Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
บ้านหนองทองจันทร์ฟาร์ม
•
ติดตาม
18 พ.ย. 2023 เวลา 05:51 • สุขภาพ
กัญชารักษาโรคซึมเศร้าได้ไหม❓
🍁กัญชารักษาโรคซึมเศร้าได้ไหม เป็นหนึ่งในคำถามยอดฮิต เพราะกัญชาอาจดูเป็นสารอันตรายในสายตาหลายๆ คน แต่ที่จริงแล้วมีประโยชน์ในทางการแพทย์เป็นอย่างมาก ในปัจจุบันมีงานวิจัยรองรับชัดเจนว่ากัญชาสามารถรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชัก หรือผู้ที่มีภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากการทำเคมีบำบัด
🤔อีกทั้งยังมีงานวิจัยสนับสนุนว่ากัญชายังสามารถบรรเทาอาการซึมเศร้าได้อีกด้วย วันนี้มาดูกันว่า ประโยชน์ของกัญชาในการรักษาโรคซึมเศร้ามีอะไรบ้าง ไปดูพร้อมๆกันเลย
🍁กัญชาสามารถรักษาโรคซึมเศร้า ได้หรือไม่❓
👉กัญชากับโรคซึมเศร้าเกี่ยวข้องกันอย่างไร สามารถนำกัญชามารักษาได้จริงหรือไม่ โดยโรคซึมเศร้าเป็นอาการผิดปกติของอารมณ์ที่ส่งผลต่อความคิด และพฤติกรรมของผู้ป่วย ผู้ป่วยจะรู้สึกวิตกกังวล ซึมอยู่ตลอดเวลา ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ และวิถีการดำเนินชีวิต ทำให้ต้องหาวิธีการรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยให้พวกเขาสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติเหมือนเดิม
📖จากงานวิจัยของ University of Bufflo ระบุว่า กัญชารักษาโรคซึมเศร้าได้ เนื่องจากในสมองของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้านั้น ร่างกายจะผลิตสารเอนโดแคนนาบอนอยด์ (Endocannabinoids) ได้น้อยกว่าคนปกติ ซึ่งการที่ร่างกายขาดสารตัวนี้ จะส่งผลต่อการทำงานของระบบเอนโดแคนนาบอนอยด์ ซึ่งเป็นระบบที่คอยควบคุมการทำงานของร่างกาย ส่งผลร่างกายเสียสมดุล
👉โดยหากผู้ป่วยซึมเศร้าได้รับกัญชาเข้าไป สารที่อยู่ในกัญชาจะไปกระตุ้นและฟื้นฟูการทำงานของสารเอนโดแคนนาบอนอยด์ ทำให้ร่างกายกลับมาทำงานได้ดีขึ้น อีกทั้งสารที่อยู่ในกัญชายังช่วยให้ผู้ป่วยความสุข ผ่อนคลายความเครียด นับว่าเป็นตัวช่วยในการบรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั่นเอง
👨⚕️เป็นโรคซึมเศร้า สามารถใช้หรือบริโภคกัญชาได้หรือไม่
สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในปัจจุบันสามารถเลือกใช้กัญชาในการรักษาได้ ทั้งนี้ปริมาณที่ควรใช้ รวมถึงระยะเวลาในการใช้กัญชาเพื่อรักษาภาวะโรคซึมเศร้าต้องเป็นไปตามคำแนะนำของแพทย์ เนื่องจากในส่วนประกอบของกัญชามีฤทธิ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ โดย ‘กัญชา’ ประกอบไปด้วยสารเคมี 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่
🔸สาร Tetrahydrocannabinol หรือสาร THC เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทและสมอง เมื่อผู้ป่วยได้รับสารนี้จะรู้สึกมึนเมา แต่หากได้รับสารนี้ในปริมาณที่มากเกินไป จะส่งผลข้างเคียงอย่างมาก จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
🔸สาร Cannabidiol หรือสาร CBD เป็นสารที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทและสมอง โดยสารชนิดนี้กำลังเป็นที่สนใจในทางการแพทย์เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยจิตเวช เนื่องจากตัวสาร CBD จะช่วยลดอาการวิตกกังวล ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย อีกทั้งยังช่วยให้สามารถนอนหลับได้ดีขึ้น
📌สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่ต้องการใช้กัญชาเพื่อบรรเทาอาการ ต้องเข้ารับการประเมินอาการ พร้อมกับมีแพทย์คอยดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดการใช้งาน
👩⚕️รักษาโรคซึมเศร้าด้วยกัญชาอย่างไรให้ปลอดภัย
👉ทุกคนได้รู้แล้วว่ากัญชาสามารถนำมาใช้ในการรักษาได้ อีกทั้งมีประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขปี พ.ศ. 2565 ที่อนุญาตให้ใช้กัญชาได้แล้ว แต่มีข้อยกเว้นสำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และการใช้สารสกัดที่มีสาร THC มากกว่า 0.2% ยังคงนับว่าเป็นสารเสพติดอยู่
👉ทั้งนี้การใช้กัญชารักษาโรคซึมเศร้าอย่างปลอดภัยนั้น ผู้ป่วยควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนเริ่มบริโภคกัญชาทุกครั้ง เนื่องจากระดับความรุนแรงของภาวะโรคซึมเศร้าในแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน อีกทั้งผลข้างเคียงของกัญชาก็มีความรุนแรง จึงต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์
👉หากใช้กัญชารักษาโรคซึมเศร้าผิดวิธี หรือบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลมากกว่าที่เคยเป็น เห็นภาพหลอนต่อเนื่อง และอาจส่งผลกระทบถึงชีวิตได้
กัญชาสามารถใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการใช้กัญชากับโรคลมชัก หรือการใช้กัญชากับโรคซึมเศร้าก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้การใช้กัญชากับผู้ป่วยที่เป็นโรคทางจิต ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก เพราะหากผู้ป่วยได้รับกัญชาเกินขนาดอาจส่งผลต่อชีวิตได้ จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้งาน และมีแพทย์คอยดูแล ติดตามผลการรักษาอยู่ตลอด
📝เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับกับความรู้ที่เราได้นำมาฝากกันในวันนี้ หากข้อมูลนี้เป็นประโยชน์ ฝากกดไลด์ กดแชร์ กดติดตามบ้านหนองทองจันทร์ฟาร์มของเราไว้ด้วยนะคะ เพื่อจะได้ไม่พลาดข้อมูลดีๆ ที่เราจะนำมาฝากกันในทุกๆวัน
🙏ขอบคุณที่มาข้อมูล : Four Twenty Thailand
#บ้านหนองทองจันทร์ฟาร์ม #พืชกัญชา #ใบกัญชา #ปลูกต้นกัญชา #พืชอารมณ์ดี #กัญชา #Cannabis #กัญชาเสรีทางการแพทย์ #กัญชารักษามะเร็ง #อาหารเสริมกัญชา #กัญชารักษาโรคซึมเศร้าได้ไหม
รักษาซึมเศร้าโดยไม่ใช้ยา
ความรู้รอบตัว
การแพทย์
บันทึก
1
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย