22 ธ.ค. 2023 เวลา 02:15 • หุ้น & เศรษฐกิจ

แองโกลาถอนตัว OPEC หรือว่า OPEC ใกล้ถึงจุดล่มสลาย | เหตุผลที่กลุ่มผู้ขาดมักล้มเหลวอยู่เสมอๆ

แองโกลาลาออกจากกลุ่มโอเปก หลังข้อพิพาทเรื่องโควต้าการผลิตน้ำมัน พร้อมประกาศถอนตัวหลังเป็นสมาชิกมา 16 ปี นับเป็นการถอนตัวตามประเทศต่างๆในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เช่น กาตาร์ อินโดนีเซีย และเอกวาดอร์ ส่งผลให้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบเบรนต์ดิ่งลงมากถึง 2.4% จากข่าว ก่อนที่จะฟื้นตัวขึ้นเพื่อสิ้นสุดวันที่ -0.4%
ทั้งนี้การเคลื่อนไหวดังกล่าวจะทำให้กลุ่มพันธมิตรหดตัวลงเหลือ 12 ประเทศในช่วงเวลาที่พยายามดิ้นรนเพื่อหนุนราคาซึ่งร่วงลงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ขณะที่ทางด้าน บ็อบ แมคเนลลี ประธานที่ปรึกษา Rapidan Energy Group และอดีตเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวกล่าว เรื่องนี้ยังไม่ใช่ปัญหาสำคัญเร่งด่วนสำหรับองค์กรหรือกลุ่ม OPEC+ ในวงกว้างซึ่งรวมถึงรัสเซียด้วย
มันไม่ได้ส่งสัญญาณถึงการแตกแยกในการทำงานร่วมกันของ OPEC+ และไม่เป็นอันตรายต่อการลดอุปทานในระยะสั้น” และ “อย่างที่กล่าวไปแล้ว OPEC+ จะต้องดำเนินการร่วมกันต่อไปในอีก 2-3 ปีข้างหน้า”
3
🎯 เหตุผลที่ทำให้ cartel มักจะล่มสลายอยู่เสมอๆ
Cartel หรือกลุ่มผู้ผูกขาดเพื่อครอบงำตลาด คือ การสมรู้ร่วมคิดกันเพื่อเพิ่มผลกำไรและครอบครองตลาด โดยกลุ่มผู้ผูกขาดมักจะจัดตั้งเป็นองค์กรเพื่อจำกัดการแข่งขันและพยายามเพิ่มราคาสินค้า โดยการสร้างการขาดแคลนเทียมผ่าน 1. การจำกัดโควตาการผลิตที่ต่ำกว่าความสามารถในการผลิต 2. การกักตุนสินค้า และ 3. โควตาทางการตลาด
1
แม้ว่าการรวมกลุ่มกันเพื่อควบคุมราคาดูเหมือนจะเป็นไอเดียที่ดี แต่เมื่อเวลาผ่านไปการรวมกลุ่มผู้ขาดมักจะลงเอยด้วยการแตกแยกนั่นเองค่ะ ด้วยเหตุผลหลักๆ 3 ข้อ
1
1️⃣ Incentive To Cheat (หรือแรงจูงใจให้โกง)
เป้าหมายของการรวมกลุ่มกันคือ การสร้างกำไรสูงสุดให้กับกลุ่มการผูกขาดนั่นเองค่ะ แต่ต้องย้ำชัดๆนะคะว่าเป็นกำไรสูงสุดของทั้งกลุ่มรวมกัน ซึ่งจะเป็นคนละอย่างกับกำไรสูงสุดของแต่ละบริษัทนั่นเองค่ะ เพราะแต่ละเจ้ามีเทคโนโลยีการผลิต ต้นทุน และจุดคุ้มทุนไม่เท่ากัน ดังนั้นต่อให้ทั้งกลุ่มจะได้กำไรรวมกันสูงสุด แต่ก็จะมีบางคนหรือบางเจ้าได้กำไรน้อยกว่าที่ควรจะได้นั่นเอง ทำให้สุดท้ายก็จะมีการโกงเพราะต้องการกำไรมากขึ้นนั่นเองค่ะ เช่น ผลิตหรือขายเกินโควต้า เป็นต้น
3
2️⃣ ต้องอาศัยความเชื่อใจกันเป็นอย่างมาก
1
การรวมกลุ่มกันแบบนี้ต้องอาศัยการปฏิบัติตามข้อตกลงของทุกๆฝ่าย ซึ่งในหลายๆครั้งก็เป็นเรื่องยากที่จะเข้าไปตรวจสอบว่าผู้ผลิตแต่ละรายได้ทำตามข้อตกลงอย่างเคร่งครัดหรือไม่ นอกจากนี้ด้วยเหตุผลจากข้อแรกที่เป็นแรงจูงใจให้โกงแล้ว ทำให้อาจมีการผลิตเกินโควต้า แอบขายในตลาดมืด หรือแอบขายแบบตัดราคาก็ได้เช่นกัน ซึ่งถ้าถูกจับได้ว่ามีการละเมิดข้อตกลง ก็จะต้องมีบทลงโทษต่อสมาชิก มีความไม่เชื่อใจกันมากขึ้น ไม่พอใจกันมากขึ้น และสุดท้ายก็จะลงเอยด้วยความแตกแยกนั่นเองค่ะ
1
3️⃣ คู่แข่งรายใหม่ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก
ถ้ามีผู้ผลิตรายใหม่เกิดขึ้นในตลาด และสามารถเข้ามาแข่งขันกับกลุ่มผู้ขาดได้ เช่น อาจมีต้นทุนที่ถูกกว่า หรือมีเทคโนโลยีการผลิตที่ดีกว่า และสามารถขายสินค้าเดียวกันได้ในราคาที่ต่ำกว่า ลูกค้าจะเปลี่ยนใจไปซื้อสินค้าที่ผู้ผลิตรายใหม่ทันทีนั่นเองค่ะ ทีนี้พอรายได้ของกลุ่มผู้ขาดลดลง ก็จะมีคนโกงนั่นเองค่ะ และสุดท้ายกลุ่มผูกขาดก็จะล่มลงในที่สุด
2
✅ นำมาใช้ในกรณีแองโกลา
ในปัจจุบันแองโกลาผลิตเต็มกำลังการผลิตสูงสุดที่ทำได้อยู่แล้วค่ะ ทำให้ในตอนแรกไม่มีแรงจูงใจในการโกง แต่ด้วยในระยะหลังๆราคาน้ำมันดิบมีการปรับตัวลงต่อเนื่องไม่ว่าจะมาจากทั้ง 1. ความต้องการที่ลดลง หรือ 2. ปริมาณน้ำมันออกมาเยอะขึ้นจากฝั่ง shale oil
1
ทีนี้พอทางกลุ่ม OPEC+ อยากควบคุมราคาน้ำมัน ก็จะจำเป็นต้องลดกำลังการผลิตอย่างที่เราเห็นว่าเค้าทำมาโดยตลอด ก็เลยจะไปลดโควต้าของแองโกลานั่นเองค่ะ ทำให้กำไรของแองโกลาลดลง และสุดท้ายก็ลงเอยด้วยการทะเลาะกันและถอนตัวออกจากลุ่มในที่สุด โดยทางแองโกลาชี้แจงว่า เราทำเพื่อประโยชน์สูงสุดของตนเอง (จะเห็นว่าเป็นประโยชน์สูงสุดของตนเอง ไม่ใช่ของทั้งกลุ่ม)
1
หลังจากนี้ปัญหาดังกล่าวอาจจะเริ่มหนักขึ้นเรื่อยๆค่ะ เพราะตอนนี้กำลังการผลิตของ shale oil จากฝั่งสหรัฐฯ (อยู่นอก OPEC+) พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และเศรษฐกิจที่จะเติบโตชะลอตัวลงในปีหน้า ทำให้ IEA คาดการณ์ว่าจะเกิดภาวะอุปทานส่วนเกินในปี 2024 (ปริมาณน้ำมันมากกว่าความต้องการใช้)
ซึ่งภาวะอุปทานส่วนเกินนี้จะทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวลง และยิ่งทำให้มี incentive to cheat เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆนั่นเองค่ะ นี่ยังไม่นับว่าเทรนด์ EV กำลังเข้ามาแบ่งส่วนแบ่งการตลาดมากขึ้นและเร็วขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เราอาจจะเข้าสู่ภาวะ peak oil ไปแล้ว ทำให้เราเห็นแล้วว่าในปีนี้การออกมา cut supply ของ OPEC+ ไม่ได้ผลนั่นเองค่ะ
3
Source: Bloomberg
✅ ติดตาม Beauty Investor เพิ่มเติมได้ทาง
#เศรษฐกิจ #การเงิน #ลงทุน #กองทุน #มือใหม่ #ข่าวเศรษฐกิจทั่วโลก #ข่าวทั่วโลก #หุ้น #กองทุนรวม #ดอกเบี้ย #นักลงทุน #GDP #Recession #เศรษฐกิจถดถอย #วิกฤติเศรษฐกิจ #วิกฤติ #inflation #เงินเฟ้อ #น้ำมัน #ราคาน้ำมัน #FED #เฟด #สหรัฐฯ #OPEC #โอเปก #รัสเซีย
โฆษณา