Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Spaceth.co
•
ติดตาม
11 ธ.ค. 2023 เวลา 07:52 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
อินเดียโชว์ภาพดวงอาทิตย์จากอุปกรณ์ SUIT บนยาน Aditya L1 ยานอวกาศสำรวจดวงอาทิตย์ของอินเดีย
แม้ยานอวกาศ Aditya L1 จะอยู่ในระหว่างการปรับวงโคจรเพื่อเข้าสู่ Halo Orbit รอบจุด Lagrange L1 ที่อยู่ห่างออกไปจากโลกประมาณ 1 ล้านกิโลเมตร ทิศทางไปยังดวงอาทิตย์ แต่ ISRO ก็เริ่มเปิดใช้งานอุปกรณ์บางส่วน เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการทำงานแล้ว
ภาพทั้งหมดนี้ ได้มาจากอุปกรณ์ SUIT หรือ The Solar Ultraviolet Imaging Telescope ซึ่งเป็นอุปกรณ์หลักในการสังเกตดวงอาทิตย์ โดยสามารถถ่ายในย่านคลื่นที่ต้องการ ผ่าน Filter ทั้งหมด 11 Filter (3 Broadband & 8 Narrowband)ในลักษณะ full-disk คือการถ่ายภาพทั้งดวง
โดย Detector รับภาพของ SUIT นั้นเรียกว่า CCD 272-84 จะเป็น CCD ความละเอียด 4096×4096 Pixel พิกเซลละประมาณ 12 ไมโครเมตร ซึ่ง Detector ตัวนี้มีคุณสมบัติเหมือนกับ CCD 203-82 (HMI and AIA) ที่ใช้บนยาน Solar Dynamics Observatory หรือ SDO ของ NASA
โดยนอกจากการถ่ายภาพ full-disk แล้ว ยังมีการถ่ายภาพในลักษณะที่เรียกว่า Partial field คือการมองเห็นแค่บางส่วนเท่านั้น
โดยภาพทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นดวงอาทิตย์ตั้งแต่ย่านคลื่นตั้งแต่ 360 ถึง 214 นาโนเมตร ซึ่งเรียกว่าย่าน Near-UV นั่นเอง
อ่านการทำงานของอุปกรณ์ SUIT ได้ที่ - The Solar Ultraviolet Imaging Telescope onboard Aditya-L1 -
https://www2.mps.mpg.de/dokumente/publikationen/solanki/c257.pdf
โดยปกติแล้วยานสำรวจดวงอาทิตย์ในลักษณะนี้จะเป็นขององค์การอวกาศขนาดใหญ่อย่าง NASA หรือ ESA เช่น ยาน SOHO, SDO, DSCOVR นี่นับว่าเป็นความสำเร็จของอินเดียอย่างมากที่สามารถมียานอวกาศถ่ายภาพดวงอาทิตย์ และไปโคจรอยู่รอบจุด L1 ได้เหมือนกับยานเหล่านี้
Website -
https://spaceth.co/
Blockdit -
https://blockdit.com/spaceth
YouTube -
https://www.youtube.com/spacethco
Facebook -
https://facebook.com/spaceth
Twitter -
https://twitter.com/spacethnews
IG -
https://instagram.com/spaceth.co
อินเดีย
อวกาศ
วิทยาศาสตร์
1 บันทึก
3
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย