27 พ.ย. 2023 เวลา 10:58

สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ มนุษย์เงินเดือน ทำอย่างไรให้มีเงินเก็บ

ปัญหาเงินเดือนเข้าปุ้ปออกปั้ป ส่งผลให้มนุษย์เงินเดือนหลายคนประสบปัญหาสิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ หรือเงินเดือนหมดไวตั้งแต่ 3 วันแรก!!!
โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานและรับเงินเดือนเป็นประจำ หรือน้อง ๆ จบใหม่ที่เพิ่งเริ่มเข้าสู่โลกของการทำงาน อาจต้องมีภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เช่น ค่าห้อง ค่าเดินทาง ค่ากิน หรือค่าช็อปปิ้งต่าง ๆ ทำให้ใครหลายคนตั้งตารอคอยว่าเมื่อไหร่เงินเดือนจะเข้าบัญชี
ซึ่งสถานการณ์ “เดือนชนเดือน” มักเกิดจากการบริหารจัดการเงินเดือนที่ผิดพลาด เพราะฉะนั้นก่อนที่ปัญหาเรื่องเงินจะกลายเป็นปัญหาเรื้องรัง เราควรตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ด้วยการจัดการหนี้ให้หมดก่อน
1️⃣ เขียนรายการหนี้ของเราออกมา เพื่อให้เห็นภาพรวมของหนี้ทั้งหมด ทั้งค่าห้อง ค่าโทรศัพท์ ค่าบัตรเครดิต ค่าหนี้บ้าน หนี้รถ รวมไปถึงหนี้ที่เรายืมมาจากคนรอบข้าง
2️⃣ จัดอันดับการใช้หนี้ว่าควรต้องจ่ายอันไหนก่อน-หลัง แนะนำว่าให้รีบเคลียหนี้ที่มียอดคงเหลือน้อยที่สุดและดอกเบี้ยมากที่สุดก่อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยในชีวิตของเพื่อน ๆ ด้วยนะ
3️⃣ หลังจากที่เคลียร์หนี้ทั้งหมดแล้ว ก็ควรเก็บออมเงินไว้ และในเดือนต่อ ๆ ไปเวลามีรายรับเข้ามา อยากให้แยกเงินออมกับเงินในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายออกจากกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เรากลับไปเป็นหนี้ได้อีกในอนาคต ซึ่งหนึ่งในเทคนิคการออมเงินที่อยากแนะนำมาก ๆ คือ “ทฤษฎี 6 Jar ”
6 Jars หรือ ทฤษฎีบริหารเงินด้วยการแบ่งเงิน ถูกคิดค้นโดยที ฮาร์ฟ เอคเคอร์ (T. Harv Eker) นักธุรกิจมหาเศรษฐีที่เริ่มต้นชีวิตจากการเป็นคนธรรมดา และผู้เขียนหนังสือ“ถอดรหัสลับ สมองเงินล้าน” (Secrets of the Millionaire Mind) เขาได้แชร์วิธีการบริหารเงินด้วยการแบ่งสัดส่วนเงินเดือนที่ได้ตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ออกเป็น 6 ประปุก ดังนี้
✅ กระปุกที่ 1 ใช้ในชีวิตประจำวัน (55%)
55% แรกของทฤษฎี 6 Jars จะถูกกันไว้ใช้สำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น ห้องห้อง ค่าเดินทาง ค่ากิน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ รวมไปถึงภาระหนี้สิ้นที่ต้องจ่ายต่อเดือน
✅ กระปุกที่ 2 อิสระภาพทางการเงิน (10%)
กระปุกนี้มีความสำคัญและต้องจัดการให้ดีที่สุด เพราะเป็นเงินที่เราจะต้องเก็บไว้เพื่ออนาคต เช่น เงินซื้อรถ เงินซื้อบ้าน ซื้อประกัน เงินลงทุนต่าง ๆ หรือเงินที่เก็บไว้เพื่อเป็นทุนสำรองฉุกเฉิน
✅ กระปุกที่ 3 ให้รางวัลตัวเอง (10%)
10% สำหรับกระปุกที่ 2 จะเป็นเงินไว้สำหรับการช็อปปิ้ง ดูหนัง กินอาหารดี ๆ เพื่อเติมความสุขให้กับตัวเองหลักจากที่ทำงานหนัก
✅ กระปุกที่ 4 พัฒนาตัวเอง (10%)
กระปุกนี้สำหรับการลงทุนให้ตัวเองในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งเราจะกันเงินส่วนนี้ไปกับการลงทุนเพื่อเรียนในสิ่งที่ตัวเองสนใจ หรือต้องการเพื่อเพิ่มสกิลให้กับตัวเอง
✅ กระปุกที่ 5 เงินออมระยะยาว (10%)
กระปุกนี้เป็นเงินลงทุนสำหรับ “อนาคตระยะยาว” แนะนำว่าให้หยอดกระปุกนี้บ่อย ๆ เพราะเป็นกระปุกแห่งความมั่งคั่ง หรือเป็นเงินที่เก็บไว้สำรองยามฉุกเฉิน ยิ่งหยอดเงินในกระปุกนี้มากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เข้าใกล้ความเป็นอยู่ที่ดี และใช้ชีวิตได้อย่างสบายในวัยเกษียณมากขึ้น
✅ กระปุกที่ 6 แบ่งปัน (5%)
กระปุกนี้ ฟังดูแล้วอาจจะดูเหมือนว่ามีไปทำไม หรืออาจรู้สึกเสียดายว่าเราควรเอา 5% นี้ไปทำอย่างอื่นดีไหม แต่การบริจากเพียงเล็กน้อยนี้ เราอาจเอาไว้ช่วยเหลือสังคม สำหรับคนที่ต้องการความช่วยเหลือ หรือแบ่งไว้สำหรับซื้อของขวัญให้คนพิเศษ เป็นกระปุกที่จะช่วยเติมความรู้สึกดี ๆ ให้กับตัวเองและผู้อื่น
🏦 แอปช่วยวางแผนเรื่องการเงิน
นอกจากทฤษฎี 6 Jars ที่ช่วยบริหารเงินแล้ว ในปัจจุบันนี้มีธนาคารหลาย ๆ ที่ได้พัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อให้ทุกคนสามารถบริหารเงินได้ง่ายขึ้น อย่าง MAKE by KBank และ Kept by Krungsri
✅ MAKE by KBank
แอปนี้เหมาะสำหรับคนที่ต้องการวางแผนการเงินในอนาคต หรือคนที่เก็บเงินไม่อยู่ โดยสามารถโอนเงินจ่ายทุกอย่างและทุกค่าใช้จ่ายจะถูกบันทึกไว้หมด แบบไม่มีตกหล่น โดยมี 5 ฟีเจอร์สำคัญ
👉Cloud Pocket เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยแยกกระเป๋าเงินให้เป็นสัดส่วน การแยกกระเป๋าแบบนี้จะช่วยลดความผิดพลาดทางการเงิน เพราะจะสามารถระบุได้ว่าเราใช้เงินไปกับอะไรบ้างแล้ว
👉Expense Summary ฟีเจอร์ที่ช่วยสรุปยอดค่าใช้จ่ายของแต่ละเดือน เป็น 6 หมวด คือ ค่าอาหาร, ค่าเดินทาง, ความบันเทิง, ค่าช้อปปิ้ง, การชำระบิล, และหมวดหมู่อื่น ๆ และยังเช็กได้อีกว่าเราใช้เงินเกินงบหรือไม่
👉Pop Pay ฟีเจอร์นี้จะช่วยให้คุณสามารถโอนเงินได้โดยไม่ต้องใช้เลขบัญชี หรือ QR Code เพียงแค่ใช้ธนาคารกสิกรเหมือนกัน และเปิดบลูทูธ เพียงเท่านี้เราก็สามารถโอนเงินได้
👉Chat Banking ทุกครั้งที่มีการโอนเงินเข้าหรือออก ฟีเจอร์นี้จะช่วยบันทึกไว้ในรูปแบบแชทที่จะแยกตามบัญชีที่เราทำธุรกรรมด้วย ช่วยบันทึกรายรับ-รายจ่ายในรูปแบบแชท
👉Money Request ฟีเจอร์ที่ช่วยให้คุณทวงเงินเพื่อนได้โดยไม่รู้สึกผิด เพราะฟีเจอร์นี้เพียงเราส่ง Money Request หรือรายการเรียกเก็บไป เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถติดตามธุรกรรมต่าง ๆ ได้ และไม่ต้องกระทบความสัมพันธ์กับเพื่อนด้วย
✅ Kept by Krungsri
แอปออมเงินสำหรับคนรุ่นใหม่ ที่มาพร้อม 3 บัญชีเงินฝากออนไลน์ในรูปแบบ 1 กระเป๋า 2 กระปุก โดยบัญชีแรก Kept เป็นบัญชีที่ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ซึ่งจุดเด่นของบัญชีนี้คือ สามารถตั้งได้ว่าอยากมีเงินอยู่ในบัญชีนี้เท่าไหร่ ถ้าเกิดว่ามีเงินเกินกว่าที่เรากำหนดไว้ เงินในบัญชีนี้จะถูกโอนไปเก็บอยู่ในอีกบัญชี Grow โดยอัตโนมัติ และบัญชี Grow เป็นบัญชีสำหรับการออมเงิน เหมือนเป็นกระปุกเก็บเงินก้อน
สุดท้ายบัญชี Fun จะช่วยให้การออมเงินเป็นเรื่องสนุก เป็นกระปุกเก็บเล็กผสมน้อยได้ทุกวัน โดยบัญชีนี้จะไม่ได้ให้เราเก็บเงินแบบเฉย ๆ แต่บัญชี Fun จะเป็นวิธีการแอบเก็บเงิน โดยจะให้เราเก็บเงินด้วยฟีเจอร์ “แอบเก็บ” ถ้าแอบเก็บครบ 10 ครั้งเมื่อไหร่ก็จะได้รับดอกเบี้ยพิเศษในเดือนถัดไปทันที ซึ่งจะช่วยให้เรามีเงินเก็บได้ไม่รู้ตัว
🌈 สุดท้ายจะเห็นว่าปัญหาการเงินของคนรุ่นใหม่ที่พบบ่อยมากที่สุดปัญหาหนึ่ง คือ ทำงานมาสักพักแต่ไม่สามารถเก็บเงินได้ วิธีการเก็บเงินด้วยเทคนิค 6 Jasr อาจเป็นตัวช่วยที่จัดการการเงินของคุณให้เป็นระเบียบ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเงินให้ดียิ่งขึ้น แอป MAKE by KBank และ Kept by Krungsri ก็เป็นอีกตัวช่วยที่ดีที่จะช่วยให้คุณสามารถเก็บเงินได้ผ่านฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวก และมากไปกว่าการมีแอปธนาคารจะช่วยให้คุณมองเห็นรายละเอียดการเงินของตัวเองทุกอย่างผ่านแอปของธนาคาร
🤩 ติดตามความรู้และทริคดี ๆ เกี่ยวกับการเงินได้ที่ ConNEXT เพื่อนคู่คิดทางการเงินที่จะมาร่วมแบ่งปันความรู้และเติบโตในด้านการเงินไปพร้อมกัน แล้วมาเรียนรู้ไปด้วยกันนะ!
อ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3t16bLE
.
มาร่วม CONNEXT THE DOT ก้าวสู่โลกการทำงานอย่างมั่นใจไปด้วยกัน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา