30 พ.ย. 2023 เวลา 11:35 • การศึกษา
ขุนแผน จะว่าเป็นสามัญชนเสียทีเดียวผมว่าก็ไม่ถูกนักเพราะพ่อเป็นขุนนาง(รับราชการ )ดังนั้น คงไม่แปลกนักหากแม้ว่าตั้งแต่สมัยเด็กเจ้า "พลายแก้ว" จะต้องได้รับการอบรมหรือหัดเรียนเขียนอ่านในระดับที่อย่างน้อยๆ แม่ของเขาพอจะมอบให้เขาเองได้ ซึ่ง คงต่างอย่างลิบลับเลยล่ะกับคนชนชั้นไพร่ นี่ประการที่หนึ่ง
ประการต่อมา วัดยังๆ ก็ถือเป็นสถานศึกษาในสมัยก่อน หากจะพูดกันในสมัยนี้ ผมคิดว่ามันไม่ใช้แค่ระดับ "โรงเรียน" แต่มันคงเป็นทุกระดับอยู่ในตัวเลยทีเดียว (ประมาณว่าเป็นม.ที่มีการเปิดสอนตั้งแต่ระดับมัธยมไปยันอุดมศึกษาเลยทีเดียว) แต่แน่นอนว่าก็คงจะต่างกันไปตามวัดใหญ่วัดเล็ก วัดในเมืองหรือวัดบ้านนอก ซึ่งทีนี้วัดเลไลยที่ขุนแผนเรียนนั้นเข้าใจว่าคงเป็นวัดใหญ่ประจำเมืองสุพรรณเลยทีเดียว(แม้ตามเรื่องก้ตาม) ดีมิดีอาจจะวัดที่โด่งดังในวิทยาคุณบางด้านเลยก็เป็นได้ (หากเป็นสมัยนี้คงประมาณ ว่า
ม. ดังๆ ประจำหัวเมืองใหญ่ๆ อย่างเชียงใหม่ ขอนแก่น โคราชอะไรอย่างงี้ไปเลย) ดังนั้นผมคิดว่า จึงไม่แปลกนักที่อาจารย์ของขุนแผนจะช่ำชองในศิลปะวิทยาการของคนยุคนั้น จริงอยู่ว่า ถึงความรู้วิทยาบางส่วนและอาจจะส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในเมืองหลวง แต่มันก็เหมือนสมัยนี้ใช่มั้ยล่ะครับ ถึงเราจะมีหอสมุดแห่งชาติหรือม.ดังๆ ในกรุงเทพฯ ที่เป็นแหล่งสะสมวิชาความรู้ของคนยุคนี้ แต่ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็ยังจะมีห้องสมุดของตัวเองใช่มั้ยล่ะ ผมคิดว่ามันก็คงจะเป็นอะไรประมาณนั้นแหละ
สรุปความเห็นของผมต่อคำถามนะครับ ผมคิดว่าการเข้าถึงวิชาความรู้ของสังคมไทยสมัยก่อนนั้น "ยาก" อย่างแน่นอนสำหรับคนชนชั้น "ไพร่" และก็คงจะมีการกีดกันคนชนชั้นไพร่จากการเข้าถึงวิชาความรู้ด้วย(เดี๋ยวพวกมันจะกำเริบเสิบสาน) แต่สำหรับคนชั้นเจ้านาย ขุนนาง หรือคนที่ร่ำรวยนั้นคิดว่าคงไม่ยากนักในการเข้าถึงวิชาความรู้ (มันก็เหมือนสมัยนี้แหละ 555) เหมือนอย่างที่ในเรื่องพระอภัยมณี(พอดีอ่านเจอพอดี 555)ตอนหนึ่งก็กล่าวว่า
เพราะหวงแหนกำชับไว้คับขัน
ใช่ประสงค์ตรงทรัพย์สิ่งสุวรรณ
จะป้องกันมิให้ไพร่ได้วิชา
ต่อกษัตริย์เศรษฐีที่มีทรัพย์
มาคำนับจึงได้ดังปราถนา
ตอนที่พระอภัยมณีไปหาเรียนวิชากับอาจารย์
โฆษณา