29 พ.ย. 2023 เวลา 14:42 • ธุรกิจ

“ D A T A S T O R Y T E L L I N G “

ส ร้ า ง ส ร ร ค์ เ รื่ อ ง เ ล่ า จ า ก ข้ อ มู ล
“เชื่อว่าหลายคนคงต้องเล่าเรื่องปิดท้ายปีกัน!”
น่าจะพอใช้เป็นไอเดียกันได้บ้าง!
อ่านย้อนหลังบทความเก่า STORY TELLING
เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 กันได้นะครับ
มารู้จัก 4Ds ใน Data Storytelling ในการ
สร้างสรรค์เรื่องเล่าจากข้อมูล
 
Data นั้นอยู่ในทุก ๆ ที่ในตอนนี้และการใช้ Data ก็เพิ่มขึ้นอย่างมากด้วยการใช้งาน Al ที่กำลังเป็นกระแสในตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในการหา insight หรือการทำ Visualization แต่อย่างไรก็ตามการแปลผลและการเล่าเรื่องเพื่อขายข้อมูล ความเหมายของ Data นั้นยังคงเป็นเรื่องยาก เพราะต้องใช้การเล่าเรื่องในเชิงศิลปะอย่างมากซึ่งยากที่ Al จะมาทำงานตรงนี้แทนได้
ด้วยการที่ว่าการเล่าเรื่อง Data นี้ “ต้องสื่อไปถึงกลุ่มเป้าหมายที่อยากให้เข้าใจ Data ที่กำลังจะสื่อสาร” การเล่าเรื่อง Data นี้จึงจำเป็นอย่างมากที่จะสามารถสร้าง“ความน่าเชื่อถือ” ความเชื่อมั่นในคนที่เกี่ยวข้องกับ Data นี้ให้เชื่อในความหมายของการแปลผล Data ที่กำลังเล่า การที่เล่าเรื่อง Data โดยไม่ได้เตรียมวิธีการเล่ามา ไม่ได้ต่างอะไรกับการเป็นนักทำนายที่ไม่ได้“เข้าใจว่าคนฟังอยากได้ยินอะไร” เพื่อที่จะช่วยให้การทำ Data Storytelling นั้นง่ายขึ้น การใช้ 4D Framework จะมีส่วนช่วยอย่างมากให้คนทำ Data
เข้าใจในการเล่าเรื่องที่มีประสิทธิภาพและได้ผลมากยิ่งขึ้น ซึ่ง 4D Framework ได้แก่ 1. Define 2. Displays 3.Declutter และ 4. Direct
1. Define เป็นขั้นแรกของการเล่าเรื่องทั้งหมด โดย
เป็นการดูว่าจะเล่าเรื่องแบบไหน เล่าเรื่องอะไร ซึ่งในวิธีการนี้ไม่ต่างอะไรกับการแต่งบทละคร หรือแต่งนิทาน ที่จะต้องมีเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับเบื้องหลังของเรื่องราว ตัวละคร และ Plots เรื่องเพื่อทำให้เรื่องราวนี้ดูน่าสนใจและมีข้อมูลที่ทำให้คิดต่อ หรือเข้าใจต่อได้ โดยวิธีการ Defineนั้นแยกย่อยออกเป็น
1.1 Setting คือ “การหาความน่าสนใจจากผลการวิเคราะห์ Data นั้น” และทำการ“สร้างบริบทของเรื่องราว”นั้นก่อน โดยการสร้างบริบทสามารถสร้างได้“จากกลุ่มเป้าหมายที่จะต้องได้รับ Data” นั้นไป ว่า“ควรจะได้เรื่องราวในการฟัง Dataนั้นไปอย่างไร” จากนั้น“หา What และ Why” ในเรื่องราวที่ทำไมคนต้องมาสนใจ Data ตัวนี้ “เพิ่มด้วย Action points ว่าจากนั้นควรทำอะไรต่อไป”
1.2 การเข้าใจ “Characters” โดยการเข้าใจว่า “Audiences คนฟังเป็นใครและเกี่ยวข้องอย่างไรกับคุณ” การเข้าใจ audience จะทำให้การสร้างการสื่อสารต่าง ๆ นั้นถูกต้องว่าควรจะเล่าเรื่องแบบไหนขึ้นมา หรือความเกี่ยวข้องกับคุณว่า รู้จักกับคุณมากน้อยเพียงไหน ที่จะทำให้การเล่าเรื่องนั้นดีได้
1.3 Plots คือเรื่องราวของคุณที่จะเล่าไป โดยใช้วิธีการ
ของการสร้างบทละครที่เรียกว่า three-act story ที่
ประกอบด้วย Setup ของเรื่องราวที่ว่าด้วย Background ของเรื่อง และผ่านการเดินทางที่เริ่มมีปัญหาจนมาเป็น Conflicts ที่ต้องได้รับการแก้ไข จนมาถึงวิธีการแก้ไข หรือการกระทำอะไรบางอย่างเพื่อสุดท้ายจะได้คลี่ปมที่ได้บทสรุปออกมา
2. Display เป็นขั้นที่ 2 หลังจากได้โครงเรื่องราวมา ด้วย
การที่ Data Story นั้นประกับด้วย narrativeและ Visual
เช่นสไลด์หรือกราฟ การเลือก Visual ที่สามารถเอามาเล่า
เรื่องให้ได้ดีนั้นเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก
ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Line Plots ที่เหมาะในการนำเสนอตัวแปรที่มีการเปลี่ยนแปลงต่อเวลา Pie Plots ที่เหมาะ กับการนำเสนอ
ว่าตัวแปรนั้นประกอบด้วยอะไรบ้างหรือมีสัดส่วนอย่างไร
บ้าง Bar Plots ใช้ในการนำเสนอการเปรียบเทียบระหว่าง
กลุ่มก้อนด้วยกัน Scatter Plots เหมาะกับการเล่าเรื่อง
ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ค่าที่ไม่น่าเกี่ยวข้องกันเลย ทำให้
เห็น Pattern ได้ ตารางช่วยในการอธิบายรายละเอียดของ
Data และการใช้ข้อความ เพื่อใช้ในการสื่อสารที่ต้องการ
เน้น
3. Declutter เป็นขั้นที่ 3 ที่คือการตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออก
ไป เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถจดจำในสิ่งที่สำคัญขึ้นมา
ได้ หลักการนี้ใช้วิธีคิดของ Less is more ในการเล่าเรื่อง
ที่จำเป็น
“ไม่จำเป็นต้องเล่ารายละเอียดที่ไม่เกี่ยวกับคนฟัง”
หรือไม่เกี่ยวกับเป้าหมายที่ต้องการมา แต่เล่าสิ่งที่กลุ่มเป้า
หมายคนฟังจำเป็นต้องรู้ หรือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่คนฟัง
ต้องได้กลับไป เช่นการนำเสนอ Data การเล่ารายละเอียด
วิธีวิเคราะห์หรือการได้มาซึ่ง data อาจจะไม่จำเป็นเท่าว่า
data นั้นกำลังสื่ออะไร หรือกำลังบอกอะไรออกมาวิธีการที่
ดีในการตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกคือการเอาอะไรที่ซ้ำ ๆ ออกไป
เหลือแต่เพียงใจความหลักอย่างเดียว และเมื่อนำเสนอด้วย
ข้อมูลที่ไม่เยอะ จะทำให้กลุ่มเป้าหมายจำข้อมูลได้ดีมากขึ้น
4. Direct เป็นขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนสุดท้าย คือการโน้ม
น้าวการเข้าใจ Data นั้นให้ตรงกับคุณ หรือการสื่อสารเพื่อ
ให้ได้เป้าหมายในการเข้าใจ Data นั้น ๆ ออกมา ซึ่งสามารถ
ทำได้อย่างง่ายได้ โดยการช่วยให้กลุ่มเป้าหมายที่ฟัง Data
นั้นสนใจในสิ่งที่ควรสนใจ โดยการ เอาสิ่งที่เป็นสิ่งรบกวน
นั้นออกไปเหลือแค่สิ่งที่ต้องเข้าใจอย่างเดียว การ
highlight ข้อความสำคัญ และ พูดเร็วและช้า ที่จะทำให้คน
นั้นสนใจได้
#storytelling
#DataStorytelling
โฆษณา