Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Structure
•
ติดตาม
15 ธ.ค. 2023 เวลา 05:21 • ข่าว
ถั่วลิสง สวก.1โฆษกรัฐบาลเผย ก.เกษตร ร่วม ม.เกษตร พัฒนาพันธุ์
หวังช่วยลดการนำเข้าเกือบ 9 หมื่นตันต่อปี
เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 66 นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยเกษตรกรผู้ปลูกถั่วลิสง ที่ขณะนี้พบว่า ปริมาณผลผลิตถั่วลิสงไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ ซึ่งเกิดจากเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงที่ไม่มีคุณภาพ ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง
ทำให้ปริมาณการเพาะปลูกและผลผลิตถั่วลิสงลดลง ไม่เพียงพอต่อความต้องการสำหรับบริโภค และเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมแปรรูปในประเทศ ซึ่งมีความต้องการใช้ถั่วลิสงปริมาณสูงถึง 113,498 ตัน แต่ผลิตได้เพียง 25,074 ตัน ทำให้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
ดังนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงมีนโยบายสำคัญที่จะเร่งเพิ่มปริมาณการผลิตถั่วลิสง หวังลดการนำเข้าจากต่างประเทศ เพิ่มผลผลิตและสร้างความเข้มแข็ง โดย สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร องค์การมหาชน (สวก.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนาถั่วลิสงพันธุ์ใหม่ ชื่อว่า “เกษตรศาสตร์ สวก.1 ปรับปรุงพันธุ์จากแม่พันธุ์ขอนแก่น 5 และพ่อพันธุ์ IC 10 ทำให้ได้พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและต้านทานต่อโรคยอดไหม้
ซึ่งผลการทดสอบพบว่า พันธุ์ถั่วลิสง “เกษตรศาสตร์ สวก.1” ให้ผลผลิตและผลตอบแทนสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบพันธุ์ดั้งเดิม คุณภาพเมล็ดเป็นที่ยอมรับของอุตสาหกรรมแปรรูป และสามารถปรับตัวได้ดีในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งในฤดูฝน และฤดูแล้ง พร้อมกันนี้ได้ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร นำไปขยายผลในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวม 12 จังหวัดด้วย
“กระทรวงเกษตร มีความห่วงใยเกษตรกรผู้ปลูกถั่วลิสง อยากให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น จึงพยายามหาวิธีการในการสร้างผลผลิตให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้นอกจากนี้ พันธุ์ถั่วลิสง “เกษตรศาสตร์ สวก.1 นอกจากจะให้เกษตรกรมีรายได้แล้ว ยังทำให้ประเทศไม่ต้องนำเข้าถั่วลิสงอีกด้วย” รัดเกล้า กล่าว
#TheStructure
#TheStructureNews
#ถั่วลิสง #สินค้าเกษตร #เกษตรและสหกรณ์
#มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ #เกษตรกรรม
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย