7 ธ.ค. 2023 เวลา 01:50 • ความคิดเห็น
ไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไรครับ ส่วนตัวมองว่ามันควรต้องประยุกต์ไปด้วยกัน
1
ถ้ามีความรู้ทางวิชาการอย่างเดียวแต่ไม่มีความอดทน งานก็อาจจะไม่ดีนัก แต่ถ้ามีแต่ความอดทน หนักเอาเบาสู้อย่างเดียว แต่ไม่มีความรู้ทางวิชาการ นั่นก็คืองานใช้แรงงานครับ
1
ผมมีเพื่อนที่เป็น HR มันเคยเล่าให้ฟังว่าเด็กฝึกงานที่มาฝึกที่บริษัทนั้น หากเป็นเด็กจากมหาวิทยาลัยรัฐชั้นนำ (ขอไม่พูดชื่อนะครับ เดี๋ยวดราม่า) จะเก่งมาก วิชาการแน่น แต่ไม่ค่อยอดทนเท่าไร เรื่องเยอะนิดนึง
แต่เด็กจากมหาวิทยาลัยเปิดหรือรองๆ ลงมา (ขอไม่พูดชื่อเช่นกัน) จะพูดง่าย หนักเอาเบาสู้ สั่งให้ทำอะไรก็ทำ ความอดทนสูง
แต่ที่ต่างกันคือเด็กกลุ่มหลังนี้จะหัวช้ามาก ถึงจะไม่เรื่องมาก หนักเอาเบาสู้ แต่สั่งงานทีต้องอธิบายเหนื่อยเลย ต้องย้ำหลายๆ รอบ ไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไร เหมาะกับงานที่รับคำสั่งอย่างเดียว ให้คิด วิเคราะห์ไม่ค่อยได้ และงานที่สั่งถึงจะเสร็จเร็วแต่ก็มักต้องแก้หลายรอบ
ในขณะที่เด็กกลุ่มแรก ถึงจะเรื่องมาก ไม่ค่อยอดทน แต่หัวไว วิชาการแน่น สั่งงานอะไร พูดรอบเดียวก็รู้เรื่องแล้ว งานที่สั่งนั้นเสร็จตรงเวลา และไม่ต้องแก้อะไร ผลลัพธ์ดีกว่าที่คิด แถมยังออกความเห็นว่าตรงไหนของระบบงานต้องปรับปรุง ควรแก้ยังไง คือมองไปข้างหน้าแล้ว ระบบความคิดต่างจากเด็กกลุ่มหลัง
มันบอกว่าถ้าจำเป็นต้องเลือกเข้าทำงานจริงๆ หรือจะเลือกให้ใครเป็นหัวหน้างาน ต่อให้มันจะไม่ชอบขี้หน้าเด็กกลุ่มแรก รำคาญในความเรื่องเยอะของกลุ่มแรก แต่ก็คงต้องเลือกเด็กกลุ่มแรกอย่างเลือกไม่ได้
ดังนั้นที่บอกว่าวิชาการไม่จำเป็นเท่าความอดทน หนักเอาเบาสู้ หรือคุณสมบัติอื่นๆ มันก็อาจจะไม่ใช่ครับ
ถ้าผมจะเลือกคนขึ้นมาเป็นผู้บริหาร ความอดทน หนักเอาเบาสู้ก็สำคัญ แต่ความรู้ทางวิชาการก็สำคัญครับ ถ้าจะเอาแค่อดทน หนักเอาเบาสู้ ผมไปเลือกคนงานคนไหนมาก็ได้ครับ
1
ดังนั้นผมว่ามันสำคัญทั้งคู่นะ เผลอๆ ความรู้อาจจะสำคัญกว่าด้วย
โฆษณา