22 พ.ย. 2023 เวลา 15:22 • ครอบครัว & เด็ก

เมื่ออายุ 50 ปี เราควรตรวจอะไร ?

เมื่ออายุ 50 ปี เป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่งของชีวิต เช่นนั้นแล้วไม่ควรให้โรคภัยได้แย่งชิงสุขภาพที่ดีไปในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด สำหรับการตรวจสุขภาพประจำปีจึงควรตรวจสอบให้มั่นใจว่า เราได้คัดกรองในรายการที่จำเป็น
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer) ในประเทศไทยถือเป็น 1 ใน 5 ของมะเร็งที่พบมากในคนไทย ซึ่งปัจจุบันมีรายงานผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 16,000 คนต่อปี เป็นการตรวจที่แนะนำสำหรับคนที่อายุเกิน 45 ปี ถึงมะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถเป็นได้ทุกวัย แต่ก็มักพบบ่อยนผู้สูงอายุ โดยวิธีการตรวจที่แนะนำคือการส่องกล้องตรวจ
  • ระดับคอเลสเตอรอล (Cholesterol profile) อย่างน้อยที่สุด 4-6 ปีต่อครั้ง แต่หากคุณมีแนวโน้มมีระดับคอเลสเตอรอลที่สูงหรือมีความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหัวใจก็ควรตรวจบ่อยกว่านั้น
  • ระดับน้ำตาลในเลือด (Blood sugar) การละเลยโรคเบาหวาน (Diabetes) อาจเป็นสาเหตุการกิดโรหัวใจ ภาวะไตวาย และสูเสียการมองเห็น จึงจำป็นนการตรวจัดกรอง การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar, FBS) หรือการตรวจในรูปแบบอื่นในการคัดกรองโรคเบาหวาน อย่างน้อยทุก 3 ปี
  • ตรวจหาไวรัสตับอักเสบซี สำหรับวิธีการตรวจ CDC เป็นวิธที่แนะนำสำหรับทุกท่านที่อายุกิน 18 ปี
  • ตรวจหาโรคซึมเศร้า พบได้มากนวัยผู้ใหญ่ พบว่าภาวะซึมเศร้าในผู้สูงวัยพบมากถึง 10-20 % หากที่อาการศร้า สิ้นหวัง หรือไม่สนใจสิ่งที่เคยสนุกกับมัน ควรเข้าปรึกษาแพทย์พื่อปรึกษาภาวะดังกล่าว
  • สำหรับท่านผู้หญิง การตรวจภายใน (Pelvic Exam) และการตรวจแปบเสมียร์ (Pap Smear) โดยการตรวจ Pap Smear แนะนำให้ตรวจร่วมกันกับตรวจหาเชื้อ HPV หรือ Human Papillomavirus
  • สำหรับท่านผู้หญิง การตรวจแมมโมแกรม (mammogram) สำหรับผู้ที่มีอายุเกิน 50 ปี ควรเรื่มการตรวจแมมโมแกรม เพื่อตรวจหาสัญญาณของมะเร็งเต้านม (Breast cancer) โดยแพทย์จะสามารถบอกได้ว่าวรตรวจครั้งต่อไปเมื่อใด
  • สำหรับท่านผู้ชาย การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) เมื่ออายุ 50 ปี เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเริ่มปรึกษาแพทย์ในการเริ่มตรวจ โดยมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ 4 ของมะเร็งที่พบทั้งหมดในเพศชาย
นอกจากการตรวจสุขภาพประจำปีก็ควรดูแลตัวเองมากขึ้นโดยเฉพาะเรื่องต่อไปนี้
  • หมั่นตรวจผิวหนัง ไฝ (moles) อย่างสม่ำเสมอ และเข้าพบแพทย์หากพบสิ่งผิดปกติ เช่น ก้อนนูนที่โตขึ้น ไฝมีการเปลี่ยนแปลง อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งผิวหนัง
  • ปัญหาการมองเห็นเป็นโรที่พบได้บ่อยในช่วงอายุนี้ ควรตรวจช็คสุขภาพดวงตาทุกๆ 1 ถึง 3 ปี จนถึงอายุ 60 ปี และตรวจทุกปีเมื่ออายุมากกว่า 60 ปี หรืออาจตรวจบ่อยกว่านั้นหาก มีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับปัญหาดวงตา
  • หมั่นตรวจสอบน้ำหนักและความดันเลือดอย่างสม่ำเสมอ เมื่ออายุมากขึ้นมักมีน้ำหนักมากขึ้น ควรระมัดระวังกับการเพื่มขึ้นของน้ำหนัก และดูแลเรื่องการรับประทานอาหาร รวมถึงการออกกำลังกาย เนื่องจากการละเลยจนทำให้มีภาวะน้ำหนักเกินจะเป็นปัจจัยเสี่ยงกับโรคอีกมาก และความดันเลือดที่สูงจะทำร้ายหัวใจ สมอง ดวงตา และ ไต จึงควรหมั่นตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ
  • การสร้างภูมิคุ้มกันโดยการฉีด โดยวัคซีนบางตัวถูกแนะนำ เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ และ วัคซีนงูสวัด ซึ่งก่อนฉีดควรปรึกษาแพทย์ก่อน
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณผู้อ่านที่ติดตามจนจบ โดยหากมีข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย โดยบทความต้นฉบับได้ถูกแนบไว้ด้านล่าง หากมีข้อติชมสามารถคอมเมนต์กันได้ด้านล่าง พบกันใหม่โอกาสหน้า สวัสดีครับ...
เอกสารอ้างอิง
- มีนาคม ร่วมใจต้านภัยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง
- มะเร็งต่อมลูกหมาก...ภัยเงียบใกล้ตัวเพศชาย
โฆษณา