Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
28 พ.ย. 2023 เวลา 02:30 • ธุรกิจ
“ทุเรียน ปาล์มน้ำมัน กาแฟโรบัสตา” ดันชุมพร โตแรงสุดในภาคใต้
รู้ไหมว่า ถ้านับตั้งแต่ปี 2559 มาจนถึงปี 2564
เศรษฐกิจชุมพรโตเฉลี่ย สูงถึง 9.4% ต่อปี
1
เทียบกับเศรษฐกิจของประเทศไทย ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกัน มีการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 4% ต่อปี เรียกได้ว่า ชุมพร กำลังเติบโตอย่างร้อนแรงเลยทีเดียว
2
เศรษฐกิจชุมพรเป็นอย่างไร
ทำไมเติบโตแรงขนาดนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
2
ปกติแล้ว ทุกคนคงมีภาพในหัวว่า เศรษฐกิจในภาคใต้แต่ละจังหวัด จะขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยวเป็นหลัก เพราะติดทะเลทั้ง 2 ฝั่ง
2
แต่เรื่องแปลกคือ จังหวัดชุมพร กลับมีโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่เหมือนจังหวัดอื่นในภาคใต้
1
หากเราไปดูโครงสร้างเศรษฐกิจของชุมพร จะพบว่า
- ภาคเกษตรกรรม 50%
- ภาคบริการและท่องเที่ยว 40%
- ภาคอุตสาหกรรม 10%
จะเห็นได้ว่า ชุมพรพึ่งพาภาคเกษตรกรรม กว่าครึ่งหนึ่ง หากเราอ้างอิงจากข้อมูลล่าสุดของสภาพัฒน์
จากที่ได้เกริ่นไปว่า ในช่วงปี 2559 ถึงปี 2564
เศรษฐกิจชุมพร เติบโต 9.4% ต่อปี โดยเป็นการเติบโตภาคเกษตรกรรม มากถึง 14% ต่อปี เลยทีเดียว
แล้วทำไม ภาคเกษตรกรรมของชุมพร ถึงเติบโตแรง ?
เหตุผลแรกเลย ก็เพราะว่า ชุมพรเป็น “เมืองทุเรียน”
1
ชุมพรเป็นแหล่งปลูกทุเรียนอันดับ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดจันทบุรี โดยมีผลผลิตคิดเป็น 1 ใน 5 ของทั้งประเทศ
2
เพราะชุมพรมีพื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกทุเรียน ด้วยภูมิประเทศที่มีฝนตกมากต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลดีกับทุเรียน ที่เป็นพืชต้องการใช้น้ำมาก
การเติบโตของสินค้าอย่างทุเรียน ยังส่งผลให้ธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง เติบโตอีกด้วย เช่น
- ธุรกิจขนส่งและจัดเก็บ เพื่อส่งออกไปยังจีน
โดยในช่วง 5 ปีที่ได้กล่าวไป มีการเติบโตมากถึง 13% ต่อปี
เรื่องต่อมา คือ ชุมพรเป็นผู้ผลิต “ปาล์มน้ำมัน” รายใหญ่ของไทย
ก็ต้องบอกว่า นอกจากทุเรียนแล้ว ชุมพรยังมีปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นแหล่งรายได้จากพืชเกษตรกรรมอีกอย่างหนึ่งของจังหวัด
ปาล์มน้ำมันที่ว่านี้ สามารถนำไปทำเป็นน้ำมันปาล์ม เพื่อประกอบอาหาร รวมทั้งนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง สบู่ และเคมีภัณฑ์อีกมากมาย
โดยปาล์มน้ำมันปลูกมากสุดในภาคใต้ ซึ่ง 3 จังหวัดที่ปลูกมากที่สุด ได้แก่
- สุราษฎร์ธานี 4.4 ล้านตัน
- กระบี่ 3.8 ล้านตัน
- ชุมพร 3.1 ล้านตัน
จะเห็นได้ว่า ชุมพรเป็นผู้ผลิตปาล์มน้ำมันรายใหญ่ของประเทศ
ไม่เพียงเท่านั้น ชุมพรยังเป็นแหล่ง แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ที่สำคัญอีกด้วย
เราลองมาดูตัวอย่าง บริษัทแปรรูปสินค้าเกษตร จากจังหวัดชุมพร ที่อยู่ในตลาดหุ้นไทยกัน
บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) หรือ CPI
ซึ่งมีธุรกิจหลักคือ แปรรูปน้ำมันปาล์ม เพื่อการบริโภคและอุตสาหกรรม ปัจจุบันมีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 1,708 ล้านบาท
เรื่องนี้ถือเป็นข้อได้เปรียบที่ดี เพราะเมื่อเกษตรกรชุมพร มีผลผลิตออกมาแล้ว ก็สามารถส่งไปแปรรูปให้กับโรงงานในพื้นที่ได้เลยทันที
นอกจากทุเรียนและปาล์มน้ำมัน ชุมพรยังถูกยกให้เป็น “เมืองหลวงของกาแฟโรบัสตา”
ที่เป็นแบบนี้เพราะว่า กาแฟสายพันธุ์โรบัสตา มักปลูกได้ดีในอากาศร้อนชื้น ซึ่งเหมาะกับจังหวัดชุมพร ที่มีอากาศเหมาะสม และเป็นเมืองหุบเขาที่ทำให้กาแฟมีคุณภาพสูง
ในปีที่ผ่านมา ชุมพรสามารถผลิตกาแฟ ได้มากถึง 5,600 ตัน คิดเป็น 30% ของผลผลิตกาแฟทั้งหมดในประเทศ
พอเป็นแบบนี้ ทำให้เกษตรกรในจังหวัด มีการรวมกลุ่มเพื่อแปรรูปกาแฟที่ผลิตได้ ออกสู่ตลาดมากมาย ตัวอย่างเช่น กาแฟเขาทะลุ ที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก
1
อ่านมาถึงตรงนี้ เราคงพอเข้าใจแล้วว่า ทำไมชุมพรกลายเป็นจังหวัด ที่เศรษฐกิจโตแรงมากสุดในภาคใต้
นั่นเป็นเพราะภาคเกษตรกรรม ที่มีผลผลิตตัวชูโรง อย่างทุเรียน ปาล์มน้ำมัน และกาแฟ
แม้ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมา เศรษฐกิจของชุมพรก็ยังสามารถเติบโต และไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ชุมพรก็เจอกับปัญหา ที่เข้ามากระทบเศรษฐกิจไม่น้อยเช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก
ที่ส่งผลกระทบต่อการปลูกทุเรียน ซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักให้กับจังหวัดนี้
รวมไปถึงการผลิตกาแฟโรบัสตา ก็มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากเกษตรกรบางส่วน หันไปปลูกทุเรียน ที่มีราคาขายดีกว่า และใช้แรงงานน้อยกว่าแทน
เรื่องนี้ก็กลายเป็นความท้าทาย ให้กับจังหวัดชุมพร ว่าจะสามารถรักษาการเติบโตที่ร้อนแรง เหมือนกับช่วงก่อนหน้าได้หรือไม่
แต่มองในมุมกลับกัน หากโฟกัสไปที่จุดแข็งของ ชุมพรอย่างเกษตรกรรม และการแปรรูป
หากเราสามารถนำจุดแข็งทั้งสองมาผสมกัน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างเรื่องราวให้สินค้าเกษตร
1
ก็ไม่แน่ว่าอาจเป็นโอกาสทอง ในการเติบโตอีกครั้งของชุมพร ก็ได้..
References
-
https://lookerstudio.google.com/u/0/reporting/704fe6c7-aecb-4362-9062-3dc971c75982/page/p_woqsppkotc
-
https://mis-app.oae.go.th/product/
-รายงาน GPP รายจังหวัดประจำปี 2564
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ธุรกิจ
31 บันทึก
107
2
131
31
107
2
131
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย