Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ
•
ติดตาม
6 ธ.ค. 2023 เวลา 00:17 • ความคิดเห็น
ศูนย์พุทธศาสตร์ศึกษา DCI พระนครศรีอยุธยา
โยมถาม : ศิลปินมองทุกอย่างเป็นสุนทรียะ แล้วในทางพระพุทธศาสนามีบอกไว้ถึงเรื่องสุนทรียะหรือไม่ ?
พระอาจารย์ตอบ : ในทางพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเน้นไปที่สภาวะใจที่ดี ผ่องใส ส่วนสภาวะใจที่ไม่ดี คือ สภาวะใจที่เศร้าหมอง
เราจะเห็นว่า ในทางโลกก็ยังตีความเรื่องความงามของผลงานศิลปะแต่ละชิ้นไม่เหมือนกัน หลักทางพระพุทธศาสนาใช้ได้กับทุกกรณี คือ เมื่อเราเสพสิ่งนั้นทั้งทางการมองเห็น ฟัง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัส แล้วทำให้ใจผ่องใสแสดงว่าเป็นศิลปะ เกิดสุนทรียะทางใจ แต่ถ้าเราเสพแล้วทำให้ใจเศร้าหมอง ขุ่นมัว แสดงว่าสิ่งนั้น ไม่ใช่ศิลปะ ไม่มีสุนทรียะ เพราะไม่ทำให้ใจของเราเจริญ โดยตามหลักพระพุทธศาสนานั้น สภาวะใจที่ผ่องใส หรือเศร้าหมองเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “จิตเต สังกิลิฏเฐ สุคติปาฏิกังขา” แปลว่า เมื่อจิตผ่องใส ไม่เศร้าหมอง สุขคติเป็นที่ไป หมายความว่า ถ้าใจใส พอละโลกไปแล้ว สุขคติคือสวรรค์ หรือกลับมาเกิดเป็นมนุษย์เป็นที่ไปอย่างแน่นอน
ในทางกลับกัน “จิตเต สังกิลิฏเฐ ทุคติปาฏิกังขา” แปลว่า เมื่อจิตเศร้าหมอง ไม่ผ่องใส ทุคติเป็นที่ไป คือ ตกนรก ไปเกิดเป็นเปรตบ้าง อสุรกายบ้าง หรือสัตว์เดรัจฉานบ้าง ได้ไปทุคติแน่นอน
เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะเสพศิลปะ ก็ควรเป็นศิลปะที่ทำให้ใจผ่องใส หากเราอยู่บนโลก เมื่อใจผ่องใสก็มีความสุข หน้าตาอิ่มเอิบ เบิกบาน อารมณ์ดี ทำกิจการงานต่าง ๆ ก็มีประสิทธิภาพ เมื่อตายแล้วก็ไปสวรรค์ แต่ถ้าไปเสพสิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง ผลคือถ้าเราอยู่บนโลก ใจขุ่นมัว เกิดความทุกข์อยู่ข้างใน
บางคนชื่นชอบการดื่มไวน์ บอกว่าเป็นสุนทรียะอย่างหนึ่ง พอดื่มแล้วรู้สึกว่าโก้ดี ดื่มแล้วมีความสุข คิดว่าเป็นสุนทรียะ แต่ความจริงทำให้ใจขุ่นมัว สุขไม่จริง โดนหลอกไปตามค่านิยมสังคมเท่านั้น แล้วพอหลงไปทำเรื่องที่ส่งผลให้ใจขุ่นมัวบ่อย ๆ เข้า พอละโลกก็ไปทุคติเลย
เพราะฉะนั้น วิธีการแยกแยะสุนทรียะที่ดีที่สุด คือ เสพสิ่งที่ทำให้ใจผ่องใส ไม่เศร้าหมอง ความผ่องใสของใจนี้เองคือตัวชี้วัดความสุนทรียะ เป็นศาสตร์ของศิลปะที่แท้จริง
เจริญพร.
พุทธศาสนา
พัฒนาตัวเอง
ข่าวรอบโลก
บันทึก
3
1
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย