Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Supawan’s Colorful World
•
ติดตาม
11 ธ.ค. 2023 เวลา 01:14 • ท่องเที่ยว
บูชิโด .. วิถีแห่งนักรบ
บูชิโด .. วิถีแห่งนักรบ
ประเทศญี่ปุ่นมีหลายสิ่งให้จดจำ เป็นหนึ่งในไม่กี่ซนชาติที่มีประวัติการต่อสู้ยาวนาน ซึ่งการต่อสู้อยู่ตลอดเวลาทั้งเพื่อป้องกันตนเองและเพื่อขยายอำนาจนี้ จำเป็นต้องมีกองทัพเข้มแข็งที่ประกอบด้วยนักรบชั้นยอด ..
ชื่อเสียงของ "ซามูไร" จึงเป็นที่เลื่องลือ ทั้งในด้านความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและการเป็นชนชั้นนำในสังคม แต่เหล่าซามูไรจะเป็นดังเช่นที่กล่าวมาไม่ได้หากไม่มีหลักการให้ถือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน หลักความคิดที่ซามูไรต้องยึดถืออย่างเคร่งครัดคือ "บูชิโด" อันมีความหมายว่า "วิถีแห่งนักรบ" ประกอบด้วยแนวปฏิบัติใหญ่ๆ คือ มัธยัสถ์ จงรักภักดี เชี่ยวชาญการต่อสู้ และรักษาเกียรติจนตัวตาย ..
บูชิโดถูกพัฒนาขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 11-14 มีต้นกำเนิดมาจากใครนั้นไม่แน่ชัด แต่มันกำเนิดมาเพื่อให้ชนชั้นนักรบยึดถือ และแบ่งแยกผู้ถือดาบออกจากพลเรือนอย่างชัดเจน
ผู้ถือดาบจะเรียกตนเองว่าซามูไรไม่ได้หากไม่เข้าถึงหลักการแห่งบูชิโด … ตามพจนา-นุกรมญี่ปุ่น (โซกากุกัน โคคุโกะ ไดจิเต็น) บูชิโดคือปรัชญาการดำเนินชีวิตโดยเฉพาะของชนชั้นนักรบ ตั้งแต่สมัยมุโรมาซิ (สมัยการปกครองของโชกุนตระกูลมุโรมาชิ พ.ศ.1879-2116)
นิโตเบะ อินาโซะ นักประพันธ์เรืองนามในสมัยเมจิ (พ.ศ.2411-2455) ได้กล่าวไว้ในหนังสือของเขา คือ Bushido : The Soul of Japan ว่า "บูชิโดในช่วงนั้นคือกฎแห่งคุณธรรมที่ซามูไรต้องยึดถือหรือต้องศึกษา มีหลายข้อที่ไม่ได้เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ยึดถือสืบทอดกันมา เป็นรากฐานการเติบโตอย่างเป็นระบบของผู้ยึดอาชีพ “ทหาร" และเป็นหลักกฎหมายสมัยศักดินาในยุคโชกุนตระกูลโตกฺกาว (พ.ศ.2146-2411)
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์อันสืบค้นได้จากจดหมายเหตุและวรรณคดีโบราณ หลักการบูชิโดเริ่มถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 1255 ในจดหมายเหตุ หรือ "โคจิกิ" ราชสำนัก ในเรื่องราวที่เกี่ยวกับยามาโตะ ทาเครู โอรสของจักรพรรดิไคโกะ จักรพรรดิองค์ที่ 12 ของญี่ปุ่น ผู้ยึดถือหลักการบูชิโดอย่างเคร่งครัด รวมไปถึงการบูชาดาบของนักรบญี่ปุ่น …
ยามาโตะ ทาเครุ คือต้นแบบให้ผู้บำเพ็ญตนเป็นนักรบยึดปฏิบัติตาม นอกจากนี้ยังพบร่องรอยกำเนิดของบูชิโดอีกในประวัติศาสตร์ช่วงต้นของญี่ปุ่น คือ "โชกุ นิฮงงิ" ที่ถูกจารึกขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1340 มีเนื้อหาบางส่วนครอบคลุมถึง พ.ศ. 1264 ซึ่งเป็นช่วงแรกๆที่หลักการบูชิโดถูกใช้อย่างจริงจัง
มหากาพย์ไฮเกะ โมโนะกะตาริ ที่ถูกเขียนขึ้นใน พ.ศ. 1914 บรรยายการต่อสู้เพื่อช่วงชิงอำนาจเหนือญี่ปุ่นระหว่างตระกูลมินาโมโตะ กับไทระ ตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 หรือ "ศึกเก็มไป" ไว้อย่างละเอียดที่ระบุไว้ด้วยก็คือแนวความคิดต้นแบบเพื่อบ่มเพาะนักรบตามแนวทางบูชิโด
นักรบในมหากาพย์นี้เองที่เป็นต้นแบบของนักรบผู้ถึงพร้อมด้วยการศึกษาในรุ่นต่อมา เป็นการแบ่งแยกชนชั้นนักรบออกจากชาวนา ครู แพทย์ พ่อค้า และกลุ่มคนอาชีพอื่นๆอย่างชัดเจน
ต่อมาเมื่อมีการสู้รบระหว่างตระกูลมากขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 13-16 หลักปฏิบัติที่เพิ่มมา คือชามูไรต้องยึดมั่นรับใช้ต่อเจ้านายคนเดียวจนกว่าชีวิตจะหาไม่ นัยว่าเพื่อควบคุมทหารให้จงรักภักดีต่อกองทัพของตนไม่คิดแปรพักตร์ไปอยู่กับศัตรูจนกว่าชีวิตจะหาไม่ … ให้จงรักภักดีต่อกองทัพของตน
ในคริสต์ศตวรรษที่ 17-19 ญี่ปุ่นสงบสุขจากการปิดประเทศ บูชิโดยังคงเป็นหลักการดำเนินชีวิตของชนชั้นซามูไรซึ่งรุ่งเรืองถึงขีดสุดมีอำนาจปกครองประเทศและดำรงตำแหน่งสำคัญหลากหลาย สถานการณ์เปลี่ยนไปจากเดิมที่ตระกูลต่างๆ รบพุ่งกันเอง
มาสู่ความสงบสุขเป็นปีกแผ่น ทำให้บูชิโดถูกปรับเปลี่ยนเข้ากับวิถีชีวิตชาวญี่ปุ่นในสมัยนั้นมากขึ้นแต่สิ่งหนึ่งที่ยังอยู่และไม่เปลี่ยนแปลง คือถ้าไม่สามารถยึดถือหลักการบูชิโดได้ ทางออกเพียงสถานเดียวของซามูไรก็คือความตาย แต่จะถูกสรรเสริญว่าตายอย่างมีเกียรติเยี่ยงนักรบด้วยวิธี "เซ็ปปุกุ" หรือการคว้านท้องตนเอง
ซึ่งรู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่าพิธี "ฮาราคีรี"
ปรัชญาบูชิโดถูกยึดถือในหมู่ซามูไรและแพร่หลายอย่างรวดเร็วในทุกส่วนของประ-เทศ ในการสำรวจสำมะโนประชากรสมัยเมจิตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ประมาณว่าซามูไรมีจำนวน 7-10 เปอร์เซ็นต์ของประซากรญี่ปุ่นทั้งหมด แบ่งเป็นซามูไรชั้นสูงที่ได้รับอนุญาตให้ขี่ม้า 1,282,000 คน และซามูไรธรรมดาคาดดาบได้
2 เล่ม แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ม้าเป็นพาหนะ อีก 492,ooo คน
แม้อิทธิพลของภาพยนตร์และสือจะเน้นให้เห็นความเด็ดขาดของบูชิโดด้วยวิธีเซ็ปปุกุ เต่หาได้สื่อถึงแก่นแห่งหลักการของบูชิโดไม่ เพราะความเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งบูชิโดจะต้องทราบถึงวิธีอันถูกต้องในการดำรงชีวิต ทั้งการเลี้ยงดูบุตรให้เติบโตขึ้นเป็นคนดี มีกิริยาทำทางรวมทั้งการแต่งกายสง่างาม …
แต่เหนืออื่นใดต้องพร้อมเสมอที่จะเผชิญหน้ากับความตายอย่างมีสติ ตายอย่างมีเกียรติย่อมดีกว่าอยู่อย่างอดสู โดยหลักการ 7 ข้อของบูชิโดยังคงอยู่ คือ ยึดความยุติธรรม (กิ) กล้าหาญ (ยุ) เมตตากรุณา (จิน) อ่อนน้อม (ไร) ซื่อสัตย์ (มาโคโตะ) รักเกียรติ (ไมโยะ) และจงรักภักดี (ชูกิ)
พิจารณาดูให้ถ่องแท้จะพบว่าบูชิโดนั้นคือกฎเกณฑ์ที่สอนให้ผู้ชายดำรงตนเยี่ยงสุภาพบุรุษ เป็นหัวหน้าครอบครัว ตลอดจนเป็นผู้นำประเทศที่ดี ซึ่งปัจจุบันบูชิโดยังแฝงอยู่ในวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่น ทั้งด้านการบริหารธุรกิจ การค้า และการเมือง โดยยึดถือแต่หลักการที่มีประโยชน์ต่อความก้าวหน้าของประเทศ
จริงๆ ซามูไรยุคใหม่อาจเป็นโบรกเกอร์หุ้น ใช้อินเทอร์เน็ตและทคโนโลยีสารสนเทศฟาดพันกันแทนดาบ โชกุนคือประธานกรรมการบริษัทข้ามชาติที่มีอำนาจล้นเหลือ และห้ำหั่นกันในเวทีโลกด้วยเงินตราและกลวิธีการตลาด บางทีผู้แพ้ในเชิงธุรกิจอาจไม่ต้องถึงกับทำเซ็ปปุกุ เมื่อรู้ว่ายังมีโอกาสรวบรวมทุนรอนและบุคลากรกลับมาสู้ใหม่ได้ เมื่อโลกเปลี่ยนไป ค่านิยมเดิมก็ต้องปรับเปลี่ยนตาม...แม้แต่ "บูชิโด"
Credit : สรศักดิ์ สึบงกช : Nature Explorer Sept. 2007
บันทึก
1
1
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย