13 ธ.ค. 2023 เวลา 10:26 • การเกษตร

การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์

การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ ไม่ได้มีเพียง การป้องกันโรคของผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา การกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยสมุนไพร หรือเรื่องแสง และอุณหภูมิเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้ว การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ ยังรวมถึงการดูแลเรื่องการเจริญเติบโตของผักไฮโดรโปนิกส์ การเก็บเกี่ยว เกษตรกรหรือผู้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จะต้องดูแลผักไฮโดรโปนิกส์อย่างไรบ้าง?
การเจริญเติบโต
มีหลายสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโต ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญหรือหัวใจหลักของ การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งเกษตรกรควร บริหารจัดการให้ถูกต้อง เพื่อผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ดังนี้
การจัดการธาตุอาหาร
ธาตุอาหารที่ครบถ้วน เหมาะสม เป็นอีกหนึ่งปัจจัยของ การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ ที่ต้องได้รับการปฏิบัติให้ถูกต้อง
สิ่งที่ควรระวัง :
6
การให้สารละลายธาตุอาหารหรือปุ๋ย เริ่มหลังจากนำต้นอ่อนลงรางปลูกแล้ว 1 วัน จึงเริ่มใส่ปุ๋ย
ใส่สารละลายธาตุอาหาร A ในน้ำก่อน แล้วทิ้งให้ละลายประมาณ 6 ชั่วโมงจึงใส่ B ตาม เพราะส่วนผสมในสารละลาย A และ B บางตัว จะจับตัวคล้ายกับหินปูนอยู่ในถังพักถ้าใส่พร้อมกัน ไม่ไหลไปกับน้ำเพื่อให้อาหารพืช
อัตราส่วนของสารละลายธาตุอาหาร โดยทั่วไปคือ 2ซีซี ต่อน้ำในระบบ 1 ลิตร (น้ำในระบบ หมายถึง น้ำในถัง+น้ำในท่อ x 2ซีซี)
การตรวจสอบสารละลายธาตุอาหาร
ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชมีอยู่ 16 ธาตุด้วยกัน แต่ธาตุอาหารหลักที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และพืชต้องการใช้ในปริมาณมากมีอยู่ 3 ธาตุ คือ ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม นอกจากนี้พืชยังต้องการธาตุอาหารรองอย่าง แคลเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน และธาตุอาหารเสริมที่พืชขาดไม่ได้แต่ใช้ปริมาณน้อยกว่าธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง คือ สังกะสี, ทองแดง, แมงกานิส, เหล็ก, โบรอน, โมลิบดีนัม และ คลอรีน
ปัจจุบันการวิจัยในต่างประเทศ ว่ามีธาตุอาหารรองเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ชนิดคือ นิเกิล มีความสำคัญต่อระบบเอ็นไซม์ ปลดปล่อยไนโตรเจนให้อยู่ในรูปที่พืชดูดซึมไปใช้ได้ และช่วยให้พืชดูดซึมธาตุเหล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ พืชจะสะสมนิเกิลไว้ในเมล็ดเพื่อประโยชน์ในการงอก ทำให้เมล็ดพืชงอกได้สูงขึ้น
การเก็บเกี่ยว
  • ก่อนการเก็บเกี่ยวผักไฮโดรโปนิกส์ 10 วัน เป็นอย่างน้อย ให้หยุดใช้ยาฆ่าเชื้อรา ส่วนสารที่มีเคมีอื่นๆ ต้องรอให้หมดฤทธิ์อย่างน้อย 15 วัน
  • ก่อนการเก็บเกี่ยว 7 วัน ถ่ายน้ำละลายสารอาหารออกจากท่อให้หมด แล้วสูบเอาน้ำเปล่า หรือน้ำสะอาดไปเลี้ยงหรือแช่ผักไว้
  • ควรเก็บผักไฮโดรโปนิกส์ในวันที่มีแดด และควรเป็นช่วงบ่าย เพราะไนเตรทจะต่ำลง หากเก็บผักในช่วงที่มีแดดจัด ผักจะมีการนำไนเตรทมาใช้ประโยชน์มากกว่า
  • ดึงผักไฮโดรโปนิกส์ออกจากรางปลูกทั้งถ้วย เอาถ้วยออก ไม่ต้องตัดราก หากเป็นการปลูกบนฟองน้ำ ไม่จำเป็นต้องเอาฟองน้ำออกก็ได้ ซึ่งอาจจะมีลูกค้าบางรายระบุให้ส่งผักไฮโดรโปนิกส์ทั้งฟองน้ำ
  • เก็บเศษหิน เศษดิน ทำความสะอาด (อาจล้างด้วยน้ำยาล้างผัก) และตัดแต่งใบที่เสียหรือแก่เกินไปออก เพื่อป้องกันการสะสมความร้อนและเชื้อจุลินทรีย์
  • ปล่อยให้ผักไฮโดรโปนิกส์ได้คลายความร้อนก่อนได้รับการบรรจุ เก็บผักไว้ในที่ร่มเย็น
  • คัดขนาดผักไฮโดรโปนิกส์ และทำการบรรจุ(ห่อหุ้ม)ด้วยพลาสติกหรือกระดาษ เพื่อลดการคายน้ำ ผักได้น้ำหนักและไม่เสียเร็ว จากนั้น เตรียมผักไฮโดรโปนิกส์ลงภาชนะบรรจุที่ใช้สำหรับการขนส่ง โดยบรรจุผักลงภาชนะแค่เต็มพอดี อย่าอัดจนแน่นหรือหลวมเกินไป และอย่าให้ผักถูกกดทับ หรือกระแทก
  • ไฮโดรโปนิกส์ที่มีการคายน้ำสูง เช่น มะเขือเทศ พริกหวาน ควรทำการเคลือบผิวด้วยสารเคลือบผิวก่อนทำการบรรจุหีบห่อเพื่อไม่ให้เหี่ยวย่น น่ารับประทาน และไม่สูญเสียน้ำหนัก
  • เก็บผักไฮโดรโปนิกส์ไว้ในที่อุณหภูมิต่ำ ช่วยลดอัตราการหายใจของผัก ให้ผักมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวขึ้น
  • เตรียมยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง ต้องให้ห้องเก็บผักเย็นเสียก่อนจึงนำผักไฮโดรโปนิกส์ขึ้นไปจัดเรียง
โฆษณา