27 พ.ย. 2023 เวลา 06:45 • การตลาด

Social Media Trend 2024 เทรนด์ไหนมาแรงธุรกิจต้องรู้!

ภาพรวมของเทรนด์การใช้โซเชียลมีเดียในปี 2024 ที่จะถึงนี้ พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ หรือการใช้โซเชียลมีเดียของคนไทย ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ผู้คนจะให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์แบบเฉพาะเจาะจงมากขึ้น โดยจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่มีความสนใจคล้ายคลึงกัน แทนที่จะเสพคอนเทนต์จากกลุ่มใหญ่ ๆ ที่ไม่ค่อยได้รู้จักใคร
2. โซเชียลมีเดียจะกลายเป็นพื้นที่สาธารณะมากขึ้น โดยผู้คนอาจต้องจ่ายเงินเพื่อใช้งาน แลกกับการเข้าถึงคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ
3. คอนเทนต์ที่จะได้รับความนิยมจะต้องโดดเด่นและน่าจดจำ โดยคอนเทนต์ทั่วไปอาจถูกลดการมองเห็นลง
4. ผู้คนจะมีความระมัดระวังมากขึ้นในการรับข้อมูลข่าวสาร โดยจะตรวจสอบข้อมูลด้วยตัวเองก่อนเชื่อ
5. แบรนด์จะต้องปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์ใหม่ โดยต้องสร้างคอนเทนต์ที่ตรงกับความสนใจของผู้คน และปรับคอนเทนต์ให้มีความเรียบง่ายบวกจริงใจมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังพบว่ากระแส Deinfluencing ซึ่งเป็นกระแสใหม่ในปี 2023 โดย Influencer จะไม่เน้นการชวนซื้อของอีกต่อไป แต่กลับบอกตรง ๆ ว่าไม่จำเป็นต้องซื้อของบางอย่างก็ได้
ทีนี้มาดูเทรนด์โซเชียลสำคัญ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้ากันค่ะ
🟣 Attention Layering
ผู้คนเริ่มเบื่อคอนเทนต์ฉาบฉวย เน้นความรวดเร็ว ตื่นเต้นเร้าใจ หันมาสนใจคอนเทนต์ที่ลุ่มลึก ลงรายละเอียดมากกว่า คอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมในปี 2024 จะเป็นคอนเทนต์ที่เรียบง่าย เน้นเรื่องราวธรรมดา ๆ ของผู้คนทั่วไป และเทรนด์ของ Influencer ยุคใหม่ไม่ได้มีแค่กลุ่มคนที่อวดชีวิตดีดี หรือเน้นสนุก เฮฮา อีกต่อไป แต่ Influencer สาย Intellectual ที่ให้ความรู้จริงจัง เน้นการทำคอนเทนต์ยาวๆ ก็ได้รับความนิยมมากขึ้น
สำหรับแบรนด์ที่ต้องการปรับตัวกับเทรนด์นี้ ควรทำคอนเทนต์แบบ Immersive Content เน้นเนื้อหายาว ๆ ลุ่มลึก เพื่อให้ผู้บริโภคได้อยู่กับแบรนด์นาน ๆ และยังสามารถใช้กลยุทธ์ Mixed Reality และ Parody ตัวเองเอาคลิปมากกว่าหนึ่งคลิปมารวมกันเป็นคลิปวิดีโอใหม่ตัวเดียว เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับคอนเทนต์ได้อีกด้วย
ตัวอย่างคอนเทนต์ที่ประสบความสำเร็จ เช่น ภาพยนตร์เต็มเรื่อง Meangirls ที่ Paramount ปล่อยออกมาให้ดูบน TikTok ทีละตอนซึ่งกระแสตอบรับจากคนดูก็ดีมากๆ ติดตามดูกันจนจบ นี่แสดงให้เห็นว่า TikTok ก็ Long-form Content ได้
🟣Post Representation
ยุคของ Mass Idol สิ้นสุดลงแล้ว ผู้คนไม่ได้สนใจไอดอลที่เหมือนกันอีกต่อไป ทุกคนสามารถเป็นไอดอลของใครก็ได้ โลกออนไลน์เผยให้เห็นความหลากหลายมากขึ้น ผู้คนต่างมีความสนใจและรสนิยมที่แตกต่างกันออกไป แบรนด์จึงควรนำเสนอคอนเทนต์ที่สะท้อนให้เห็นความหลากหลายนี้ ไม่มีอีกแล้วว่าจะต้องผิวขาวเท่านั้นถึงสวย ผอมเท่านั้นถึงจะดูดี วันนี้นิยามคำว่าดูดีนั้นไปกว่านั้นมาก
แบรนด์ที่ยังคงนำเสนอคอนเทนต์แบบเดิม ๆ ที่ใช้ภาพจำแบบ Stereotype อาจถูกมองว่าไม่ทันสมัย ไม่เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย และอาจถูกสังคมต่อต้าน แบรนด์ควรนำเสนอคอนเทนต์ที่สะท้อนให้เห็นความหลากหลายของผู้คน คอนเทนต์เหล่านี้จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขึ้น และสร้างการมีส่วนร่วมได้มากขึ้น
🟣The Offline Internet
ในปัจจุบันคนออฟไลน์กันมากขึ้น ต่อไปนี้โลกออนไลน์และโลกออฟไลน์จะเริ่มผสมผสานเข้าด้วยกันมากขึ้น ผู้คนเริ่มนำสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์มาประยุกต์ใช้ในโลกออฟไลน์มากขึ้น ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เทรนด์นี้เกิดขึ้น มาจากพฤติกรรมการมองโลกที่เปลี่ยนไปของคนรุ่นใหม่ที่ใช้เวลาออนไลน์มากขึ้นในช่วงล็อกดาวน์ บวกกับการได้เห็นอะไรตลก ๆ บนหน้าจอ โดยเฉพาะในเกม ทำให้พวกเขาเกิดไอเดียใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์คอนเทนต์
ส่วนปัจจัยทางสังคม ผู้คนเริ่มรู้สึกเบื่อหน่ายกับการใช้ชีวิตบนหน้าจอมากเกินไป หลังจากต้องใช้ชีวิตแบบล็อกดาวน์มานานหลายปี ผู้คนจึงเริ่มหันมาสนใจโลกแห่งความเป็นจริงมากขึ้น
เทรนด์นี้ส่งผลต่อแนวทางการทำ Content Marketing 2024 โดยแบรนด์ต่าง ๆ ต้องปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หันมาผลิตคอนเทนต์ที่เชื่อมโยงกับโลกออฟไลน์มากขึ้น เช่น การร่วมมือกับ NPC Influencer เป็นต้น และเทรนด์นี้ถือเป็นโอกาสใหม่ของเหล่าครีเอเตอร์ ในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่แปลกใหม่และน่าสนใจมากขึ้น
ตัวอย่างคอนเทนต์ที่สอดคล้องกับเทรนด์ The Offline Internet
- ทำคอนเทนต์เสมือนว่าตัวเองเป็น NPC ในเกม
- ทำคอนเทนต์ตามสูตรเมนูอาหารประหลาดๆ ที่พบใน Wikipedia
- แคมเปญการตลาดของแบรนด์ Doritos ที่ชวนคนมาลองทำ "Cheesy Chips Challenge" ซึ่งเป็นเทรนด์บน TikTok ที่ได้รับความนิยม
🟣Everyday Fandom
อันที่จริงเทรนด์นี้เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่เทรนด์ Fandom กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ซึ่ง Fandom และ Fan Club นั้น ทั้งสองกลุ่มเป็นกลุ่มคนที่ชื่นชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่งเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างที่สำคัญประการหนึ่งคือ Fandom คือกลุ่มคนที่หลงใหลและลงมือทำอะไรร่วมกัน
เช่น สนับสนุนศิลปิน สร้างสรรค์ผลงาน Fan Art มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น ในขณะที่ Fan Club คือกลุ่มคนที่ชื่นชอบแต่อาจไม่ได้ลงมือทำอะไรร่วมกันมากนัก อาจเป็นแค่กลุ่มคนที่คอยติดตามผลงานหรือข่าวสารเท่านั้น
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เทรนด์นี้เกิดขึ้นมีดังนี้
- Algorithm Driven Fandom โลกดิจิทัลทำให้คนพบเจอคนที่ชอบอะไรเหมือนกันได้ง่ายขึ้น อัลกอริทึมของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียจะคัดกรองคอนเทนต์ที่เราน่าจะสนใจมาแสดงให้เราเห็น ส่งผลให้เรามีโอกาสพบเจอคนที่ชอบสิ่งเดียวกับเรามากขึ้น
- Platform of Fandom ผู้คนย้ายไปใช้แพลตฟอร์มใหม่ๆ เช่น Telegram, WhatsApp, Discord ซึ่งออกแบบมาเพื่อรองรับการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มขนาดใหญ่ ส่งผลให้กลุ่ม Fandom ต่างๆ ย้ายไปรวมตัวกันบนแพลตฟอร์มเหล่านี้มากขึ้น
นอกจากปัจจัยข้างต้นแล้ว พฤติกรรมของผู้คนในปี 2024 ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน ซึ่งส่งผลต่อเทรนด์ Fandom ดังนี้
- ไม่มีคำว่า Exclusive มีแต่คำว่า Inclusive : ผู้คนให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มมากกว่าการแบ่งแยก เทรนด์นี้สะท้อนให้เห็นจากพฤติกรรมของกลุ่ม Fandom ที่มักมีแนวคิดแบบ Inclusive ยินดีต้อนรับสมาชิกทุกคนโดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ เพศ หรือรสนิยมทางเพศ
- Social for Support : ช่วยกันสนับสนุนผ่านโซเชียล โซเชียลมีเดียกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการรวมตัวและสนับสนุนกลุ่ม Fandom ผู้คนมักใช้โซเชียลมีเดียในการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสร้างสรรค์ผลงานเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาชื่นชอบ
- ลิขสิทธิ์ทางปัญญา ต้องยืดหยุ่นกับ Fandom เทคโนโลยี Generative AI ทำให้การสร้างผลงาน Fan Art ง่ายขึ้น แบรนด์จึงควรยืดหยุ่นกับลิขสิทธิ์ทางปัญญามากขึ้น เพื่อให้กลุ่ม Fandom สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างเต็มที่
นักการตลาดควรให้ความสำคัญกับเทรนด์ Fandom เพราะกลุ่มคนเหล่านี้มีพลังในการขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างมาก โดยหากลุ่มคนที่ชื่นชอบให้เจอ ศึกษา และเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง เพื่อหากลุ่มคนที่มีโอกาสจะกลายเป็น Fandom ของแบรนด์
🟣Mischief Mode
"Mischief Mode" ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ผู้ใช้แสดงออกอย่างท้าทายต่อบรรทัดฐานเดิม ๆ บนโซเชียลมีเดีย โดยสาเหตุหลักมาจากการที่โซเชียลมีเดียกลายเป็นพื้นที่ที่ถูกครอบงำโดยธุรกิจและโฆษณา ผู้ใช้โซเชียลมีเดียรุ่นใหม่ ๆ รู้สึกเบื่อหน่ายกับเนื้อหาที่ซ้ำซากและถูกโฆษณา จึงต้องการสร้างเนื้อหาที่แตกต่างและท้าทายมากขึ้น เนื้อหาเหล่านี้อาจมีลักษณะดังนี้
- เนื้อหาที่ท้าทายขนบธรรมเนียม เช่น เนื้อหาที่ล้อเลียนประเด็นทางสังคมหรือการเมือง
- เนื้อหาที่เล่นสนุกและไร้สาระ เช่น เนื้อหาที่ตัดต่อภาพหรือวิดีโออย่างตลก ๆ อย่างวิดีโอของ Skibidi Toilets ที่นำเสนอเรื่องราวของชักโครกร้องเพลง ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่ม Gen Alpha
- เนื้อหาที่แสดงออกถึงความแปลกแยก เช่น เนื้อหาที่นำเสนอมุมมองที่แตกต่างไปจากเดิม
แนวโน้ม "Mischief Mode" นี้คาดว่าจะยังคงดำเนินต่อไปในอนาคต เนื่องจากผู้ใช้โซเชียลมีเดียต้องการประสบการณ์ที่สมจริง และเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
และนี่คือเทรนด์บางส่วนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีหน้านี้ แน่นอนว่านักการตลาด แบรนด์ รวมถึงครีเอเตอร์ทั้งหลาย ควรให้ความสำคัญในการติดตามเทรนด์เหล่านี้ เพื่อปรับกลยุทธ์การตลาดให้เหมาะสม และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นค่ะ
ข้อมูลจาก: we are social, everydaymarketing
โฆษณา