เช่น ถ้ามีคู่แข่งคือบริษัท B อยากเข้ามาแข่งขันในตลาดสินค้า C แต่ต้นทุนในการผลิตสินค้า ไม่ได้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าบริษัทดั้งเดิม ที่อยู่มาก่อนอย่างบริษัท A
บริษัท A ที่ไม่ต้องการให้บริษัท B เข้ามาแย่งลูกค้า ก็อาจจะกำหนดกลยุทธ์ โดยการลดราคาสินค้าลง
เพื่อดึงดูดลูกค้าให้มาซื้อสินค้าของบริษัท A แทนที่จะซื้อสินค้าของบริษัท B
และเมื่อบริษัท B ไม่สามารถทนต่อการขาดทุนได้นาน บริษัท B ก็อาจจะต้องเลือกออกจากตลาดไป
ตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นว่า อุตสาหกรรมที่บริษัท A อยู่นั้น มี Barrier of Entry สูงมาก
จนทำให้บริษัท A แทบจะสามารถผูกขาดตลาดได้อย่างเบ็ดเสร็จ
หรือก็คือการนำค่า Return on Invested Capital (ผลตอบแทนของเงินลงทุน) มาลบด้วย Opportunity Cost of Capital (ค่าเสียโอกาสของเงินทุน)
สำหรับใครที่ยังไม่รู้ Return on Invested Capital สามารถคำนวณได้ ด้วยการนำกำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษี หารด้วยเงินลงทุน โดยเงินลงทุนคือ การนำส่วนผู้ถือหุ้น มาบวกกับหนี้สินระยะยาว
สำหรับ Opportunity Cost of Capital ก็คือ ต้นทุนค่าเสียโอกาส หรือก็คือทางเลือกการลงทุนอื่นของบริษัท ที่อาจให้ผลตอบแทนมากกว่า หรือน้อยกว่าการลงทุนในปัจจุบัน