4 ธ.ค. 2023 เวลา 05:22 • เกม

Evenfall (2023) Designer: Stefano Di Silvio

Evenfall ถือเป็นเกมดาวรุ่งเกมหนึ่งในงาน Spiel Essen 2023 ที่ผ่านมา ด้วยความที่เกมได้รับเสียงรีวิวที่ค่อนข้างดี และยังเป็นเกมจาก designer หน้าใหม่ ที่ทำเกมแรกมาก็ปังเลย เป็นเกมที่ยิ่งเล่น ยิ่งอยากค้นหา และอยากให้มี Expansion มากๆ ไม่ใช่เพราะมันไม่สมบูรณ์นะคะ แต่ว่าเราสัมผัสได้ถึง potential แห่งความก้าวหน้าของเกมนี้ต่างหาก
“Gather your Clan, use arcane rituals and Seize Power”
เกมเล่าเรื่องราวการเตรียมตัวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ของเหล่านักเวทย์ เมื่อทางเชื่อมสู่ดินแดนแห่งพลังเหนือธรรมชาติถูกเปิดขึ้น เราผู้ซึ่งรับบทบาทเป็นผู้นำแห่งเผ่านักเวทย์แต่ละเผ่า ต่างต้องการออกเดินทางไปสู่ดินแดนใหม่นั้น เพื่อจับจอง ครอบครองพื้นที่อันเต็มไปด้วยพลังเหนือธรรมชาติ ต่อสู้กันกับเผ่าอื่นๆ แย่งชิง Power stones มาใช้งาน และการตักตวงทรัพยากรอันมีค่าจากดินแดนใหม่นี้ให้ได้มาก จะช่วยส่งเสริมให้พิธีกรรมสำคัญในเผ่ามีอำนาจสูงขึ้น จนนำเราไปสู่การเป็นผู้นำแห่งบัลลังก์เวทมนต์
Concept and mechanic:
เกมใช้ mechanic สำคัญเป็น tableau building ร่วมกับ worker placement เล่นแค่ภายในระยะเวลา 3 รอบ ซึ่งขอบอกเลยว่ามันจะเป็น 3 รอบที่เข้มข้น และขับเคี่ยวกันทำทุกอย่างให้คุ้มค่ามากที่สุดก่อนที่เวลาของเราจะหมดลง
หลักการภาพรวมคือ เราต้องสร้าง place of power (สถานที่ศักดิ์สิทธิ) ไว้ในพื้นที่ของเรา และเสริมพลังความสามารถของสถานที่แต่ละแห่งด้วยการสร้างการ์ด Ritual ไว้ลงบนสถานที่ซึ่งมันอาจกลายเป็นแหล่ง resources, เป็น passive ability, เป็นช่อง action ส่วนตัว และที่สำคัญที่สุดคือ เป็นแต้มจบเกม
แต่ทว่าพื้นที่ของเราจะต้องถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ 1) ที่อยู่ของการ์ด specialist ที่สามารถมอบ passive ability และแต้มเล็กๆ น้อยๆ ได้ 2) ที่อยู่ของเหล่าการ์ด council ซึ่งทำหน้าที่หลักในการสร้างแต้ม end game 3) บริเวณ Outer circle ซึ่งก็คือที่เริ่มต้นที่เราจะไปนำพาสถานที่ศักดิ์สิทธิเข้ามาครอบครอง ที่นี่เราจะสามารถสร้างพิธีกรรมต่างๆ เก็บเกี่ยว resource ระหว่างเกมได้ แต่สถานที่เหล่านี้จะไม่มีวันสร้างแต้มให้คุณได้เลยจนกว่าคุณจะดึงสถานที่เหล่านี้เข้าสู่วงใน! นั่นคือพื้นที่ที่ 4) Inner circle
ความแตกต่างของ inner circle vs outer circle ก็คือ สิ่งใดก็ตามที่อยู่ใน inner circle แล้ว จะสามารถกลายเป็นแต้มได้ แต่ทุกอย่างที่ถูกทิ้งอยู่ outer circle จนจบเกม จะไม่มีแต้มเกิดขึ้นเลย และจุดเด่นสำคัญอีกอย่างคือ ในบริเวณ inner circle เราจะสามารถใช้ worker พิเศษ ที่เรียกว่า the Elder มาทำงานในช่อง action ส่วนตัวได้ (ซึ่งใช่ค่ะ พวกเค้าเป็นพ่อมดผู้ทรงวุฒิ แต่ว่าแก่แล้ว ไปไหนไม่ค่อยไหว ถ้าจะให้ช่วยทำพิธีกรรมอะไร ช่วยดึงสถานที่นั้นมาไว้วงในด้วย 🤣)
แต่ในพื้นที่ outer circle ก็ยังสามารถเอา worker ธรรมดาที่เรียกว่า the witch มาทำงานได้ แต่ว่าพวกเค้ายังอายุน้อย และมีงานที่ต้องทำเยอะเหลือเกิน
จริงๆ หน้าที่หลักของพวกเค้าคือการเดินทางออกไปในดินแดนใหม่ที่ถูกเปิดทางเข้าผ่าน The World-Tree แล้วออกสำรวจ แย่งชิงพื้นที่กับเผ่าอื่นๆ ใน region ต่างๆ แต่ด้วยจำนวน the witch ที่มีอยู่จำกัด ถ้าจะให้พวกเค้าต้องทำหน้าที่ทั้งในเผ่า และนอกดินแดนของเผ่า ก็จะตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากได้ การโยกย้าย place of power เข้าสู่ inner circle ให้ the elder ได้ทำงานแทน จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างนึงของเกมด้วย
และเมื่อเราวนกิจกรรมการออกสำรวจตามหา place of power, ต่อสู้แย่งชิงพื้นที่, สร้างการ์ดพิธีกรรมต่างๆ และรวบรวมบรรดาการ์ดนักเวทย์มาเป็นพรรคพวกได้มากพอภายใน 3 รอบ ทุกอย่างก็จะจบลง และนับคะแนนจาก card engine ทั้งหลายที่เราค่อยๆ สร้างมา
ความสนุกของเกมอยู่ตรงการสร้าง engine ด้วยการ์ดนี้แหละค่ะ รอบแรกอาจจะจบลงอย่างรวดเร็วมากเพราะเรายังไม่มี resources ไม่มี engine ของการ์ดที่ดีพอ แต่เมื่อเราเริ่มสร้างอาณาจักรพิธีกรรม และกองทัพนักเวทย์มาได้ตอนรอบสุดท้ายที่ทุกคนเครื่องติด มันจะเป็นช่วงที่ขับเคี่ยวกันมากๆ หาทางพยามปั๊มแต้ม ทำ action ให้ได้เยอะที่สุดเท่าที่จะยังมีเวลา และ resources เหลือ หากใครวางแผนระบบการ์ดในบ้านตัวเองดี ตอนนี้จะเป็นการระเบิดคอมโบที่สนุกสนานเลยทีเดียวค่ะ
อีกส่วนที่ทำให้เกมน่าสนใจก็คือ เผ่าต่างๆ ในเกมจะมีความสามารถพิเศษที่ใช้ได้ตลอดเกม และไม่เหมือนกันเลยมันทำให้เกมน่าสนุก และน่าค้นหา ทุกครั้งที่เล่นหากเปลี่ยนตัวละครไป แนวทางการเล่นก็จะไม่เหมือนเดิม ทำให้เกมมี replay ability ที่ดีพอใช้เลย เสียใจก็แต่ในกล่องนี้มีมาให้แค่ 4 เผ่า (แต่ว่าเกมมี mode ปกติที่ให้ทุกเผ่าไม่มีความสามารถเฉพาะตัวด้วย ความซับซ้อนก็จะลดลง)
ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุผลนึงที่อยากลุ้นให้เกมได้ไปต่อ และมี expansion มากๆ อาจจะเพิ่มเผ่า, เพิ่ม region ที่ต้องไปออกสำรวจ แค่นี้ก็น่าตื่นเต้นแล้ว
จุดด้อยสำคัญของเกมที่อาจทำให้คนไม่ชอบ ก็คงเป็นเรื่องของการต้องอ่านการ์ดปริมาณมาก และดวงของการสุ่มการ์ด ที่เป็นปัญหาสำคัญของทุกๆ card game และเกมก็มี set card เดิมๆ อยู่ปริมาณนึง ซึ่งสมมติว่าดันจั่วได้แต่อันเดิมๆ ที่ไม่ต้องการก็อาจจะเสียอารมณ์ได้เหมือนกัน
ในแง่ของ player interaction ถือว่าอยู่ในระดับกลาง เพราะจริงๆ แล้วแกนหลักของเกมจะอยู่ที่การจัดการการ์ดหน้าบ้าน ในบ้านของเรานี่แหละ ตรงนี้ก็จะสาละวนอยู่กับตัวเองพอตัว
แต่ว่าเกมมีดินแดนของ The World-Tree ที่เป็นส่วนให้ผู้เล่นแต่ละคนมาแย่งการ์ด place of power และยังเปิดโอกาสให้ bidding แย่ง majority ในแต่ละ regions ได้ทุกๆ ครั้งที่จบรอบ โดยจะอาศัยจำนวน worker ที่ส่งมา รวมกับปริมาณ mana ที่เราจะจ่ายเพื่อ bid แย่ง และได้รับ reward ต่างๆ กันไปตามแต่พื้นที่ รวมถึงหากเป็นที่หนึ่งในพื้นที่ไหน ก็จะได้ bonus เป็น power stone ที่สามารถนำมาใช้เพิ่มแต้มการ์ดบางใบตอนจบเกมได้ด้วย
ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วสนใจ อาจจะต้องอดใจรอ เพราะเกมจะวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการใน USA ราวๆ ช่วงฤดูใบไม้ผลิ นั่นแปลว่าในไทย อาจจะลากไปถึง Q3 ด้วยซ้ำ ถึงจะหาซื้อได้ แต่ถ้าใครเป็นแฟน Tableau building card game การได้ลองเกมนี้น่าจะเป็นหมุดหมายนึงที่ควรค่าแน่นอนค่ะ
โฆษณา