Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bookies Cookies Podcast & Books
•
ติดตาม
29 พ.ย. 2023 เวลา 04:26 • ประวัติศาสตร์
สงครามครูเสดในช่วงยุคกลาง : สงครามอิสราเอล ฮามาส
สงครามครูเสดเป็นสงครามศาสนาที่เกิดในช่วงศตวรรษ 11 -13
เพื่อแย้งชิงดินแดนศักดิ์สิทธิ์ กรุงเยรูซ่าเรม (ปัจจุบันอยู่ในอิสราเอล) ซึ่งดินแดนนี้ถือว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาถึง 3 ศาสนา ได้แก่ ยูดาห์(ยิว) อิสลาม คริสตร์โดย
ศาสนายูดาห์ (ยิว) เชื่อว่า : บริเวณนี้คือดินแดนอันศักดิ์สิทธิที่พระเจ้าสัญญาว่าจะมอบให้กับเรา
ศาสนาคริสตร์ เชื่อว่า : เยรูซาเรมเป็นเมืองสำคัญ เพราะว่านี้คือบริเวณที่พระเยซูมาเผยแพร่ศาสนาคริสตร์และถูกตรึงกางเขน
ศาสนาอิสลาม เชื่อว่า : นี้คือเมืองสำคัญเพราะ มัสยิดอัลอักซอ ซึ่งเป็นมัสยิดแรกๆของอิสลามตั้งอยู่ที่นี้ และที่นี้ยังเป็นกิบลัตแรกของศาสนาอิสลามเลยด้วย กิบลัต คือการกำหนดทิศเพื่อการละหมาด ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนจากเมืองเยรูซาเลมกลายไปเป็นเมืองเมกกะ ด้วยเหตุนี้เมืองนี้จึงเป็นเมืองสำคัญเป็นอันดับที่ 3 ของศาสนาอิสลามรองลงมาจาก เมือเมกกะ และ เมืองเมดินา
การรบกันระหว่างศาสนาคริตร์ และ อิสลาม เสียเป็นส่วนใหญ่
สงครามครูเสดเป็นสงครามศาสนาต่อเนื่องกันที่ริเริ่ม สนับสนุน และบางครั้งก็กำกับโดยคริสตจักรลาตินในยุคกลางสงครามครูเสดที่รู้จักกันดีที่สุดคือสงครามไปยังดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในช่วงระหว่างปี 1095 ถึง 1291 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อฟื้นฟูกรุงเยรูซาเล็มและพื้นที่โดยรอบจากการปกครองของศาสนาอิสลามกิจกรรมทางทหารที่เกิดขึ้นพร้อมกันในคาบสมุทรไอบีเรีย
โดยในช่วงนั้นสงครามนี้มีชื่อเรียกว่า ‘ Holy War ‘ โดยคนที่ออกไปรบในช่วงนั้นก็เรียกตัวเองว่าเป็นผู้แสวงบุญ และยังมองว่าการออกไปรบในสงครามนี้ถึงว่าเป็นการรับใช้พระเจ้าเลยทีเดียว
ส่วนคำว่า ครูเสด มาจากรากศัพท์ภาษาละติน crusades แปลว่า cross หรือ กากบาท ไม้กางเขน เกิดจากการที่กองทัพของรพะเจ้าจะใช้สัญลักษณ์เป็นไม้กางเขน เพราะถือว่าเป็นกองทัพของพระเจ้า จึงมีคนเรียกกองทัพของคริสตร์ว่า ครูเสด และคนที่ออกไปรบจะถูกเรียกว่า crusader ต่อมาในสมัยศตวรรษที่ 16 - 17 จึงมีมีการชื่อกองทัพมาเรียกเป็นชื่อสงครามกลายเป็น สงครามครูเสด
ซึ่งสงครามนี้มีการรบกันหลากหลายครั้งมาก รบหลายๆ ครั้งต่อๆ กันมาถึง 200 ปี ซึ่งนิยมแบ่งสงครามครั้งสำคัญในสงครามครูเสดออกเป็น 9 ครั้งด้วยกัน
สงครามครูเสดครั้งที่ 1 (1095 - 1101)
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อคืนความศักดิ์สิทธิ์ให้กับกรุงเยรูซาเล็มและพื้นที่โดยรอบจากการปกครองของมหาจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งปาเลสไตน์ถูกตั้งชื่อเป็นดินแดนที่ตั้งของเยรูซาเล็มและพื้นที่โดยรอบ สงครามนี้เป็นเพียงช่วงเริ่มต้นของสงครามครูเสดที่ยาวนานและเป็นที่รู้จักดีที่สุดในประวัติศาสตร์
สงครามครูเสดครั้งที่ 2 (1147 - 1149 )
เกิดขึ้นเพื่อทวงคืนกรุงเยรูซาเล็มซึ่งถูกปกครองโดยศัตรูในสงครามครูเสดครั้งที่ 1 ในสงครามครูเสดครั้งนี้ กองทัพคริสตจักรลาตินของยุโรปได้ร่วมกันตีสงครามกับอิสลามที่ เป็นกลุ่มทหารตระกูลยาคุบ กองทัพของคริสตจักรได้เข้าสู้กับกองทัพของยาคุบบที่มีกำลังมากกว่า ทำให้คริสตจักรพ่ายแพ้และต้องกลับไปโดยไม่ได้คืนความศักดิ์สิทธ์ให้กับกรุงเยรูซาเล็ม
สงครามครั้งที่ 3 (1189 - 1192)
สงครามครูเสดครั้งที่ 3 มีการร่วมกันของหลายชาติ นำโดยพระเจ้าริชาดที่ 1 แห่งอังกฤษ พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส และจักรพรรดิเฟรเอดริกที่ 1 จาก เยอรมนี เพื่อแย่งชิงดินแดนเยรูซาเล็มจากชาวมุสลิม
แต่ยังไม่ทันรบพระเจ้าเฟรเดอริกแห่งเยอรมนีกลับจมน้ำตายไปเสียก่อน ทำให้ทหารของเยอรมนีเกิดการแตกทัพบางก็ไปรวมกับอังกฤษหรือฝรั่งเศส บางก็กลับไปที่บ้านเกิด
ต่อมาได้มีคนมาสมทบกองทัพครูเสดเพิ่ม ได้แก่ เลโอโปลม์ที่ 5 ดยุคแห่งออสเตรีย และ กีย์ เดอ ลูซินยอง อัศวินแห่งเยรูซาเรม
เมื่อเริ่มสงครมกองทัพครูเสดสามารถยึงเมือเอเคอร์ได้อย่างสบายๆ ปัญหาดันไปอยู่ที่ตอนจะปักธงประกาศเนี่ยแหละ แต่พระเจ้าริดชาดยังไม่ทันได้ยกธง
เลโอโปลด์ที่ 5 ก็ดันชิงปักธงก่อน และก็กลายเป็นการทะเลาะกันหว่างพระเจ้าชาดกับเลโอโปลด์ เพราะเรื่องที่ว่า”ฉันต่างหากที่ยึดเมืองนี้ได้ ฉันจึงต้องเป็นคนปักธง”
จากเหตุการณ์ปักธงจึงทำให้กองทัพครูเสดตีกันเอง พระเจ้าฟิลิปแห่งฝรั่งเศสคงรู้สึกเอือมระอาแล้วก็น่าจะเซ็งสุดๆ ทำให้ฝรั่งเศสยกทัพกลับไป
ถึงกระนั้นพระเจ้าริชาดก็ยังคงทำการรบต่อไปและก็ยึดดินแดนได้มากมาย จงกระทั่งบุกไปถึงกรุงเยรูซาเรมและพบว่าสุลต่านซาลาดินได้ตั้งกองทัพไว้รอแล้วเป็นกองทัพที่ถ้าพระเจ้าริชาดสู้ด้วยยังไงก็คงแพ้ จึงได้มีการทำข้อตกลงกัน ให้ชาวมุสลิมปกครองต่อไปแต่ข้อให้มีรัฐครูเสดอยู่เหมือนเดิม กับขอให้ชาวคริสตร์เข้ามาแสวงบุญได้
สงครามครั้งที่ 4 (1201 - 1204)
เกิดจากชาวคริสตร์ตีกันเอง แต่เป็นชาวคริสตร์ต่างนิกาย ระหว่างนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายออร์ทอดอกซ์ จากการที่นิกายออร์ทอดอกซ์เคยได้ไปทำสัญาลับกับพวกมุลสลิมในสงคราครั้งก่อนๆ
สงครามครั้งที่ 5 (1217 - 1221)
โดยพระสันตะปาปาอินโเนซต์ที่ 3 (ครั้งก่อนก็เขานี้แหละ) พระรู้สึกว่ายังไม่สามารถตีอียิปต์ที่เป็นศูนย์กลางของราชวงอัยยูบิดได้ จึงมีการรวมพลอีกรอบ ตั้งแต่
- Leoplod IV, Duke of Austria
- Andrew II of Hungary
- Oliver of Paderborn
- William I, Count of Holland
- กองทัพจากเนเธอร์แลนด์ เฟลมิช ฟรีเซียน
หลังจากไปถึงอียิปต์และเตรียมจะไปบุกเมืองไคโร แต่ก็โดนทางมุสลิมโจมตี สเบียงที่มีก็ไม่พอ สุดท้ายฝั่งครูเสดจึงยกทัพกลับไป
สงครามครั้งที่ 6 (1228 - 1229)
ตัวตั้งตัวตีในสงครามครั้งนี้คือ พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 แห่งจักวววดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระเจ้าเฟรเดอริกเคยได้ให้สัญญากับโป๊ปเอาไว้ว่าจะไปร่วมรบในสงครามครูเสดครั้งที่ 5 แต่ก็ไม่ได้ไป และพอมีการแต่งตั้งพระสันตะปาปาองค์ใหม่ พระสันตะปาปาเกรเกอรีที่ 9 พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2ก็เลยได้ให้สัญญาอีกครั้งหนึ่ง
1227 พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 ดันจะไปแต่งงานกับอิซาเบลลาที่ 2 แห่งกรุงเยรูซาเลม เพราะคิดว่า “ถ้าทำแบบนี้แล้วเราตีกรุงเยรูซาเรมได้เนี่ย เราก็จะสามารถอ้างสิทธิ์เหนือกรุงเยรูซาเลมได้นะสิ อัจฉริยะเสียยิ่งกระไร” ดังนั้นพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 จึงได้ไปร่วมรบกับกองทัพครูเสดตามสัญญาเผื่อดินแดนนี้จะได้ตกว่าเป็นของพระเจ้าเฟรเดอริก แต่ยังออกไปไม่ถึงไหนพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 ก็ดันป่วย พอป่วยก็ยกทัพกลับ เรื่องนี้ทำให้โป๊ปถึงกับคว่ำบาตรพระเจ้าเฟรเดอริก
ปี 1228 พระเจ้าเฟรเดอริกได้ลงมือทำอะไรบางอย่างกับกรุงเยรูซาเรม มันต้องรุนแรง ต้องเหี้ยมโหด ต้องอำมหิต ต้องฆ่าล้างบา— เจรจา พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 สามารถยึดกรุงเยรูซาเรมมาเป็นของตัวเองได้ผ่านการเจรจากับสุลต่านอัล-คามิล และสามารถอ้างสิทธิ์เหนื่อยกรุงเยรูซาเรมได้ผ่านการแต่งงาน
แต่... ในปี 1244 กรุงเยรูซาเรมถูกเติร์ก ( Khwarazmian Turk) ตีแตกไปอีกรอบ และเติร์กพวกนี้ก็ถูกราชวงศ์อัยยูบิดตีเยรูซาเรมคืนมาได้ กรุงเยรูซาเรมจึงกลับไปอยู่ในมือของอิสลามอีกครั้ง
สงครามครั้งที่ 7 (1248 - 1254)
โป๊ปไม่พอใจที่กรุงเยรูซาเรมจึงกลับไปอยู่ในมือของอิสลามอีกครั้ง จึงได้เชิญชวญพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แต่ทานไม่ว่างนะติดรบกับอังกฤษอยู่ จนมาในปี 1249 พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ได้ตังสินใจบุก บุกไปไหนไปเยซูเรมแล้วก็แพ้ แพ้ไม่พอถูกจับเป็นตัวประกันอีกต่างหาก ต้องเอาเงินไปไถตัวมาอีก
พอพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ได้กลับประเทศ แม่ทัพทีี่เป็นคนจับพระเจ้าหลุยส์มามาเรียกค่าไถ่ที่ชื่อ Baibars ก็ได้กลายมาเป็นสุลต่านปกครองอียิปต์ เหตุผลคงไม่ต้องถามว่าได้ยังไง พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ค่าตัวเขาคงแพ้น่าดู ประเด็นคือ Baibars ที่ขึ้นมาเป็สุลต่านเป็นคนที่โหดร้ายมาก ถ้าไม่ประหารก็จับชาวคริสต์มาเป็นทาส จนพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ได้ก่อสงครามครูเสดขึ้นอีกครั้ง
สงครามครั้งที่ 8 (1267-1270)
พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ได้เดินทางไปที่เมืองตูนิส (ตูนิเชีย ปัจจุบัน) เพื่อรวมทัพ เมื่อไปถึงทัพมุสลิมก็ได้ล้อมเมืองตูนิสไว้หมดแล้ว พอพระเจ้าหลุยส์มาถึงก็หนีไปไหนไม่ได้อีก สเบียดก็หหมดเจอโรคระบาดพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ก็ได้เสียชีวิตอยู่ที่เมืองตูนิสนี้เอง
เพิ่มเติม : ช่วงยุคกลางนอกจาก 'กาฬโรค' แล้ว โรคฝีดาษหรือที่เรียกอีกชื่อว่า 'ไข้ทรพิษ' (Smallpox) ก็เป็นโรคระบาดที่พรากชีวิตคนไปจำนวนมาก หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำเกิดการระบาดอย่างหนัก ก็มาจากการเดินทางกลับจากตะวันออกกลางของเหล่านักรบในสงครามครูเสด
สงครามครูเสดครั้งที่ 9 (1271-1272)
เกิดจากการที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ หลายเขยของคนดีคนเดิมของเราพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ซึงตอนนั้นยังเป็น Duke of Gascony ซึ่งกำลังเดินทางไปช่วยพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ตั้งแต่ตอนที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 อยู่ที่เมืองตูนิส
แต่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดไปไม่ทันพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ได้เสียชีวิตไปเสียก่อน พอทราบข่าวว่าพระเจ้าหลุยส์ได้เสียชีวิตไปแล้วพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ก็ไม่รู้จะทำอะไรต่อเลยยกทัพกลับไป
เวลาล่วงเลยมาจนถึง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 กรุงเยรูซาเล็มและพื้นที่โดยรอบ ตกอยู่ภายใต้การปกครองของมหาจักรวรรดิออตโตมัน หรือประเทศตุรกีในปัจจุบัน โดยจักรวรรดิออตโตมัน ตั้งชื่อดินแดนที่ตั้งของเยรูซาเล็มและพื้นที่โดยรอบว่า “ปาเลสไตน์”
โดย ณ เวลานั้น ปาเลสไตน์เป็นเพียงชื่อเรียกของดินแดนเท่านั้น และชาวอาหรับที่เข้ามาอาศัยอยู่ก็ถูกเรียกตามชื่อดินแดนว่า ชาวปาเลสไตน์ แต่พวกเขาไม่ได้มีอำนาจปกครองตัวเองใดๆ เพราะเป็นเพียงผู้อาศัยที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของจักรวรรดิออตโตมันเท่านั้น
แม้จะเปลี่ยนผ่านผู้ปกครองดินแดนไปหลายเชื้อชาติ แต่ชาวยิวก็ยังคงตั้งความหวังไว้เสมอว่าสักวัน จะกลับมาดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของตัวเองอีกครั้ง โดยระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษสัญญากับชาวยิวไว้ว่า ถ้ามาช่วยรบจะมอบดินแดนปาเลสไตน์ให้หลังชนะสงคราม ซึ่งชาวยิวเองที่ต้องการจะก่อตั้งประเทศของตัวเองอยู่แล้ว จึงรับปากว่าจะเข้ามาช่วยในสงครามครั้งนี้ด้วย
พอสงครามสิ้นสุดลง อังกฤษซึ่งอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ และจักรวรรดิออตโตมันที่อยู่ฝ่ายมหาอำนาจกลางต้องล่มสลายลง ทำให้ดินแดนปาเลสไตน์ที่เคยเป็นของจักรวรรดิออตโตมัน ตกไปอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิอังกฤษ และ อังกฤษก็ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ พวกเขาอนุญาตให้ชาวยิวย้ายถิ่นฐานเข้าไปอาศัยในดินแดนปาเลสไตน์ได้
ปัญหาคือ การเอาคนยิวไปอยู่ในแผ่นดินที่มีคนอาหรับอาศัยอยู่มานานนั้นมันไม่ง่าย เพราะชาวปาเลสไตน์เดิม เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่ พวกเขาเปรียบเสมือนเจ้าถิ่นที่อยู่ๆ ก็มีชาวยิวซึ่งเป็นคนต่างศาสนาย้ายเข้ามาร่วมอาศัยด้วยเป็นจำนวนมาก นั่นทำให้ชาวปาเลสไตน์เริ่มรู้สึกไม่ปลอดภัยกลัวว่าจะโดนกลืนกิน จึงเกิดการใช้ความรุนแรงเพื่อขับไล่ชาวยิวขึ้น และนี่คือจุดเริ่มต้นของความรุนแรงระหว่างสองเผ่าพันธุ์มาตลอดหลายสิบปี
ช่วงแรก ปริมาณคนยิวมีน้อยกว่าคนอาหรับ แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นาซีเยอรมนีนำโดย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวทั่วยุโรป ส่งผลให้ชาวยิวจำนวนมากต้องหนีตาย อพยพมาอยู่ที่ปาเลสไตน์เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การกระทบกระทั่งกันก็หนักขึ้น
ต่อมาในปี 1947 UN มีมติให้แบ่งปาเลสไตน์ออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือรัฐของชาวยิวและอีกส่วนของชาวอาหรับ โดยเยรูซาเล็มซึ่งเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ของทั้ง 2 ชนชาติ ให้เป็นเมืองเป็นกลาง ไม่ตกอยู่ในความครอบครองของทั้งยิวและอาหรับ แต่ฝั่งปาเลสไตน์ไม่เห็นด้วยเพราะมองว่าการที่แผ่นดินของตนมาถูกตัดแบ่งประเทศกว่าครึ่งให้ชาวยิวแบบนี้ มันไม่ถูกต้อง
ต่อมาในปี 1948 อิสราเอล ได้ประกาศตัวเป็นประเทศเอกราช นั่นแปลว่าพวกเขาจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากอังกฤษอีกต่อไปแล้ว ทำให้ชาวปาเลสไตน์ จับมือกับชาติอาหรับได้แก่ ได้แก่ อียิปต์ เลบานอน ซีเรีย จอร์แดน และอิรัก และได้ยกระดับความขัดแย้งไปเป็นสงครามระหว่าง อิสราเอล ปะทะ ปาเลสไตน์และชาติอาหรับ
ถึงจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากอังกฤษแล้วแต่อิสราเอลเตรียมพร้อมเป็นอย่างดี นอกจากจะป้องกันกองกำลังของชาติอาหรับได้ ยังเป็นฝ่ายตีโต้กลับไป และสามารถยึดครองดินแดนชาติอาหรับบางส่วนได้อีกด้วย เอาง่ายๆ สงครามความขัดแย้งนี้อิสลาเอลชนะ แต่ละประเทศต้องยอมทยอยเซ็นสัญญาสงบศึกกับอิสราเอล และผลจากสงครามในครั้งนี้ ปาเลสไตน์เสียดินแดนของตัวเองไปบางส่วน
กลับมาที่ชาวปาเลสไตน์ กลายเป็นว่าพวกเขาตกที่นั่งลำบากยิ่งกว่าเดิม แผนแบ่งดินแดนของ UN ถ้ายินดียอมรับแผ่นดินไป ก็ยังจะได้พื้นที่ 44% ของแผ่นดินเดิม แต่เมื่อใช้วิธีทำสงครามแล้วแพ้ก็เลยกลายเป็นว่าดินแดนของตัวเองก็โดนยึดไปอีก จนแทบจะไม่เหลือแผ่นดินให้ตัวเองอยู่
เมื่อทำสงครามเต็มรูปแบบแล้วเอาชนะไม่ได้ จึงกลายมาเป็นจุดกำเนิดของ ‘องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO)’ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเรียกร้องดินแดนแต่เดิมของตนคืน แต่เปลี่ยนวิธีมาใช้การสู้รบแบบกองโจรแทน
Six Days War
ปี 1967 ได้เกิดสงครามครั้งใหญ่อีกครั้ง จากการที่อิสราเอลไม่พอใจประเทศรอบข้าง ที่ให้การสนับสนุนองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นกลุ่มทหารแนวกองโจร ในการเข้ามาก่อความวุ่นวายในอิสราเอล
สงครามครั้งนี้ถูกเรียกว่าเป็น “สงคราม 6 วัน” จากการที่อิสราเอลสามารถเอาชนะได้ภายในเวลา 6 วัน และยังได้ดินแดนในฉนวนกาซ่าและเขตเวสต์แบงค์ รวมถึงดินแดนบางส่วนของอียิปต์และซีเรียเพิ่มเข้ามา
ทำให้ฝั่ง PLO เริ่มยอมรับความจริง และเปลี่ยนท่าที จากเดิมต้องการใช้ความรุนแรงไล่ชาวอิสราเอลออกไปให้หมด กลับกลายเป็นว่า ยอมรับการแบ่งดินแดนตามมติเดิมของ UN ในปี 1947
ทว่าชาวปาเลสไตน์กลุ่มหนึ่งมองว่า PLO มีท่าทีประนีประนอมเกินไป และไม่ได้ยึดถือกับกฎระเบียบของศาสนาอิสลาม ดูจากสถานการณ์แล้วคงยากที่ปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้ จึงได้มีการก่อตั้งกลุ่มใหม่ขึ้นมาอีกกลุ่มในชื่อ “กลุ่มฮามาส”
กลุ่มฮามาสใช้วิธีส่งมือระเบิดพลีชีพเข้าไปก่อเหตุในอิสราเอลหลายครั้ง ซึ่งก็ยิ่งทำให้การเจรจาสันติภาพดำเนินต่อไปได้ยากลำบาก เพราะชาวอิสราเอลเองก็รู้สึกโกรธแค้นกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการโจมตีของกลุ่มฮามาส
จุดเริ่มต้นความขัดแย้งคือ อิสราเอลและปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิ์ในการครอบครองดินแดนเดียวกัน โดยมีการยกประวัติศาสตร์และความเชื่อทางศาสนาเพื่อเคลมว่าตนเองมีสิทธิ์ครอบครองโดยชอบธรรม กลายเป็นความขัดแย้งที่แสนซับซ้อนและความเกลียจชังที่มีต่อกันมาอย่างนานถึง 800 ปี นับจากสงครามครูเสด
---
อ้างอิง
Point of View :
https://youtu.be/If6ASlJkmig?si=jRte3LdAWokzeXG7
Workpoint Today :
https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fworkpointtoday.com%2Fexplainer-israel-palestine%2F&h=AT0NON8Le0kS4VHVYHwz1RE7xECSbyU2GKZnbHAyVwuAg3gcFPVpoBWpy7eBttcrWU3nOotNwIIQVDeF9liUmCBeYF-5lepg-xMyP4P8qH1MdBk647qDnL1SLd6Bw3wH9-hsnCmy7BCEG3M&s=1
Way Magazine :
https://waymagazine.org/humans-vacca-vaccines/
1 บันทึก
2
5
1
2
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย