26 พ.ย. 2023 เวลา 04:55 • ความคิดเห็น
ที่จริงแล้วคำว่า Generation Gap แค่แสดงความต่างของ "ยุคสมัยของผู้คน" อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง จากเดิมที่ค่อยเป็นค่อยไป (Static) มาสู่การเปลี่ยนแปลงแบบพลวัตร (Dynamic) เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วมากๆ หากให้เปรียบเทียบกับ S-Curve ในทางธุรกิจ ลักษณะพลวัตรก็คือช่วงที่เส้นมันทะยาน (Super Growth)
เรากลับมองว่า Gap แท้จริงอยู่ตรง "ความรู้ (Knowledge) และประสบการณ์ตรง (Direct Experience)" ความรู้นั้นอาจเรียนทันกันหมด เด็กๆมักหลงง่าย หลงคิดว่าตนเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล คนแก่คือพวกเต่าล้านปี ความคิดไม่ทันสมัย ที่จริงไม่ใช่ทั้งหมด เพราะเด็กบางกลุ่มยังเข้าไม่ถึงความรู้ บางกลุ่มปิดรับการเรียนรู้ บางกลุ่มถูกปั่นไปตามกระแส ในขณะเดียวกัน เราก็อาจพบเห็นคุณย่าทวด อายุกว่า 80 ปี ที่เรียน Coding และเขียน Application ได้อย่างชำนิชำนาญ (คุณยาย Masako)
พวกเราอาจลืมนึกไปว่า ที่มันไม่เคยเปลี่ยนได้เลย คือเราทุกคนล้วนมีอัตตาและตัณหาอุปาทานอยู่เป็นปกติกันทุกคน ตราบยังมีตัณหาอันเกิดจากรัก โลภ โกรธ หลง ก็ย่อมมีการยึดว่าตัวกูของกู เป็นธรรมชาติที่ไม่เคยเปลี่ยน สิ่งนี้เกิดดับตลอดเวลา แม้ขณะยังมีชีวิตอยู่ มันเป็นเรื่องพื้นฐานของมนุษย์ ที่คนเกิดก่อนจะอ่านคนเกิดทีหลังได้ง่ายมาก
ผู้ที่เกิดก่อน ผ่านประสบการณ์ชีวิตมาก่อน ย่อมได้รับทเรียนทั้งความสำเร็จและล้มเหลว นี้คือทางลัดหรือ Short cut สำหรับผู้เกิดทีหลัง ที่จะได้เรียนรู้และศึกษาร่องรอยและความสำเร็จ หรือล้มเหลว แต่ก็เป็นเรื่องปกติมาก ที่คนรุ่นหลังมักจะอัตตาสูง และพยายามตั้งคำถามถึงเหตุผลที่มานานาประการ และยิ่งหากพวกเราเด็กๆ "ปิดการรับฟังเสียงผู้ใหญ่" พวกเราก็อาจพลาดทางลัดไปอย่างน่าเสียดาย
เด็กรุ่นใหม่อาจจะเก่ง Knowledge นั้นจริงอยู่
แต่ทักษะและประสบการณ์ตรงต่างหากที่ตัดสิน
ที่สำคัญ ต้องพึงตระหนักว่า ผู้เกิดก่อน
ย่อมอ่านอุปนิสัยใจคอผู้เกิดหลังได้ทะลุปรุโปร่ง
เพราะพวกเขาผ่านประสบการณ์ชีวิตทั้งดีและร้ายมาก่อน
การเรียนรู้และเปิดใจรับฟังเสียงผู้ใหญ่ด้วยความนอบน้อม
เราเรียกว่า "เด็กฉลาด" และเป็นตัวเด็กเองที่จะเจริญ
ยังไม่ต้องไปโยงไกลตัวเรื่องชาติเจริญแต่อย่างใด
โฆษณา