มันได้กลายเป็นเรื่องดราม่าซ้ำซ้อนของ Sam Altman ผู้ร่วมก่อตั้ง OpenAI ที่ถูกกรรมการของบริษัทถีบตกเก้าอี้อย่างกะทันหัน และอีกวันถัดมาเหล่านักลงทุนและพนักงานของบริษัทบางส่วนพยายามที่จะดึงตัว Sam Altman กลับมา ก่อนที่จะปิดท้ายด้วยเมื่อเช้านี้ที่ Satya Nadell ซีอีโอของ Microsoft กระชากตัว Sam มาร่วมชายคาพร้อมตำแหน่งผู้นำทีมวิจัย AI ขั้นสูงสุด ซึ่งเป็นภารกิจที่ใหญ่และสำคัญที่สุดของ Microsoft ในตอนนี้
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ OpenAI ถือเป็นเหตุการณ์ที่น่าทึ่งที่สุดของความแตกแยกใน Silicon Valley ด้านหนึ่งเรียกว่ากลุ่ม Doomers ซึ่งเชื่อว่าหากปล่อยให้ AI ก้าวไปข้างหน้าโดยไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มงวดจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อมนุษยชาติ และด้วยเหตุนี้จึงสนับสนุนให้มีกฎระเบียบที่เข้มงวดยิ่งขึ้น
อีกฟากฝั่งเรียกตัวว่า Boomers ที่เน้นย้ำถึงการผลักดันศักยภาพของเทคโนโลยี AI ขัดขวางกฎระเบียบต่าง ๆ ที่จะเข้ามาจัดการหรือควบคุม AI และผลักดันให้ใช้เชิงพาณิชย์และสร้างกำไรจากเทคโนโลยีให้ได้มากที่สุด
เนื่องจากการขับเคลื่อนเทคโนโลยีดังกล่าวให้ก้าวหน้าไปได้อย่างรวดเร็วนั้น เงินทุนเป็นสิ่งสำคัญเพราะ AI สูบกิน Data และพลังการประมวลผลอย่างบ้างคลั่ง และทุกอย่างมีราคาที่ต้องจ่าย
1
กลุ่ม Boomers ใช้แนวคิดที่เรียกว่า “effective accelerationism” ซึ่งไม่เพียงแต่ผลักดันให้ AI พัฒนาต่อไปโดยไม่มีอุปสรรคเพียงเท่านั้น แต่ยังควรเร่งความเร็วมันอีกด้วย ผู้นำในเรื่องนี้คือ Marc Andreessen ผู้ก่อตั้ง Andreessen Horowitz บริษัทร่วมลงทุนผู้หิวกระหายเงิน
3
ดูเหมือนว่า Sam เองจะมีความเห็นอกเห็นใจทั้งสองกลุ่ม โดยเรียกร้องให้มีการสร้างแนวป้องกันเพื่อให้ทำให้ AI ปลอดภัยขึ้น ในขณะเดียวกันก็ผลักดันให้ OpenAI พัฒนาโมเดลที่ทรงพลังมากยิ่งขึ้น
การเปิดตัวเครื่องมือใหม่ ๆ เช่น App Store สำหรับผู้ใช้เพื่อสร้างแชทบอทของตนเอง ซึ่งนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดของบริษัทอย่าง Microsoft ซึ่งทุ่มเงินกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์เข้าสู่ OpenAI ด้วยสัดส่วน 49% โดยไม่ได้รับที่นั่งในบอร์ดแม้แต่เพียงเก้าอี้เดียว
เพราะฉะนั้นหลังจากที่ Sam ถูกบีบให้ออกทำให้ Microsoft ไม่พอใจเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นเหตุผลให้พวกเขาเสนอทางออกให้ Sam และเพื่อนร่วมงานของเขามาร่วมงานกับ Microsoft
กลุ่ม Doomers ถือเป็นผู้บุกเบิกการแข่งขัน AI ในยุคแรกมีทุนหนา ในขณะที่ฝั่ง Boomers ขยับจี้ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว แม้จะเป็นบริษัทขนาดเล็กกว่าและชอบรูปแบบของการเป็นโอเพ่นซอร์สมากกว่า
หรือฝั่งของนักวิจัยจาก Google เองซึ่งถือได้ว่าสะสมบุคลากรระดับเทพในวงการไว้มากมาย กำลังซุ่มพัฒนา AI ที่ได้รับการฝึกอบรมด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาลโดยเฉพาะจาก Google เอง พวกเขากำลังสร้างโมเดลที่ใหญ่กว่าและชาญฉลาดกว่าอย่าง Bard
และความแตกแยกระหว่างทั้งสองกลุ่มถูกกั้นกลางด้วยอนาคตของ AI แบบโอเพ่นซอร์ส การเปิดตัว LLAMA ซึ่งเป็นโมเดลที่สร้างโดย Meta ได้กระตุ้นกิจกรรมให้เกิดขึ้นในแวดวง AI แบบโอเพ่นซอร์สแบบคึกคักเป็นอย่างมาก
1
เหล่าผู้สนับสนุนโดยเฉพาะกลุ่มบริษัทสตาร์ทอัพขนาดเล็ก มอง Meta เหมือนฮีโร่ และพวกเขาก็สนับสนุนแนวคิดของ Meta เพราะมองว่าโมเดลโอเพ่นซอร์สนั้นปลอดภัยกว่าเนื่องจากเปิดให้มีการตรวจสอบอย่างละเอียดโดยคนหมู่มาก
แต่อย่างไรก็ตามโลกคงไม่ได้สวยหรูขนาดนั้น เนื่องจากนายทุนใหญ่คือ Meta บางทีการสนับสนุนโอเพ่นซอร์ส Mark Zuckerberg อาจจะพยายามหาทางสอดแนมหนทางในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้จากเหล่าสตาร์ทอัพเพื่อมาไล่ล่าให้ตามทันยักษ์ใหญ่ใน Silicon Valley เจ้าอื่น ๆ
Mark Zuckerberg มาเหนือเมฆด้วยการสนับสนุนโอเพ่นซอร์ส (CR:Wikimedia)
มีบันทึกที่เขียนโดยคนวงในของ Google ซึ่งรั่วไหลออกมาในเดือนพฤษภาคมได้ยอมรับว่าโมเดลโอเพ่นซอร์สกำลังบรรลุผลงานในบางอย่างที่เทียบเท่ากับบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ครอบครองกรรมสิทธิ์ของเทคโนโลยีนี้ แต่มีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่ามากในการสร้างสรรค์มันขึ้นมา
ไม่ใช่บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ทุกแห่งจะตกอยู่ในวงวันแห่งความแตกแยกนี้ Meta เลือกทางเดินสายกลางสนับสนุนสตาร์ทอัพแล้วปล่อยให้โลกของโอเพ่นซอร์สดำเนินการไป ซึ่งท้ายที่สุดพวกเขาจะเข้าถึงโมเดลอันทรงพลังสำหรับสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้
2
Meta กำลังเดิมพันจากนวัตกรรมของกลุ่มโอเพ่นซอร์ส ซึ่งพวกเขาหวังว่าจะช่วยให้แพลตฟอร์มของตนเองสามารถสร้างเนื้อหารูปแบบใหม่ที่ทำให้ผู้ใช้ติดใจและผู้ลงโฆษณามีความสุขกับการจ่ายเงินเพื่อกด Boost
ฟากฝั่ง Apple เรียกได้ว่านิ่งเงียบแบบผิดปรกติ บริษัทเทคโนโลยีที่ร่ำรวยและใหญ่ที่สุดในโลกปิดปากเงียบเกี่ยวกับ AI แทบจะไม่พูดถึงคำ ๆ ดังกล่าวนี้ตามยักษ์ใหญ่ Silicon Valley เจ้าอื่น ๆ