14 ธ.ค. 2023 เวลา 14:00 • การศึกษา

สาเหตุสำคัญที่มหาวิทยาลัยไทยไม่สามารถต่อสู้กับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้

1. Selection: เพราะรายได้เบสิกจริง (Real Basic Income) ของอาจารย์ประจำในไทยต่ำกว่า
i) รายได้เบสิกจริงของอาจารย์ในต่างประเทศ
ii) รายได้ของอาชีพอื่นในประเทศที่ต้องใช้แรงงานของคนที่มีทักษะสูง (high-skilled occupations) ค่อนข้างเยอะ คนที่เก่งจริงๆส่วนใหญ่ที่ไม่ติดทุนก็มักเลือกที่จะไม่กลับมาเป็นอาจารย์ หรือเลือกไปเป็นอาจารย์ในต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่
2. Motivation: ส่วนคนที่เก่งจริงๆแต่ติดทุน พวกเขาไม่มีทางเลือกอื่น พอกลับมาก็เข้าไปในระบบที่ไม่เอื้อให้เขาได้แสดงความสามารถในการทำวิจัยได้อย่างเต็มที่ แถมแรงจูงใจในการทำวิจัยก็น้อยเมื่อเทียบกันกับ opportunity cost ของการทำวิจัย สู้ไปสอนพิเศษยังจะได้เงินมากกว่า
3. Asymmetrical Information: เพราะคนส่วนใหญ่ รวมไปจนถึงคนที่ออกนโยบาย ไม่ทราบจริงๆว่างานตีพิมพ์ที่มีคุณภาพนั้นมีหน้าตาเป็นยังไง การที่อาจารย์บางคนจะตีพิมพ์งานวิจัยที่ในวารสารวิชาการที่ไม่มีคุณภาพ หรือไม่ก็โกงไปเลยด้วยการซื้องานวิจัย ซื้อ authorship ก็เป็นอะไรที่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ
ซึ่งก็สามารถทำให้คนที่เก่งจริงๆ ที่มีความตั้งใจที่จะทำงานวิจัยที่มีคุณภาพจริงๆต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า “แล้วนี่เราตั้งใจไปทำไม เพราะถึงจะตั้งใจขนาดไหน เราก็แพ้คนที่โกงไม่ได้” สุดท้ายแล้วคนส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะไม่ทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ เพราะกว่าจะได้งานวิจัยที่มีคุณภาพที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการดีๆนั้นมันต้องใช้เวลาและไม่ได้ทำกันง่ายๆ สู้การทำวิจัยเร็วๆ ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Q1 ในตำแหน่งท้ายๆ (คุณภาพวารสารวิชาการ Q1 ท็อปๆกับ Q1 ที่รั้งท้ายนั้นแตกต่างกันมากนะครับ) ก็ไม่ได้
4. Unwillingness to Compete: และพอเราเห็นมหาวิทยาลัยในประเทศเพื่อนบ้าน เช่นมาเลเซียและเวียดนาม เริ่มนำหน้าเราปุ๊บ แทนที่เราจะบอกกับตัวเองว่า เฮ้ย ไม่ได้แล้วนะ เราต้องทำอะไรสักอย่างหนึ่งแล้ว
หลายๆคนกลับคิดว่า เออ เราไม่ควรเอามหาวิทยาลัยไทยไปเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศนะ มันไม่เหมือนกัน มหาวิทยาลัยไทยก็ต้องตอบโจทย์ของประเทศไทย เพียงแค่นี้ก็พอ ไม่ต้องไปสนชาวบ้านเขาหรอก มันจึงไม่แปลกใจที่ทางมหาวิทยาลัยเองก็ไม่มีแรงจูงใจที่จะไปแข่งขันกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เพราะเราหลายคนคิดว่าเราแข่งขันกันแค่ในประเทศก็คงจะพอ
2
==========
ศ.ดร.ณัฐวุฒิ เผ่าทวี (เพจ : https://www.facebook.com/TransparentlyUselessAdvice)
ศาสตราจารย์ทางด้านเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัย Nanyang Technological University, Singapore
==========
#aomMONEY #การศึกษา #มหาวิทยาลัย #ไทย #ต่างประเทศ
โฆษณา