Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เป็นศรี เวียงน่าน
•
ติดตาม
29 พ.ย. 2023 เวลา 09:07 • ศิลปะ & ออกแบบ
ผ้าซิ่นม่านไทเหนือ (ผ้าโบราณ หายาก)
ในกรุสะสม รศ.ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าและสิ่งถักทอไท)
รศ.ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล กล่าวว่า "ซิ่นม่าน" หรือ "ซิ่นลื้อ" เป็นซิ่นชนิดหนึ่งที่ค่อนข้างหายากของชาวไทเหนือ แขวงหัวพัน สปป.ลาว ที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวไทลื้อ ลักษณะเป็นซิ่นเย็บ 2 ตะเข็บ ลายขวางเป็นลายจก(ลายขอ) สลับลายริ้ว การใช้สีในลายริ้วคล้ายคลึงกับซิ่นลื้อเมืองแบง (ซิ่นบ้านญ้อ) ตีนจกทอต่อเนื่องเป็นลายรูปสัตว์ในตำนาน คำเรียกชื่อ "ซิ่นม่าน" นี้คล้ายชื่อเรียกซิ่นเมืองน่าน แต่โครงสร้างไม่เหมือนกัน มีนัยว่าอาจหมายถึงซิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน (และไม่ได้หมายถึงพม่าแต่อย่างใด)
รศ. ทรงศักดิ์ ยังให้ข้อสันนิษฐานเพิ่มเติมว่า "ม่าน" หมายถึงคำที่บ่งบอกว่ามาจากที่อื่น/ชาติพันธุ์อื่น/ความเป็นอื่น เหมือนคำเรียกว่า แขก/กุลา/ขอม/ลาว/เม็ง/ม่าน ที่ล้วนหมายถึง "ผู้อื่น" (มิใช่เรา) ทั้งสิ้น ดังนั้นซิ่นม่านจึงเป็นซิ่นจากที่อื่นที่เรารับมาอีกที ดังตัวอย่างถงย่ามแบบลับแลงที่เรียกว่า "ถุงกุลา" ก็น่าจะหมายถึงรับรูปแบบมาจากที่อื่น (สังเกตไหมว่าถงกุลาลักษณะการตกแต่งคล้ายถุงกะเหรียงมากเลย)
ความลงตัวในการใช้สีพื้น ให้เป็นโทนสีเข้ม ดำ ตัดกับลวดลายจกที่ใช้โทนสีสว่างขาว สลับสีสัน ทำให้เกิดเป็นลวดลายที่มีความคมชัด โดดเด่น งดงาม และสมดุล
สามารถแชร์ข้อมูลได้
แต่ขอสงวนสิทธิ์ในการคัดลอกข้อมูล เพื่อไปใช้ในงานส่วนตัว ก่อนการได้รับอนุญาตทุกกรณีครับ
.
อ้างถึงสิทธิในลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันที นับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงานออกมาโดยไม่ต้องจดทะเบียน หรือผ่านพิธีการใดๆ
หนังสือ
เรื่องเล่า
ความรู้รอบตัว
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย