Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อิโบ๊ะ
•
ติดตาม
10 ธ.ค. 2023 เวลา 13:31 • ปรัชญา
Soft Power เบื้องหลังของกระแสนิยม
เพื่อนๆเคยสงสัยมั้ยว่าในปัจจุบันทำไมสิ่งๆนึงถึงเป็นกระแสได้ ทำไมเราถึงเห็นสิ่งๆนึงทุกวันเลย การเป็นกระแสไม่มีที่มาที่ไปหรอ เราเห็นสิ่งนี้ด้วยความบังเอิญจริงมั้ย หรือมีเบื้องหลังคอยจับวางให้เราเห็นสิ่งนั้นอยู่บ่อยๆจนเราคิดว่ามันเป็น “กระแส”
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ ‘Soft Power’ ที่อาจเป็นเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังทำให้สิ่งๆนึงกลายเป็นกระแส และฮิตติดเทรนด์ขึ้นมาได้
ก่อนอื่นเลยเรามาทำความเข้าใจกับความหมายของมันกันก่อนดีกว่า ‘Soft Power’ คือการใช้อิทธิพลทางวัฒนธรรม การกิน การดื่ม วิถีชีวิต หรือความเชื่อ นำเสนอผ่านสื่อ หรือผลงานในรูปแบบต่างๆ เพื่อโน้มน้าวใจ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด หรือพฤติกรรมให้หันมาสนใจสิ่งเหล่านี้กันมากขึ้น
ยกตัวอย่างเช่นการใส่ฉากร่วมโต๊ะอาหารในซีรี่ย์เกาหลีที่อาหารถูกจัดตกแต่งให้ดูน่ากิน พร้อมกับบรรยากาศ Enjoy ของตัวละครที่ดื่มดำไปกับรสชาติของอาหาร ผู้ชมเมื่อเห็นก็เกิดอารมณ์คล้อยตามอยากลิ้มลองรสชาติอาหารเกาหลีที่ถูกนำแสดงผ่านหน้าจอ หรือจะเป็นการหันมาแต่งชุดไทยตามละครดังที่ออนแอร์อยู่อย่าง ‘พรหมลิขิต’
ภาพการแต่งกายชุดไทยในละคร พรหมลิขิต ขอบคุณภาพจาก https://www.posttoday.com/lifestyle/664817
แล้วมันแตกต่างจาก ‘โฆษณา’ ที่เราเห็นอยู่ตามทั่วไปยังไง ? แน่นอนว่าจุดสำคัญที่ทำให้การโฆษณาแตกต่างกับ ‘Soft Power’ คือเรื่องของ ‘การบอกแบบโต่งๆ’ กับ ‘การบอกค่อยๆเป็นค่อยๆอย่างธรรมชาติและกลมกลืนกับกิจวัตรของมนุษย์’ Soft Power จึงเป็นการนำเสนออย่างลื่นไหล และไม่ทำให้ผู้ชมหรือผู้รับสื่อรู้สึกถูกยัดเยียดที่จะทำตามมากจนเกินไป จึงส่งผลให้ผู้ชมหรือผู้รับสื่อรู้สึกคล้อยตามไปกับความธรรมชาตินี้ นั้นจึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เราเห็นสิ่งๆนึงในชีวิตประจำวันบ่อยๆจากการนำของสื่อที่กำลังทำให้สิ่งๆนั้นเป็นกระแส
ยกตัวอย่างเช่นการสร้างภาพลักษณ์ของตัวละครชายในซีรี่ย์เกาหลีให้มีความเป็นสุภาพบุรุษ ให้เกียรติผู้หญิง ลดการนำแสดงบทบาทที่พระเอกจะกลั้นแกล้งนางเอก การสวนบทบาทนี้ทำให้ค่านิยมในเกาหลีเปลี่ยนไปทีละน้อยเกี่ยวกับสังคมปิตาธิปไตย หรือชายเป็นใหญ่ ผู้ชายในเกาหลีส่วนนึงหันมาให้เกียรติผู้หญิงกันมากขึ้นกว่าแต่ก่อน อาจด้วยความคิดว่าการกระทำแบบพระเอกในซีรี่ย์จะทำให้ภาพพจน์ของตัวเองนั้นดูดีขึ้นก็ดี กระนั้นความจริงของพลังแห่ง Soft Power ก็ค่อยๆกลืนกินและปรับเปลี่ยนสังคมปิตาธิปไตยไปทีละนิดอยู่ดี
ขอบคุณภาพจากภาพยนตร์ What’s Wrong with Secretary Kim (2018)
แต่ Soft Power จะประสบความสำเร็จเป็นวงกว้างไม่ใช่แค่คนๆนึงจะสามารถทำได้ การทำให้สิ่งๆนึงกลายเป็นกระแสติดเทรนด์ขึ้นได้ต้องมีการสนับสนุนจากแหล่งผู้มีอำนาจ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ได้เล็งเห็นถึงพลังเล็กๆจาก ‘วงการบันเทิง’ รัฐบาลและภาคเอกชนเริ่มผลักดันสื่อบันเทิงหลายอย่าง
อาทิเช่น ภาพยนตร์ เพลง ไอดอล ให้มีการใส่วัฒนธรรมอาหาร เครื่องแต่งกาย รวมถึงประเพณี ลงในสื่อบันเทิงโดยมีการสมทบทุนด้วยเงินจากรัฐบาล การตั้งองค์กรต่างๆที่คอยผลักดันวัฒนธรรมต่างๆ จนในที่สุดก็ประสบความสำเร็จด้วยการนำภาพยนตร์สัญชาติเกาหลีคว้ารางวัลออสก้าอย่างเรื่อง ‘Parasite ชนชั้นปรสิต’ นอกจากนี้วัฒนธรรมอาหารของประเทศเกาหลีก็ได้ถูกแพร่หลายออกมาจนทั่วบ้านทั่วเมืองไทยต่างนิยมกิน ‘รามยอน’ และ ‘ปาจากูรี’ หรือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเกาหลีที่ถูกใส่เข้ามาเป็นส่วนนึงในเรื่องปรสิตนี้อยู่พักนึงด้วย
จาปากูรี ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.hallyukstar.com/2019/08/05/what-is-jjapa-guri-in-parasite/
จากเหตุการณ์ต้นแบบนี้เองทำให้ทั่วโลกพยายามหันมาให้ความสนใจกับ ‘Soft Power’ โดยมีจุดประสงค์เหมือนๆกันคือใช้ “สื่อ” เพื่อสร้างกระแสนิยมให้ผู้รับสื่อเกิดความคล้อยตามโดยอาจมีเป้าหมายต่างกันตามความต้องการของผู้สร้าง โดยประเทศไทยเอง รัฐบาลนำโดยนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ก็ได้พยายามผลักดัน Soft Power ในเรื่องต่างๆของประเทศไทยมากขึ้นอาทิเช่น การสวมใส่ผ้าไทย อาหารไทย เป็นต้น
ภาพของนายกรัฐมนตรีสวมใส่ภาพไทย ขอบคุณภาพจาก https://www.ryt9.com/s/iq03/3458736
หากเรามองกลับไปถึงคำเกริ่น “เราเห็นสิ่งๆนึงบ่อยๆด้วยความบังเอิญจริงมั้ย?” หากเรามองในมุมมองแนวคิดทางแฟชั่นของ Gilles Lipovetsky ว่าด้วยเรื่องของแฟชั่นหรือกระแสนิยมไม่ได้เป็นเพียงแค่สิ่งใหม่ที่ไร้เหตุผลหรือความบังเอิญ แต่แฟชั่นหรือกระแสนิยมมีจุดประสงค์เพื่ออย่างใดอย่างนึง
โดยมีเบื้องหลังที่คอยทำให้เป็นกระแสอยู่ ก็อาจมองได้ว่าสิ่งที่เป็นกระแสอยู่ ณ เวลานี้เป็นเพียงเครื่องมือทางเศรษฐกิจ การเมือง ที่พยายามแทรกแซงกิจวัตรผ่านการนำเสนอ Soft Power จากสื่อด้วยความแนบเนียน ลื่นไหลเป็นธรรมชาติจนบางครั้งเราไม่ทันได้สังเกตว่ามันคือการตั้งใจอย่างนึง ไม่ใช่เหตุบังเอิญที่ทำให้เราเห็นสิ่งๆนึงอยู่บ่อยๆ และเราก็อาจจะคล้อยตามการกระทำนั้นๆได้
“อ่าว ถ้าเราอัดคลิปเต้นตามเพลงด้วยท่าเต้นตลกๆที่เราคิดเองลง TikTok แล้วเกิดดังมีคนเต้นตามแบบนี้ถือว่าเรามีจุดประสงค์อะไรมั้ย?! ในเมื่อเราไม่คิดว่ามันจะดัง”
หากเรามองด้วยแนวคิดแบบ Gilles Lipovetsky ก็อาจบอกได้ว่ากระแสการเต้นนี้ยังถือว่ามีจุดประสงค์อยู่เพราะยังเกิดการเปลี่ยนแปลง และคนที่ได้รับประโยชน์นี้ หากเรามองลึกลงไปคนที่ได้ประโยชน์นี้ก็คือเจ้าของเพลงผู้ซึ่งปล่อยเพลงลงแพลตฟอร์ม TikTok เค้าอาจจะมีจุดประสงค์อยู่แล้วเพื่อที่จะทำให้เพลงของเค้าเป็นที่นิยมจึงนำลงแพลตฟอร์มนี้ พร้อมทั้งยังมีการจ่ายเงินเพื่อที่จะทำให้ TikTok promote เพลงของตน
นอกจากนี้หลังจากที่การเต้นนี้เป็นกระแสเจ้าของเพลงก็อาจจะมีการจ่ายเงินเพื่อที่จะ promote คลิปเต้นนี้ให้ขึ้นหน้าฟีดของผู้ใช้คนอื่นๆเพื่อขยายกระแสเป็นวงกว้างโดยมีจุดประสงค์ให้ผู้คนรู้จักเพลงะและตัวศิลปิน(เขา)มากขึ้น
ดังนั้นแล้วในปัจจุบัน การเป็นกระแสหรือเทรนด์ฮิตต่างๆอาจเกิดขึ้นมาจากความตั้งใจของผู้สร้าง หรือมีผู้อยู่เบื้องหลังทำให้เกิดกระแสนิยมต่างๆ โดย Soft Power ก็เป็นแฟชั่นในรูปแบบของ Gilles Lipovetsky เป็นการตั้งใจให้เกิดกระแส มีจุดประสงค์เพื่ออย่างใดอย่างนึง ไม่ได้เป็นเพียงแค่สิ่งที่ไร้เหตุผลอีกต่อไป
ท้ายที่สุดแล้วเพื่อนๆคิดว่าการเป็น ”กระแส การฮิต” ของสิ่งๆนึงมีเหตุผลเบื้องหลังอยู่หรือไม่ ?
สำหรับเพื่อนๆแล้วการฮิตและการเป็นกระแสเป็นแค่เรื่องบังเอิญที่ไม่จำเป็นมีเหตุผลรึป่าว ?
อ้างอิง
รูปภาพปกลิซ่า Black pink
https://vogue.co.th/beauty/10factaboutlisabp
รูปภาพปกเบลล่า ราณี ในภาพยนตร์ บบุพเพสันนิวาส
https://drama.kapook.com/view189300.html
รูปภาพปกจากซีรี่ย์ What's Wrong with Secretary Kim และ Weightlifting Fairy Kim Bok-joo
รูปภาพปาจากูรีจากเรื่อง ปรสิต
https://www.hallyukstar.com/2019/08/05/what-is-jjapa-guri-in-parasite/#google_vignette
Soft power
https://www.brandthink.me/content/whatissoftpower
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย