15 ธ.ค. 2023 เวลา 06:00 • ความคิดเห็น

พื้นฐานแห่งความยุติธรรมทั้งปวง ‘หลักพอสมควรแก่เหตุ’ หัวใจแห่งกฎหมายที่ทุกสังคมในโลกยึดถือ

กฎหมายเป็นสิ่งที่ทุกสังคมมี ไม่ว่าจะย้อนกลับไปในยุคโบราณเพียงใดก็จะมีกฎหมายมากำกับเสมอแม้ว่าอาจจะไม่ได้อยู่ในรูปของกฎหมายที่เราเข้าใจในปัจจุบัน แต่โดยเนื้อหาสาระสำคัญแล้วเป็นกฎหมาย เราจึงอาจกล่าวได้ว่ากฎหมายคือสิ่งที่ดำรงอยู่คู่กับมนุษย์เสมอมาเพราะเป็นข้อตกลงและข้อบังคับที่เราทุกคนมีพันธะสัญญาร่วมกันว่าจะต้องปฏิบัติและเชื่อฟัง เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็ย่อมหมายความว่ากฎหมายนั้นมีหลักการบางอย่างที่เป็นพื้นฐานของความต้องการของทุกสังคมด้วย
หากเราแกะรอยต้นกำเนิดของสังคมไม่ว่าจะแนวคิดของตะวันตก เช่น สัญญาประชาคม (Social contract) หรือกระทั่งของไทยในอัคคัญญสูตรเราก็จะเห็นได้ว่ากฎหมายเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขความขัดแย้งโดยความยุติธรรม นั่นหมายความว่าอำนาจที่ก่อให้เกิดสังคมคืออำนาจในการพิพากษาเพื่อยุติความขัดแย้งทั้งปวงหาใช่อำนาจอื่นไม่ หรืออีกแง่หนึ่งกฎหมายจึงเกิดมาเพื่อทำให้ทุกคนสามารถร่วมมือกันและอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติในนามของความยุติธรรมและความสามารถในการคาดเดาได้ว่าทุกคนจะอยู่ใต้ข้อบังคับชุดเดียวกัน
แน่นอนว่าหลักการพื้นฐานที่ทำให้ทุกคนยอมอยู่ใต้ข้อบังคับนี้มีหลายอย่างด้วยกัน แต่หนึ่งในหลักการที่สำคัญอาจกล่าวได้ว่าเป็นหลักการที่เรียกว่า “ความพอสมควรแก่เหตุ” ที่หมายถึงการตัดสินข้อพิพาทใดๆ ก็ตามจะต้องเป็นไปด้วยความพอสมควรในหลายๆ ด้าน กล่าวคือไม่สร้างภาระให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากเกินไป และทำให้ความยุติธรรมในคดีเกิดผลบังคับให้ได้มากที่สุด และสิ่งนี้เองคือสิ่งที่ทำให้มนุษย์ในสังคมนั้นยอมรับคำพิพากษาได้
หลักความพอสมควรแก่เหตุนี้คืออะไร มีองค์ประกอบอย่างไร ติดตามใน https://www.luehistory.com/?p=22444
เลือกติดตามช่องทางอื่น ๆ ของ Lue History ได้ที่นี่
#LueHistory #กฎหมาย
โฆษณา