Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
easyimsurance_fwd
•
ติดตาม
14 ธ.ค. 2023 เวลา 11:38 • สุขภาพ
เชียงใหม่
มีโรคเป็นมาแต่กำเนิด และ โรคประจำตัว จะทำประกันได้หรือไม่
คำถามที่พบได้บ่อย สำหรับผู้ที่มี โรคทางพันธุกรรมตั้งแต่กำเนิด และ มีโรคประจำตัว ทำประกันได้ไหม? สามารถทำได้ โดยตอนที่ซื้อประกันครั้งแรก ให้ตอบคำถามสุขภาพ ตาความจริง เกี่ยวกับโรคที่เป็นมาก่อน หรือพูดง่ายๆคือ บอกความจริงทั้งหมด
เมื่อตกลง สมัครทำประกัน จ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว เบี้ยที่จ่ายในครั้งแรก คือเบี้ยสำหรับคนที่ไม่มีประวัติอะไรมาก่อน หลังจากที่บริษัทอ่านคำแถลงการณ์ด้านสุขภาพ แล้วก็อาจจะขอตรวจสุขภาพ เสนอเบี้ยใหม่ที่ปรับขึ้น รวมไปถึงแจ้งเกี่ยวกับ ข้อเสนอพิเศษเพิ่มเติม
เช่น ไม่คุ้มครองโรคเดิมที่เป็นมาก่อน ในทุกๆแบบประกัน , ไม่คุ้มครองแค่ ประกันชดเชยรายได้ สำหรับโรคประจำตัว ซึ่งข้อเสนอใหม่ดังกล่าว ลูกค้าสามารถปฎิเสธ ไม่รับเงื่อนไขหรือไม่ทำประกันแล้วก็ได้
แต่ก่อนที่บริษัท จะคืนเบี้ยประกันให้ลูกค้า บริษัท จะหักค่าตรวจสุขภาพออกจากเบี้ยประกัน ก่อนโอนคืนผ่านช่องทางธุรกรรม ที่ลูกค้าสะดวกรับคืน และ มีจดหมายแจ้งการคืนเงินให้กับลูกค้า โดยขั้นตอนนี้ จะใช้เวลาไม่นาน
https://www.easyimsurance.com
ตัวอย่าง โรคประจำตัว และ โรคทางพันธุกรรม(โรคเป็นมาแต่กำเนิด)
โรคทางพันธุกรรม หรือ กรรมพันธ์ บางคนอาจไม่ปรากฎโรคตอนที่เกิดในทันที อาจจะมาทราบตอนมีอาการ เช่นตอน 2ขวบ หรือ บางคนก็โตแล้วเพิ่งแสดงอาการ
เช่นปรากฎตอนอายุ 30ปี การที่เราจะทราบได้ว่า เป็นโรคทางพันธุกรรม ก็ตอนที่พบแพทย์ และ ผลวินิจฉัยโรคออกมาว่าเป็นเช่นนั้น
เมื่อ ทำประกันสุขภาพ บริษัทจะมีข้อยกเว้นคือ ต้องปรากฏหรือพบอาการหลังอายุ 16ปี และ ต้องทำประกันเดิน 365วันหรือเกินรอบปีกรมธรรม์แล้ว จึงจะเคลมสินไหมได้
เช่น อายุ 30ปี ทำประกันได้ 10เดือน มีอาการเหนื่อยง่าย ตัวเหลือง ไปพบแพทย์แจ้งว่ามีภาวะ ธารัสซีเมีย ซึ่งคือโรคที่ถ่ายทอด ทางพันธุกรรมแต่กำเนิด แพทย์บอกว่าจำเป็นต้องรักษาตัว แบบนี้ต้องจ่ายเงินค่ารักษาเอง เนื่องจากยังไม่พ้นระยะเวลา 365วัน หรือ 1ปี
ตัวอย่างบางส่วน
โรคประจำตัว ที่บริษัทประกันไม่รับทำเลย
โรคประจำตัว ที่เป็นการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย ที่ไม่ได้ส่งผลกระทบ ไม่มีความเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิต เช่น ภูมิแพ้อากาศ กรดไหลย้อน ภาวะข้อเข่าเสื่อม ไมเกรน จะไม่ค่อยส่งผลต่อการรับประกั
ส่วนความดันโลหิตสูง อาจจะส่งผลต่อการรับประกัน โดยบริษัทจะต้องดูประวัติการรักษา หรือ ตรวจสุขภาพว่าสูงเท่าไหร่ รับได้หรือไม่
จะทราบข้อสรุป หลังอ่านประวัติและตรวจสุขภาพ บางคนก็อาจจะแค่อ่านประวัติถ้าความดันไม่สูงมาก บริษัทก็จะรับโดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ
18โรคประจำตัว ที่บริษัทประกันไม่รับทำ
มัดรวมคำถาม เกี่ยวกับเงื่อนไขการรับ สำหรับคนมีโรคประจำตัว
คำถาม :: กรณี เด็กแรกเกิด ซื้อประกันสุขภาพ น้ำหนักมาตรฐานต้องเท่าไหร่ ?
ตอบ :: เด็กแรกเกิด ต้อง น้ำหนัก 2,500 กรัมขึ้นไป
คำถาม :: กรณีเป็นฝาแฝดน้ำหนักต้องเท่าไหร่ และ ต้องแถลงไหม?
ตอบ :: ฝาแฝดต้องน้ำหนักต่อคนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2,000 กรัม
ตอบ :: ต้องแถลงด้วย ว่าเป็นฝาแฝด ในส่วนของข้อ 13 (ตอนสมัคร)
คำถาม :: โรคยอดฮิตของเด็ก อะไรบ้างที่เลื่อนพิจารณา
ตอบ :: เคยเป็น RSV เลื่อนพิจารณา 1 ปี แล้วแนบพร้อมประวัติการรักษา
ตอบ :: ไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ รอ3เดือน แล้วแนบพร้อมประวัติการรักษา
คำถาม :: เป็นมะเร็ง เต้านม, ลำไส้ , มดลูก , โรคผิวหนัง รับไหม ?
ตอบ :: มะเร็งเต้านม เลื่อนพิจารณา 7 ปี หากหายนับจากหยุดยาครั้งสุดท้าย พร้อมแถลงแนบประวัติการักษา
ตอบ :: กรณีเกี่ยวกับมดลูกตัดออกเกิน 7 ปี พร้อมแถลงแนบประวัติการรักษา
ตอบ :: มะเร็งลำไส้ เลื่อนพิจารณา 5 ปี หากหายนับจากหยุดยาครั้งสุดท้าย พร้อมแถลงแนบประวัติการักษา
ตอบ :: โรคผิวหนัง เลื่อนพิจารณา5ปี หายแล้วแถลงพร้อมแนบประวัติการักษา
คำถาม :: ถ้าเป็นความดันรับไหม?
คำตอบ :: ความดันหากหาหมอทุกเดือนไม่รับ !! แต่หาก 3 เดือนครั้ง และคุมอยู่=รับ
คำถาม :: เป็นเบาหวาน แบบไหนทำประกันได้ ?
ตอบ :: เบาหวานไม่ดูปลายนิ้ว แม้เคยป่วยหากคุมอยู่น้ำตาลสะสม 6 รับประกันได้
คำถาม :: โรคเกี่ยวกับน้ำเหลืองรับไหม ?
ตอบ :: ส่วนในน้ำเหลืองไม่รับตลอดไป
https://www.easyimsurance.com
สรุป การรับทำประกัน ของผู้ป่วยโรคประจำตัว และ โรคทางพันธุกรรม
โรคประจำตัว และ โรคทางพันธุกรรมบางโรค ถ้ารักษาหายแล้วก็มีโอกาสทำประกันได้ หรือ ถ้ายังรักษาตัวต่อเนื่อง การจะรับไม่รับขึ้นอยู่กับทางฝ่ายพิจารณา
เพราะฝ่ายพิจารณาจะต้องดูจากประวัติการรักษา และ ผลตรวจสุขภาพ ตามกฎเกณฑ์เงื่อนไขของบริษัท นะคะ
https://www.easyimsurance.com
สุขภาพ
ไลฟ์สไตล์
การเงิน
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย