Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเรื่องหลากมุมกับ ภก.ปราโมทย์
•
ติดตาม
17 ธ.ค. 2023 เวลา 23:30 • ข่าว
การทดลอง "เชื่อมจิต" ที่เคยเกิดขึ้นจริง
การเชื่อมจิตแม้จะฟังดูเป็นเรื่องใน sci-fi และเหมือนจะมีอยู่แต่ในหนังเท่านั้น แต่การกระทำหรือปรากฎการในลักษณะของการส่งผ่านข้อมูลระหว่างบุคคลโดยไม่ผ่านปฏิกริยาทางร่างกายเลย ปรากฎในคำบอกเล่าในแทบทุกศาสนาและชนชาติ และที่ผ่านมาก็มีผู้ที่พยายามทำการทดลองส่ง "โทรจิต(telepathy)" และหนึ่งในการทดลองที่มีชื่อเสียงที่สุดครั้งหนึ่ง คือการทดลองที่มีชื่อว่า "Ganzfeld experiment"
6
ปรากฎการณ์ ganzfeld effect เป็นที่รู้จักในแวดวงนักจิตวิทยาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 17 กล่าวถึงภาวะที่ร่างกายมีการขยายประสาทสัมผัสการรับรู้ เมื่อถูกปิดกั้นการรับรู้บางอย่าง โดยในกรอบเวลาดังกล่าวมีการทดลองที่เกี่ยวข้องมากมาย แต่ก็ยังเต็มไปด้วยข้อสงสัยและข้อโต้แย้ง จนกระทั่งในช่วงปี 1970 นักจิตวิทยา Charles Honorton จากสถาบัน Maimonides Medical Center ได้พยายามทำการทดลองว่า คนเราจะสามารถส่งผ่านการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส โดยไม่ผ่านกริยาทางร่างกาย ผ่านหลักการของ ganzfeld effect ได้หรือไม่
1
ลักษณะการทดลอง Ganzfeld experiment
คุณ Charles Honorton ได้บัญญัติศัพท์คำว่า "ประสาทสัมผัสพิเศษ" หรือ "extrasensory perception (ESP)" หรือที่ใกล้เคียงที่สุดกับคำว่า "โทรจิต( telepathy)" โดยใช้พื้นฐานของ ganzfeld effect เพื่อทดสอบสมมติฐานดังกล่าว
2
โดยการทำการทดลองเริ่มจากการคัดเลือกอาสาสมัคร จากนั้นทำการตัดปิงปองครึ่งหนึ่งและครอบปิงปองครึ่งลูกเหนือตาทั้งสองข้างของอาสาสมัคร ให้อาสาสมัครใส่หูฟัง เปิดวิทยุและปรับไปที่คลื่นที่ไม่ได้รับสัญญาณ หรือทำให้เป็นคลื่นซ่า เปิดแสงสีแดงแสง แสงดังกล่าวไม่ควรกะพริบและไม่มีอะไรในห้องควรจะสามารถทําให้เกิดการรบกวนทางสายตาได้ เพื่อให้ได้ผลเต็มที่ไม่ควรมีการรบกวนการได้ยินในห้อง ไฟดังกล่าวควรสาดเข้าที่บริเวณหน้าของอาสาสมัครในองศาที่ตรงกับหน้าและทิ้งไว้ 30 นาที
ระหว่างนั้นให้อาสาสมัครพูดอธิบายสิ่งที่ตัวเองเห็นหรือได้ยิน ซึ่งมีผลลัพท์ที่หลากหลาย บางคนแจ้งว่าได้ยินเสียงของญาติที่ตายไปแล้วหรือเห็นม้าเต้นรำ บางคนบอกว่าได้ยินเสียงปลอกผลไม้ เห็นภาพตนเองกำลังตกจากที่สูง
นอกจากนี้ยังมีการทดลองโดยการให้อาสาสมัคร 2 คน จัดให้อยู่ในสภาพการทดลองเดียวกัน โดยให้คนหนึ่งเป็นผู้รับ อีกคนหนึ่งเป็นผู้ส่ง โดยมักใช้สื่อกลางเป็นเป้าหมาย โดยทั่วไปมักจะเป็นรูปถ่าย ผู้ส่งจะจดจ่อกับเป้าหมายดังกล่าว และให้ผู้รับอธิบายประสบการณ์ประสาทหลอนของพวกเขาในรายละเอียดให้มากที่สุด
1
หากประสบการณ์ของผู้รับตรงกับสิ่งที่ผู้ส่งโฟกัสอยู่ ก็จะถือการทดลองว่าประสบความสําเร็จ แต่จนแล้วจดรอด ผลลัพธ์จากการทดสอบนี้ไม่เคยพิสูจน์ความเชื่อมโยงระหว่างจิตใจของคนสองคนได้อย่างเต็มที่ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความไม่สอดคล้องกันในการศึกษาจํานวนมากและข้อผิดพลาดที่หลากหลายภายในการทดลองเอง
1
นอกจากการทดลองดังกล่าว ยังมีอีกหลายรายงานที่มีการทดลองในลักษณะเดียวกัน เช่นการทดลองในปี 2014 โดยทำการแปลงสัญญาณไฟฟ้าจากคลื่นสมอง นำมาเข้ารหัสและส่งผ่านรหัสนั้นไปยังปลายทาง และทำการถอดรหัสเป็นขั้นตอนสุดท้าย โดยทุกขั้นตอนของการเข้ารหัสจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า EEG(electroencephalogram) ซึ่งเป็นเครื่องมือเดียวกับที่ใช้ควบคุมแขนกลหรือรถเข็นผู้ป่วยผ่านทางสมอง และการถอดรหัสจะทำผ่านเครื่องมือ TMS ที่สามารถส่งสัญญาณไปยังสมองของมนุษย์ได้โดยตรงในรูปแบบของสัญญาณพัลส์ (Pulse)
แม้จะอ้างว่าสามารถส่งสัญญาณเป็นข้อความสั้นๆได้ แต่ก็ไม่สามารถอธิบายกลไกที่ชัดเจนได้ และไม่สามารถอธิบาย bias ที่อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น
โดยการวิพากษ์วิจารย์งานวิจัยในลักษณะนี้ส่วนใหญ่มักจะมีอยู่ประมาณ 3 ประเด็นคือ ห้องที่ใช้ไม่ใช่ห้องกันเสียง จึงเป็นไปได้ว่าเมื่อภาพหรือวิดีโอกําลังเล่นอาสาสมัครอาจได้ยินและได้ให้สัญญาณโดยไม่สมัครใจแก่ผู้รับในระหว่างกระบวนการทดลอง ไม่มีการระบุการลดอคติในการสุ่มของการทดลอง และรูปแบบการทดลองไม่สามารถอธิบายสมมติฐานการทดลองที่ตั้งไว้แต่แรกได้จริง
แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีกลุ่มคนอีกมากมายที่พยายามแสวงหาแนวทาง ทฤษฎีใหม่ๆและทำการทดลองอย่างต่อเนื่อง ไม่แน่ว่าสักวัน เทคโนโลยีการเคลื่อนย้ายข้อมูลผ่านจิตอาจเกิดขึ้นได้จริง และอาจเปลี่ยนแปลงกระบวนทรรศการสื่อสารสารสนเทศของมนุษย์ไปตลอดกาล
1
อ้างอิง
https://web.archive.org/web/20170616174455/
https://psycnet.apa.org/record/2006-13061-013
ข่าว
ความรู้รอบตัว
เทคโนโลยี
1 บันทึก
7
9
13
1
7
9
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย