23 ธ.ค. 2023 เวลา 03:00 • ธุรกิจ

BYD มีอะไรดี ถึงแซง Tesla ส่งมอบรถไฟฟ้า เป็นเบอร์ 1 ของโลก

ใครเป็นเบอร์ 1 ในอุตสาหกรรม “รถยนต์ไฟฟ้า” ?
หากนับความเป็นเบอร์ 1 จากมูลค่าตลาด ก็ต้องบอกว่า Tesla ยังคงเป็นเบอร์ 1 ในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยมูลค่า 750,983 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 26.7 ล้านล้านบาท)
3
ส่วนเบอร์ 2 ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็น BYD บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีน ที่มีมูลค่าตลาด อยู่ที่ 81,385 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.9 ล้านล้านบาท)
1
แม้มูลค่าตลาดของ BYD จะยังห่างไกลจาก Tesla เป็นอย่างมาก แต่หากนับความเป็นเบอร์ 1 ในด้านยอดการส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้า BYD จะเป็นเบอร์ 1 ในทันที
ด้วยยอดการส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท (รวมรถยนต์ Plug-In Hybrid) ระหว่างเดือนมกราคม - กันยายน ปีนี้ จำนวน 2,070,528 คัน ครองส่วนแบ่งตลาด 21.9%
1
ตามมาด้วย Tesla ด้วยยอดการส่งมอบ 1,323,868 คัน ครองส่วนแบ่งตลาด 13.3%
ในขณะที่ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายอื่น ๆ อย่าง Volkswagen, Geely-Volvo และ SAIC นั้น มียอดการส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ในหลักแสนคัน เท่านั้น
คำถามคือ BYD มีดีอะไร จึงแซง Tesla ที่เป็นเบอร์ 1 ของโลก ได้สำเร็จ
ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ได้ ต้องขอย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นคร่าว ๆ ของ BYD กันก่อน ว่ามีจุดเริ่มต้นจากชายชาวจีน ที่ชื่อว่าคุณ Wang Chuanfu ที่ก่อตั้งบริษัท BYD ขึ้นมา ในปี 1995 เพื่อทำธุรกิจผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ที่ใช้กับโทรศัพท์มือถือ
1
ก่อนที่ BYD จะเข้าสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ ด้วยการไปซื้อกิจการบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ แห่งหนึ่งของจีน และเริ่มผลิตรถยนต์ ที่เป็นเครื่องยนต์สันดาป ของตัวเองเป็นครั้งแรก ในปี 2005
1
ก่อนที่จะนำรถยนต์รุ่นเดียวกัน มาดัดแปลงให้กลายเป็นรถยนต์ Plug-In Hybrid หลังจากนั้นอีก 3 ปี
2
ซึ่งเรื่องนี้เอง เป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้ BYD กลายเป็นหนึ่งในยักษ์ใหญ่ของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน
3
กลับมาที่คำถาม ที่ว่า ทำไม BYD จึงแซง Tesla ได้ ต้องบอกว่า BYD ได้ใช้ “รากฐาน” ของตัวเอง ในการแข่งขันกับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายอื่น ๆ
เริ่มจากปัจจัยแรก นั่นคือ แบตเตอรี่ ที่เรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญ ของรถยนต์ไฟฟ้าทุกคน เพราะแบตเตอรี่ เป็นแหล่งกักเก็บพลังงาน หากไม่มี ก็ไม่สามารถขับขี่ได้
3
ที่น่าสนใจก็คือ BYD มีประสบการณ์การทำแบตเตอรี่ มานานเกือบ 30 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท
2
ทำให้ในปัจจุบัน BYD กลายเป็นบริษัทที่ครองส่วนแบ่งตลาดแบตเตอรี่ ที่ใช้กับรถยนต์ไฟฟ้า ได้เป็นอันดับ 2 ของโลก ด้วยส่วนแบ่งตลาด 15.7%
4
การที่ BYD สามารถผลิตแบตเตอรี่ ที่ใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าได้เอง หมายความว่า BYD มีโอกาสที่จะควบคุมต้นทุน ได้ดีกว่าผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องพึ่งพาชิ้นส่วนแบตเตอรี่จากผู้ผลิตภายนอก เช่น CATL, LG Energy Solution หรือ Panasonic
เพราะเคยมีการประเมินกันว่า แบตเตอรี่ เป็นชิ้นส่วนที่คิดเป็นต้นทุนกว่า 30% ของรถยนต์ไฟฟ้า 1 คัน เลยทีเดียว
2
นอกจากนี้ BYD ยังมีการใช้ชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่พัฒนา และ ผลิตได้ด้วยตัวเอง มากกว่าผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายอื่น ๆ
1
ตัวอย่างเช่น BYD Seal รุ่นที่ผลิตในประเทศจีน มีการใช้ชิ้นส่วนที่ BYD สามารถผลิตได้เอง ในสัดส่วน 75%
1
เปรียบเทียบกับ Tesla Model 3 รุ่นที่ผลิตในประเทศจีน มีการใช้ชิ้นส่วนที่ Tesla สามารถผลิตได้เอง เพียง 46% เท่านั้น
ซึ่งสาเหตุ ก็คงหนีไม่พ้นความเชี่ยวชาญ ทางด้านการผลิตรถยนต์ ที่ BYD สั่งสมมานานหลายปี นับตั้งแต่การผลิตรถยนต์รุ่นแรกเป็นของตัวเอง ในปี 2005
ก่อนที่ BYD จะก้าวเข้ามาเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มตัว
3
อีกหนึ่งปัจจัย ที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน ที่มีส่วนทำให้ BYD แซงหน้า Tesla ที่เป็นเบอร์ 1 ของโลก ได้สำเร็จ ก็คือ ปัจจัยทางด้านความหลากหลาย และราคา ของรถยนต์ไฟฟ้า BYD
2
หากลองสังเกตดูดี ๆ จะพบว่า BYD มีรถยนต์ไฟฟ้าให้เลือกหลากหลายรุ่น
1
เช่น BYD Seal และ BYD Han ที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าซีดาน 4 ประตู
BYD Atto 3 ที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้า SUV ขนาดเล็ก
BYD Dolphine รถยนต์ไฟฟ้าแฮชแบค 5 ประตู
และ BYD Seagull รถยนต์ไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กที่สุด ของ BYD เป็นต้น
4
การที่ BYD มีรถยนต์ไฟฟ้าให้เลือกมากขนาดนี้ นั่นแปลว่า BYD ก็มีโอกาสที่จะเข้าถึงลูกค้า ที่มีความต้องการแตกต่างกัน ได้แทบทุกกลุ่ม
ไม่ว่ากลุ่มลูกค้านั้น จะเป็นคนโสด คนที่เพิ่งเริ่มทำงาน คนที่มีครอบครัว ก็สามารถเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของ BYD ได้
1
เช่นเดียวกันกับปัจจัยทางด้านราคา ที่ BYD มีรถยนต์ไฟฟ้า ราคาเริ่มต้นเพียง 73,000 หยวน (ราว 361,000 บาท) ทำให้ผู้ที่มีกำลังทรัพย์น้อย ก็สามาถเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าของ BYD ได้
โดยไม่มีปัจจัยทางด้านราคา มาเป็นกำแพง ที่กีดขวางการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า อีกต่อไป
เปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น กับรถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla รุ่นที่ถูกที่สุด คือ Tesla Model 3 มีราคาอยู่ที่ 28,490 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1,000,000 บาท)
1
ก็ยังมีราคาสูงกว่า BYD Seagull อยู่หลายแสนบาท ทำให้ผู้ที่มีงบประมาณน้อย ต้องมองข้าม Tesla ไปโดยปริยาย
เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ หลายคนน่าจะสงสัยว่า ผลประกอบการของ BYD เป็นอย่างไร
ผลประกอบการของ BYD ย้อนหลัง 3 ปี
ปี 2020 รายได้ 821,299 ล้านบาท กำไร 22,207 ล้านบาท
ปี 2021 รายได้ 1,133,590 ล้านบาท กำไร 15,971 ล้านบาท
ปี 2022 รายได้ 2,104,490 ล้านบาท กำไร 82,462 ล้านบาท
3
ที่น่าสนใจก็คือ แม้ในปีที่แล้ว BYD จะมีรายได้ทะลุ 2 ล้านล้านบาท ไปแล้ว
แต่ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ รถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก มียอดขาย คิดเป็นสัดส่วนเพียง 16% ของรถยนต์ทุกประเภทรวมกันเท่านั้น
2
นั่นหมายความว่า รถยนต์ไฟฟ้าอย่าง BYD ยังมีโอกาสในการเติบโต อยู่อีกมาก
รู้หรือไม่ว่า BYD ก็เป็นหนึ่งในบริษัท ที่ MEGA10CHINA คาดว่าจะเข้าไปลงทุน
โดย MEGA10CHINA เป็นกองทุน ที่จะเข้าไปลงทุนใน 10 บริษัท ทรงอิทธิพลในจีน
กองทุน MEGA10CHINA และ กองทุน MEGA10CHINARMF มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนของบริษัทจดทะเบียนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง(Hong Kong Stock Exchange; HKEX)
3
ซึ่งเป็นบริษัทที่เน้นความเป็นผู้นำในด้านตราสินค้า (Brand Value) ในกลุ่ม TOP/BEST CHINESE BRANDS จากการจัดอันดับโดยบริษัทที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในเรื่องของการจัดอันดับดังกล่าว โดยผู้จัดการกองทุนจะคัดเลือกและพิจารณาเน้นลงทุนในตราสารทุนที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกจำนวน 10 บริษัท
1
รวมถึงเป็นหุ้นที่มีธุรกิจบนจีนแผ่นดินใหญ่ แต่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (HKEX) ที่รัฐบาลจีนไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ทำให้กิจการที่เข้าไปลงทุน ล้วนเป็นกิจการที่บริหารจัดการได้อย่างอิสระอีกด้วย
1
กองทุน MEGA10CHINARMF เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ และได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยเงินลงทุน สามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้
2
กองทุน MEGA10CHINA มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนเป็น
ชนิดเพื่อการออม MEGA10CHINA-SSF เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการออมเงินระยะยาว และได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยเงินลงทุนในชนิดหน่วยลงทุนนี้ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้
ชนิดสะสมมูลค่า MEGA10CHINA-A เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนผ่านการเพิ่มมูลค่าของหน่วยลงทุนเป็นหลัก (Total Return)
2
โดย กองทุน MEGA10CHINA และ MEGA10CHINARMFจะ IPO ในวันที่ 21 ถึงวันที่– 26 ธันวาคม 2566 นี้
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดและเริ่มต้นลงทุนได้ที่ บลจ.ทาลิส talisam.co.th 02-0150215, 02-0150216, 02-0150222 และ ผู้สนับสนุนการขาย 29 ราย
1.บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด
2.บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป จำกัด (มหาชน)
3.บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี พัฒนสิน จำกัด (มหาชน)
4.บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)
5.บริษัทหลักทรัพย์ เว็ลธ์ เมจิก จำกัด
6.หลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)
7.บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
8.บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
9.บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด
10.บริษัท หลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
11.บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
12.บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
13.บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด
14.บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โรโบเวลธ์ จำกัด
15.บริษัท หลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด
16.บริษัทหลักทรัพย์พาย จำกัด (มหาชน)
17.บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด
18.บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เทรเชอริสต์ จำกัด
2
19.บริษัทหลักทรัพย์หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด
20.บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)
21.บริษัทหลักทรัพย์ สยามเวลธ์ จำกัด
22.ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
23.บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด
24.บริษัทหลักทรัพย์ ไพน์ เวลท์ โซลูชั่น จำกัด
25.บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด
26.บริษัท หลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด
27.บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็กซ์สปริง จำกัด
28.บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
29.บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด
เพื่อประโยชน์ของท่านอย่าลืมลงทะเบียนขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร ได้ที่ https://www.talisam.co.th/terms-and-conditions/
คำเตือน :
-กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ และการลงทุนในกองทุนรวมตราสารแห่งทุนอาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน
-กองทุนนี้มีการลงทุนในต่างประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และมีการลงทุนกระจุกตัวของหลักทรัพย์ หมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
-ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
โฆษณา