19 ธ.ค. 2023 เวลา 04:28 • การศึกษา

ขอบ่นนิดหนึ่ง(ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ใส่กันว่าง)

ผมพูดไป ไม่รู้ผมจะโดนกระทืบรึเปล่า แต่เรื่องนี้ผมอยากพูดมานานแล้วเกี่ยวกับเรื่องการศึกษา ผมไม่ใช่นักวิชาการการศึกษาอะไรนะ ผมพูดในฐานะคนที่เคยเรียนห่วยคนนึง โดยเฉพาะ คณิตศาสตร์
และข้อเขียนนี้เป็นเพียงความคิดเห็นนะครับ ไม่ใช่บทความทางวิชาการ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงใดๆได้ทั้งสิ้น และผมจะพูดในกรณีสายสามัญเท่านั้นนะครับ ไม่ลงไปโรงเรียนเฉพาะทาง อย่างโรงเรียนกีฬา หรือ โรงเรียนอาชีวะต่างๆ
ใจผมอ่ะนะ อยากให้ยกเลิกวิชาบางอย่างที่ไม่จำเป็น ซึ่งมันมีครับ และเยอะด้วย
มันฟังดูเป็นไปได้ยากครับ แต่ผมคิดยังงั้นจริงๆ
เด็กกิจกรรมอย่าเพิ่งหัวร้อน
อ่านให้จบก่อนครับ ผมเองก็เด็กกิจกรรม เรียนไม่เก่งเหมือนกัน แต่เพราะผมโตขึ้น ผมถึงได้เห็นอะไรชัดเจนขึ้น
วิชาการผมว่ามันสำคัญนะ ถึงบางอย่างจะไม่ได้ใช้ แต่ก็มีอะไรหลายอย่างที่มันสำคัญในวิชาการ เช่นการคิดที่เป็นเหตุเป็นผลในพวกตรรกศาสตร์ การคำนวณต่างๆ เท่าที่จำเป็น จากวิชาคณิตศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ต่างๆจากวิชาวิทยาศาสตร์ ผมอยากให้เด็กๆเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ใช่เพื่อให้เป็นนักวิทยาศาสตร์เพราะทุกคนไม่ได้อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ แต่อยากให้เรียนเพื่อให้คิดเป็นวิทยาศาสตร์
สังคมก็สำคัญ แต่ต้องปรับหลายจุดครับ เศรษฐศาสตร์เน้นเรื่องภาษีมากขึ้น และศาสนาผมว่าเอาเข้าจริงไม่จำเป็น เพราะไทยไม่ได้มีแต่ศาสนาพุทธ ควรปรับเป็นการอบรมคุณธรรมจริยธรรมโดยไม่จำเป็นต้องอิงศาสนาใดๆ คือหาจุดร่วมของมันให้ได้(แต่เอาเข้าจริงตรงนี้ยากมากครับ เข้าใจ) ยิ่งทักษะ และมารยาทในการเข้าสังคมก็ควรต้องคงไว้ครับ
ภาษานี่สำคัญมากๆ ทั้งภาษาแม่และภาษาต่างประเทศ
เคยมีคำกล่าวว่าองค์ความรู้จำนวนมากในโลกถูกบันทึกเป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้นคนที่เข้าใจภาษาอังกฤษก็มีโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้นั้นได้มากขึ้น
คอมพิวเตอร์เทคโนโลยีนี่ยิ่งตัวสำคัญเลย ทุกวันนี้เรามีคอมพิวเตอร์ มีแท็ปเล็ต สมาร์ทโฟน แทบเป็นปัจจัยที่ห้าแล้ว
สุขศึกษายิ่งต้องเน้น เพราะมันมีเพศศึกษา สำคัญมากๆในยุคนี้ ที่แม่วัยใสเยอะเหลือเกิน
ลูกเสือเอาเข้าจริงเนื้อหาวิชาจำเป็นนะครับ ทั้งการดำรงชีพในป่า การปฐมพยาบาล เพียงแต่มันควรลดการรวมแถวลง
แล้วทีนี้กิจกรรมหรือวิชาพละวิชาศิลปะทั้งหลายล่ะ
ผมพูดแบบกำปั้นทุบดินเลยนะครับว่าไม่ควรบังคับเรียนไม่ว่าจะวิชาใดๆ
แต่
มันก็ควรจะคงอยู่ไว้ในฐานะชมรมหรืออย่างน้อยๆถ้าไม่ควรถูกเอาออกจากตาราง ก็ควรคงไว้ในฐานะวิชากิจกรรมตามความถนัดที่สามารถเลือกเรียนได้ครับ
เพราะ เรามีทรัพยากรบุคคลมากมายที่สามารถพัฒนาได้ เรามีเด็กเก่งกีฬา เก่งดนตรี เก่งนาฏศิลป์ เก่งวิชาอื่นๆที่ไม่ใช่วิชาการอีกมากครับที่จะสามารถพัฒนา ส่งเสริม และต่อยอดให้พวกเขาไปในทางที่ดีได้ครับ
เพราะ การสอนแบบไทย มันเหมือนสอนปลาให้ปีนต้นไม้ ขอยกตัวอย่างเป็นผมเอง ที่ทุกวันนี้เช่นกีฬา เช่น Brazilian Jiu-Jitsu และผมก็ชอบมันมากด้วย แต่สมัยเรียนนี่เรื่องกีฬา โดยเฉพาะไอ้ที่เป็นลูกกลมๆทั้งหลาย ผมโคตรกาก เอาง่ายๆ ผมเกิดมา24ปี บอลผมยังเตะกับเขาไม่เป็นเลย ทั้งๆที่โรงเรียนก็สอนเตะฟุตบอล แถมเป็นกีฬาที่คนทั่วโลกเขาชอบด้วย
ตอนฟุตซอลโรงเรียน เพื่อนๆรุ่นเดียวกันในวงโยรวมทีมกันเตะบอลหมดทั้งรุ่น ผมยังไม่ไปกับเขาเลยครับ
ถ้าสมมุติว่าผมเก่งยิวยิตสู แต่ถูกบังคับให้เรียนบอลไปเรื่อยๆ มันจะพังไหมล่ะครับ สกิลยิวยิตสูก็หาย บอลก็ไม่เก่งขึ้นเพราะตัวเองไม่ถนัด
แล้วก็อีกอย่างหนึ่งนะครับ ถ้าใครจะบอกว่าแนวคิดผมผิดตรงที่ จะให้มาเอาวิชานั่นนี่ออกเพราะตัวเองไม่ถนัด มันดูตื้นเขิน งั้นคุณก็คงตื้นเขินเหมือนกันที่จะให้คงวิชาที่คนอื่นไม่ถนัดเพียงเพราะคุณถนัดครับ
มีคนอีกมากมายที่ถนัดและไม่ถนัดในอย่างเดียวกันกับผมครับ
ดังนั้นถ้าจะพูดว่าสิ่งเหล่านี้ในโรงเรียนคือกิจกรรมตามความถนัด คงพูดได้ไม่เต็มปากครับเพราะหลายอย่างมันถูกบังคับให้เรียน แล้วร้ายไปกว่านั้น เรียนไปแล้วยังใช้ประโยชน์ไม่ได้ เช่น ลีลาศ และ กระบี่กระบอง
คนส่วนใหญ่ที่เต้นลีลาศเก่ง เล่นกระบี่กระบองเก่ง เขาไม่ใช่คนที่เรียนในชั้นเรียนปกตินะครับ เขาคือคนที่เรียนในชมรมเฉพาะทางกันทั้งนั้น
ดูง่ายๆ โรงเรียนไหนที่มีแต่กระบี่กระบองตามตาราง ก็ไม่มีทางมีนักกระบี่กระบองที่เก่งกว่าโรงเรียนที่มีชมรมเฉพาะทางหรอกครับ กระบี่กระบองตามตาราง มันสอนอะไรไม่ได้มากกว่ารำหรอกครับ เพราะครูพละก็ไม่ได้รู้กระบี่กระบองชัดเจนแจ่มแจ้งกันทุกคนเหมือนสมัยก่อนๆ ครั้นจะไปสอนตี มันก็เสี่ยงบาดเจ็บ เลยต้องสอนแค่รำ แล้วงั้นมันจะมีประโยชน์อะไรครับ สู้เอาเวลาที่มายืนรำกระบี่ไปใช้กับกิจกรรมที่ตัวเองถนัดจริงๆมันน่าจะมีประโยชน์กว่าครับ
วิชาที่ผมถนัดที่สุดตั้งแต่ผมเรียนสายสามัญมาคือดนตรีครับ ผมเป็นนักดนตรีเก่า แต่เลิกเล่นไปแล้ว ผมก็อยากให้วิชาดนตรีถูกจัดเป็นวิชาเสริม เป็นชมรมเฉพาะทางเลย เพราะทุกคนไม่ได้ถนัดดนตรีครับ การถูกบังคับให้เรียนดนตรีนอกจากจะไม่ได้ทำให้เด็กคนนั้นเก่งดนตรีขึ้นมาแล้ว เพราะเต็มที่มันก็เรียนแค่1 คาบต่อสัปดาห์ แล้วซ้ำร้ายเด็กมันยิ่งจะเกลียดวิชาดนตรีเข้าไปอีก แน่นอนครับ คนส่วนใหญ่ชอบฟังเพลง แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะชอบเล่นดนตรีได้
ดูอย่างกระบี่กระบองเอาก็ได้ครับ ทำไมคนทั่วไปเขาถึงไม่ชอบ ก็เพราะมันสอนผิดจุดไงครัย
มันมีแนวคิดอย่างหนึ่งว่าการมีวิชาเสิรมเหล่านี้ก็เพื่อส่งเสริม สร้างความถนัดดังนั้นควรบังคับเรียนในตารางจะได้เกิดความสนใจ ไม่งั้นคนที่ถนัดเรื่องนี้จะได้เรียนสิ่งที่เขาชอบได้ยังไง
ครับ
ไอ้การเรียนสัปดาห์ละครั้งเนี่ย มันไม่ได้ทำให้เก่งขึ้นหรอกครับ มันไม่มากพอที่จะสร้างความถนัดหรอกครับ นักกีฬา นักดนตรี เขาแทบจะขายวิญญาณให้กับสิ่งนี้เลยนะถึงจะเก่งได้
ความถนัดเกิดจากความสนใจ ไม่ใช่เกิดจากการบังคับครับ ผมเคยเถียงกับคนคนหนึ่ง เขาบอกว่าก็ถ้าไม่บังคับจะสนใจได้ยังไง ผมว่ามันคนละเรื่องกันเลยครับ
คุณอาจชอบกระบี่กระบอง โดนบังคับให้เรียนคุณก็ไม่คิดอะไร แต่เขาบังคับให้คุณเรียนวิชาที่คุณไม่ชอบคุณจะสนใจมันขึ้นมาไหมครับ มันหมดยุคบังคับมาเรียนแล้วได้ดีแล้วครับ ไม่ใช่ทุกคนจะได้ดี บางคนถูกบังคับมา เรียนไม่ไหวก็ออก เสียเวลาชีวิตเขานะครับ บางคนเครียดถึงขั้นดับลมหายใจตนเองเพราะหาทางออกไม่ได้
แล้วบางอย่างไม่ต้องบังคับเขาก็สนใจครับ เพราะเขาเห็นด้านดีๆของมัน อย่างเช่นผมสนใจบราซิเลียนยิวยิตสู เพราะผมเห็นนักMMAหลายคนใช้วิชานี้ ผมไปหาที่เรียนที่ซ้อมเอง ไม่เห็นต้องมีใครบังคับเลยครับ
ภาพจากเพจเฟซบุ๊ก:วันวานสยาม
(เดี๋ยวมีโอกาส ผมจะเขียนถึงกระบี่กระบองในโพสต์ต่อๆไปครับ)
แม้กระทั่งในการเรียนวิชาการ บางอย่างยังมีความผิดพลาดเลยครับ ขอยกตัวอย่างครับ แม่ผมเองนี่แหละ สมัยมัธยมแม่ผมเรียนสูตรฟิสิกส์หรือคณิตศาสตร์อะไรสักตัวนี่แหละ แล้วมันโคตรยาก เด็กๆก็เบื่อหน่าย ครูก็ดุว่า "อย่ามาทำแบบนี้นะ สูตรนี่ยังไงพวกเธอก็ต้องใช้ จบไปทำงานก็ต้องใช้" นับจากวันนั้นมา แม่ผมเรียนจบ สอบพยาบาล ทำงาน แต่งงานกับพ่อผม มีผม มีน้องผม จนตอนนี้มีหมาอีกสองตัว และอีกสองปีแม่ผมจะเกษียณ แม่ผมแกยังไม่เคยเห็นไอ้สูตรนั่นสักครั้งเลยครับ
ปัญหามันจึงไม่ได้อยู่ที่ตัววิชา เพราะทุกองค์ความรู้เป็นสิ่งที่ดี แต่มันอยู่ที่การจัดลำดับความสำคัญและวิธีการสอนนั่นแหละครับที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำข้อบกพร่องต่างๆไปพิจารณา
เราๆท่านๆ คงประจักษ์กันนะครับ ว่าเด็กไทยต้องเรียนหนักเกือบ8-9ชม.ต่อวัน แต่คะแนนPISAไทย ที่ออกมาลำดับท้ายๆ มันไม่แปลกไปหน่อยเหรอครับ?
เทียบกับประเทศอีกหลายประเทศที่เขาเจริญแล้ว แต่เขาเวลาเรียนน้อยกว่า เด็กๆมีกิจกรรมที่ถนัดส่งเสริม ทำไมคนเขามีคุณภาพได้ครับ ส่วนนี้แหละสำคัญ ซึ่งผมไม่สามารถไปบอกได้ว่าต้องแก้ยังไง เป็นหน้าที่ของท่านเหล่านั้นทั้งหลายที่ต้องคิดครับ
บางคนอ่านมาถึงตรงนี้อาจจะบอกผมย้อนแย้งว่า ก็นี่ไง ต่างประเทศเขาเรียนน้อยยังเก่งได้เลย ทำไมไทยเราจะเก่งจากการเรียนวิชาเสริมเช่นกระบี่กระบองไม่ได้ล่ะถึงแม้มันจะแค่1คาบต่อสัปดาห์
ประทานโทษขอรับ ไอ้เรียนน้อยของเขามันเรียนน้อยแบบมีคุณภาพนะครับ ไม่ใช่เรียนน้อยแบบไร้คุณภาพเหมือนกระบี่กระบองตามโรงเรียนในไทย ที่รำอย่างเดียว จะไปใช้ประโยชน์อะไรได้ครับ รำก็ไม่สวย ตีก็ยังไม่เป็น ครึ่งๆกลางๆแบบนี้เลิกเหอะครับ แล้วไปเน้นสกิลที่สำคัญจริงๆดีกว่า
คำตอบของเรื่องนี้ก็วนกลับมาที่เดิม คือ แทนที่เราจะสอนให้นกเล่นกีตาร์ สอนให้ปลาปีนต้นไม้ สอนให้ลิงบิน เราสู้มาส่งเสริมให้นกบิน ให้ลิงปีนต้นไม้ ให้ปลาว่ายน้ำ ไม่ดีกว่าเหรอครับ
หรือจะบอกว่า ก็รุ่นชั้นยังผ่านมาได้ เด็กรุ่นใหม่ๆก็ต้องเจอแบบชั้นบ้าง ใจแคบไปกระมังครับ อย่างงี้ถ้าผมโดนตบหัว ผมก็ต้องไปว่าให้เด็กทุกคนโดนตบหัวเหมือนกันให้หมดไหมล่ะครับ?
เวลาผมเห็นเด็กรุ่นใหม่ๆ ได้เรียนอะไรดีๆ ที่รุ่นผมไม่มี ผมก็แค่เสียใจที่ตัวเองไม่ได้เรียน แต่ไม่ได้ไปว่าเขานะครับ ยิ่งถ้าเด็กรุ่นใหม่ ได้เปลี่ยนวิชาจากไม่ดีมาเป็นดี หรืออย่างน้อยๆก็เปลี่ยนนิสัยครู ผมยิ่งจะยินดีด้วยซ้ำ
คำพูดที่ว่า"เด็กสมัยนี้" ผมไม่เคยพูดเลยครับ ผมพูดแค่ว่า "ไอ้เด็กกลุ่มนี้" กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งก็เท่านั้น ไม่ใช่เด็กสมัยนี้ทั้งหมด ผมพูดเลยครับว่า เด็กสมัยนี้ เก่ง และเราแค่ต้องส่งเสริมให้เขาไปในทางที่ถูกควร
มีแต่คนคร่ำครึเท่านั้นแหละครับ ที่หวาดกลัวยุคสมัยใหม่
สรรพสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลงครับ
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
สัจธรรมของชีวิต
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
บทความที่ผมเห็นว่าที่มีเนื้อหาใกล้เคียง
โฆษณา