุดบ่อเป็นส่วนกลางแล้วทำระบบท่อประปาเหมือนกันก็ได้ซึ่งจะทำให้การใช้น้ำอย่างประหยัดแต่เพียงพอ
ข้อคิดเหล่านี้ ให้เป็นแนวคิดหนึ่ง แต่คิดว่าถ้าแก้ปัญหาจริงจังจะไม่เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำซ้ำซากอย่างนี้ ส่วนแต่จะทำหรือไม่ก็แล้วแต่การตกลง ของเกษตรกร
โฆษณา