และหากเรามองย้อนกลับไปในช่วงยยุค 70s ชีวิตของครอบครัวคนจนก็ได้นำเสนอขึ้นเช่นกันผ่านบทละครเรื่อง Curse of the starving class ของ Sam Shepard ในจุดนี้เราจะเห็นได้ว่ายุคสมัยที่เปลี่ยนไป เรื่องราวและปัญหาความยากจนยังคงเป็นที่ถกเถียงกันเสมอมารวมถึงเป็นสิ่งทีีไม่มีวันจบสิ้นไปเสียที
ถ้าหากคนจนมันมีตังขึ้นมาใครกันจะมาทำงานให้คนรวย ซึ่งความจนที่ทุกคนหลีกเลี่ยงได้ถูกพูดหลายครั้งผ่านตัวละครเอลล่าในบทละคร Curse of the starving class ที่หล่อนพยายามจะบอกตัวเองเสมอว่าครอบครัวตนไม่ได้จนขนาดนั้น พวกเขายังมีกินมีใช้ได้อยู่ ทั้ง ๆ ที่ตนเองหิวมากจนต้องขโมยไก่ที่ลูกสาวจะนำไปสาธิตการผ่าไก่ในงานโรงเรียนมาต้มซุปกินรวมถึงตู้เย็นที่ตั้งอยู่ ไม่ว่าใครจะเปิดมันก็จะพบแต่ความว่างเปล่า
อำนาจเงินที่ต้องจำใจเสียของสำคัญ ใน Curse of the starving class เห็นได้ชัดเจนว่าหลังยุคสงครามเย็น ประเทศมหาอำนาจอย่างสหัรฐอเมริกาได้ให้ความสำคัญกับธุรกิจและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มากและลดความสำคัญกับการเกษตรน้อยลงจนชาวเกษตรกรต้องจำใจขายที่ดินส่วนตัวและที่ดินทำมาหากินให้กับนายทุนใหญ่เพื่อเลี้ยงชีพในอนาคต รวมทั้งต้องมาใช้แรงงานให้กับนายทุนผ่านการโดนกดขี่ทั้งแรงงานและเงินค่าจ้าง ทำให้เห็นว่าอำนาจเงินนั่นมีความสำคัญมากแค่ไหน