Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
AIA Thailand
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
6 ธ.ค. 2023 เวลา 02:00 • สุขภาพ
3 โรคที่มาพร้อมกับการทำงานหนักที่คุณอาจไม่รู้ตัว!
เมื่อเข้าสู่วัยทำงาน คนส่วนใหญ่มักจะสนใจการทำงานอย่างหนักหน่วงจนละเลยสุขภาพของตัวเอง ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ ไม่รักษา ซึ่งที่เป็นอย่างนั้นเกิดจากความคิดที่ว่าตัวเองยังแข็งแรงดี ทำงานได้แบบสบาย ๆ …อย่างไรก็ตามการที่เราทำงานหนักแม้อยู่ในวัยที่แข็งแรง ก็อาจเกิดโรคขึ้นมาได้โดยที่คุณไม่รู้ตัว! 😷
โรคที่เกิดจากการทำงานหนักมีหลากหลายรูปแบบทั้งโรคทางจิตใจ และโรคทางร่างกาย หรืออาจรวมไปถึงโรคที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต โดยโรคที่ได้ยินกันบ่อย ๆ คือ โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด รวมถึงอาการอักเสบต่าง ๆ แต่นอกจากโรคสุดฮิตนี้ ก็มียังมีอีก 3 โรคที่ควรจะต้องระวังกัน ได้แก่
1) โรคเครียดลงกระเพาะ - เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากความเครียดที่สะสมมากเกินไป ซึ่งต้นเหตุส่วนหนึ่งมาจากการทำงานหนัก และเมื่อมีความเครียดสะสมก็จะทำให้กระเพาะหลั่งน้ำย่อยมากกว่าปกติ ส่งผลให้โรคกระเพาะกำเริบ มีอาการเสียดหน้าอก คลื่นไส้ นอนไม่หลับ
โดยวิธีป้องกันเบื้องต้นของโรคนี้ คือการกำจัดต้นตอของความเครียด เช่น ลดงานที่หนักให้เบาลง ที่สำคัญต้องควบคุมการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา หลีกเลี่ยงของทอด ของมัน เพื่อเป็นการลดภาระการทำงานของกระเพาะด้วย
2) โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ - อีกหนึ่งโรคยอดฮิตของคนวัยทำงานที่สาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เป็นโรคที่กระเพาะปัสสาวะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งต้นเหตุอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบเห็นกันบ่อยคือ การกลั้นปัสสาวะนานเกินไป เช่น ทำงานจนลืมเข้าห้องน้ำ ไม่ชอบลุกไปห้องน้ำขณะมีธุระ หรือการที่เลือกดื่มกาแฟแทนน้ำเปล่า จนไม่มีน้ำเพียงพอที่จะขับเชื้อโรคออก ทำให้แบคทีเรียสะสมอยู่ในร่างกายจนเกิดเป็นโรคในที่สุด
3) ภาวะ Burnout Syndrome - อาการของโรคนี้เป็นผลทางจิตใจที่ส่งผลต่อร่างกาย โดยเป็นภาวะที่เกิดจากความรู้สึกที่หมดไฟ ท้อแท้ และขาดการพักผ่อนจนส่งผลต่อจิตใจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อไปยังสุขภาพร่างกาย ทำให้เกิดอาการสมองไม่แล่น ความจำไม่ดี มีอาการนอนไม่หลับ ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน และรู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุขกับการทำงาน หากปล่อยทิ้งไว้ในระยะยาวอาจจะแปรเปลี่ยนกลายเป็นอันตรายได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคทางจิต
นอกเหนือจาก 3 โรคที่ได้กล่าวไป สิ่งที่ควรระวังที่สุดคืออาการขั้นรุนแรงที่มีผลต่อชีวิต อย่างการเกิดภาวะคาโรชิ (Karoshi Syndrome) หรือ ภาวะทำงานหนักจนเสียชีวิต ที่สาเหตุหลักมาจากการทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง ร่างกายไม่ได้พักผ่อน จนกระทั่งเกิดการกระตุ้นให้สมองหลั่งฮอร์โมนแคททีโคลามีน (Catecholamine) และฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ออกมาในเลือด จนมีภาวะต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดสูง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้เสียชีวิตในที่สุด
🚑 ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคหรือภาวะที่อันตรายต่อสุขภาพ เราจึงควรที่จะหันมาใส่ใจสุขภาพให้มากขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและหลักคิดในการทำงานเสียใหม่ ดังนี้
- อย่าคิดว่าการทำงานหนักหรือทำงานโต้รุ่งเป็นเรื่องปกติ ระหว่างทำงานควรพักสมองเป็นระยะ
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟู
- แบ่งเวลาในชีวิตอย่างเหมาะสม ให้เวลากับการทำงาน พักผ่อน และกิจกรรมส่วนตัวด้วยสัดส่วนที่พอดี
3
เพียงแค่เริ่มต้นจากการตระหนักรู้ถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น ไม่ละเลยจนปล่อยให้กลายเป็นความเคยชินจนเกินไป เท่านี้ก็สามารถห่างไกลจากโรคและห่างไกลจากอันตรายจากการทำงานหนักแลัว 💪
1
ขอบคุณข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข
ติดตาม Community AIA Thailand ได้ที่
https://www.blockdit.com/aiathailand
aiathailand
สุขภาพ
ประกันชีวิต
7 บันทึก
13
14
7
13
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย