10 ธ.ค. 2023 เวลา 11:09 • ประวัติศาสตร์

กาลสมัยแม่หญิงเป็นใหญ่ ชายผู้น้อยน้อมคอยบัญชา "เพศสภาพ"

"ได้ลูกสาว หรือได้ลูกชาย?"
"ได้ผู้หญิง หรือได้ผู้ชาย?"
แต่เรามักไม่คุ้นกะอีกคำถาม
"ได้ลูกสาว หรือได้ลูกบ่าว?"
ต้นตอความคิดมาจากสองสำนวน "หญิงเป็นนายชายเป็นบ่าว เจ้าสาวเจ้าบ่าว"
มิติกำกับการเขียนในข่าย "ที่มาและความหมายของคำ" สืบทอดและเสื่อมถอย
อย่างน้อยคำว่า "ลูกสาว" ก็พอจะเป็นหลักฐานใบ้บอก "เพศหญิง"
แน่ละ นัยคำว่า "สาว" ได้ถูกเลื่อนและกลายไปสู่อีกหลายสถานะ
แต่คำว่า "บ่าว" ได้เลื่อนนัยเพศชาย ตกไปเป็นคนรับใช้
และสถานะที่เหลือแปรไปในทิศทาง "วัยหนุ่ม ชายหนุ่ม"
ถ้าลองเดาคงเพราะยังต้องยึดโยงกะสำนวนที่ว่า "เจ้าสาวเจ้าบ่าว"
เพราะหากไม่เหลือเค้ารางในร่างชาย นัยจะเป็นเพียง "คนรับใช้"
ทีนี้ลองจับประเด็นเล่นๆเรื่อง "เพศและสภาพ"
ปัจจุบัน "ผู้หญิงข้ามเพศ ผู้ชายข้ามเพศ" เปิดกว้างประดามี
ไม่ว่าจะได้ "ลูกสาวหรือลูกบ่าว ผู้หญิงหรือผู้ชาย"
"เพศ" เพียงบ่งกายภาพแรกคลอด และจะด้วยปัจจัยจำเพาะใดๆก็ตาม
ครั้นเจริญวัย "เพศทางกายภาพ อาจไม่ตรงกับ สภาพความเป็นเพศ"
ขมวดสั้นชินปาก ศัพท์แสงแห่งสมัยว่า "เพศสภาพ"
คงคลับคล้ายกาลครั้งหนึ่ง "ผู้หญิงเป็นนาย ผู้ชายเป็นบ่าว"
"สาวบ่าว" แรกใช้แยกเพศ จนกลายสถานะบ่งใบ้ "สภาพสังคมแห่งยุคสมัย"
จริงเท็จประการใด ข้อความแวดล้อมชุดไฉน พึงฟังหูไว้หู!!
#นิทานสีเทาเงาสีขาว #ประวัติศาสตร์ใส่กรอบเอสี่ #รับสอนภาษาไทยPrivate
โฆษณา