22 พ.ย. 2023 เวลา 12:30 • การศึกษา

เทคนิคการเลี้ยงลูก "ถ้อยคำ ภาพจำ ในใจ"

วันนี้สอนพิเศษภาษาไทย(ป.1) ผังแผนมีสองหลักหมาย
ทวนหลักสอบอิงหลักสูตร และหัวข้อภาพพจน์/มโนทัศน์
"ภาพพจน์ มโนทัศน์" ต่างมีพันธกิจต่อกัน (อย่างไร?)
ภาพพจน์ คือทักษะการใช้ถ้อยคำกระทบกินใจ จนผู้รับสารมีอารมณ์คล้อยตาม
มโนทัศน์ คือภาพในใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเหมือนและต่างบางรายละเอียด
มโนทัศน์ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "concept" ถ้าแปลรวบรัดก็ "ความคิดรวบยอด" ยกตัวอย่างคำว่า "หมา" เราต่างมีมโนทัศน์เกี่ยวกับคำนี้ และเห็นภาพหมาไม่ห่างกันนัก โดยรวมหลวมๆจำพวก "ตาหูจมูก ปากยื่น สี่ขา มีหาง" ครั้นให้ลงรายละเอียด มโนทัศน์แต่ละท่านอาจแผกผัน เช่น ลิ้นห้อย เขี้ยวคม ปราดเปรียว สีสัน บอบบาง คุกคาม แสนซน ขนฟู หลังอาน หางชี้ ฯลฯ
มโนทัศน์ คือการฉายภาพในใจ จะมีก็ต่อเมื่อเคยเห็นหรือรับรู้มาก่อน โลกทัศน์แต่ละท่านแคบกว้างตื้นลึกหนาบางขึ้นกับประสบการณ์เฉพาะตัว อย่างมโนทัศน์ต่อหมาของบางท่านอาจมีภาพในใจอันเกรี้ยวกราดมาดร้าย อาจเพราะเคยมีบาดแผลในวัยเยาว์ หรือบางท่านอาจเห็นเป็นความละไมผูกพันจึงรักเหมือนลูก
ภาพพจน์ คือตัวแปรการเห็น "คำ -> ภาพ"
มโนทัศน์ คือตัวแปรการเห็น "ภาพ -> คำ"
ดังนั้น ฉันจึงสอน = ภาพพจน์ + มโนทัศน์
#นิทานสีเทาเงาสีขาว #รับสอนภาษาไทยระดับชั้นอนุบาลสามขึ้นไป
โฆษณา