8 ธ.ค. 2023 เวลา 13:45 • ศิลปะ & ออกแบบ

อ่านจนเจอ ว่า จริงๆแล้ว ชิโนยูโรเปี้ยน(คนไทยยังติด ชิโนโปรตุกีส

เพราะโปรตุเกสตามบันทึกว่าเข้ามาไทยยุคอยุธยา
...แต่เอกสารใหม่ เร็วๆนี้เชิงวิชาการบอก ชาวเวนิส "กรุงศรีอยุธยาในแผนที่ผรั่ง")
.
ของไทยโดยเฉพาะทางใต้ ผมอนุมานเองว่า อาจเป็นแค่ shop house หรือ ฉานเตี่ยน ตามที่หนังสือ เล่มนี้ให้ข้อมูล เพราะ บ้านหน้าแคบ มีช่องทางเดิน(โลเจียหรือ อาเขต)ด้านหน้าที่มี หงอคากี่ โค้งรับน้ำหนักระเบียงด้านบน
.
แล้วอาคารแบบนี้เอกสารไทยมักบอก สมเด็จฯช่วง บุญนาค ไปจดจำมาจากสิงคโปร์ โดยเอกสารสถาปัตยกรรมของมาเลเซีย แยกประเภทได้อย่างน่าสนใจ จนเราอาจจัดในกลุ่มนี้
.
ส่วนของภูเก็ตที่เป็นภาพจำน่าจะสร้างใหม่มาก พวกอาคารหลังโดดนี่ก็น่าสนใจ มีคำเรียกเฉพาะ เช่น แองโกลอินเดียน หรือ อินโดซาราเซนิก(มุกัลโกธิค) ผสมวัฒนธรรมเมืองท่า(แม้บางคนว่าคือรูปแบบเจ้าอาณานิคมกับเมืองขึ้น) ที่เด็ดดวงคือ อาร์เดโค-โมเดิร์น ที่เซี่ยงไฮ้คือต้นฉบับ ทางสงขลาก็มีแนวนี้บ้าง
.
จากชิโนโปรตุภฃกีส(แพร่นิยมจากมาเก๊า) มา ชิโนยูโรเปี้ยน(วงวิชาการสากลไม่รองรับ ในหนังสือ จอร์จทาวน์เกาะปีนัง จากเมืองท่าประวัติศาสตร์สู่เมืองมรดกโลก กล่าว) เป็น สถาปัตยกรรมสรรค์ประสานนิยม
.
ตึกยาว สวนกุหลาบ อาจเป็น shophouse ที่ยางที่สุดในไทย หรือยาวที่สุดในโลก

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา