24 ธ.ค. 2023 เวลา 14:56 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

EP1 : Review การเตรียมตัวเพื่อเลื่อนระดับเป็นสามัญวิศวกรไฟฟ้า พร้อมแบ่งปันประสบการณ์การสอบสัมภาษณ์

หมายเหตุ : บทความนี้เขียนขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2021 ที่ medium.com โดยนำมา Re-write อีกครั้งในวันที่ 24 ธ.ค. 2023 ที่ Blockdit จึงทำให้ข้อมูลบางส่วน เช่น รายการเอกสารที่ต้องเตรียมในหัวข้อที่ 2) การเตรียมเอกสารเพื่อยื่นผลงาน ยังไม่เป็นปัจจุบัน ขอให้ผู้อ่านศึกษาข้อมูลปัจจุบันที่ Website ของสภาวิศวกรเพื่อข้อมูลที่ถูกต้องในการยื่นเลื่อนระดับ
สวัสดีผู้อ่านทุกคนนะคะ เนื่องจากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเราเพิ่งได้รับใบอนุญาตประกอบอาชีพวิศวกรรมควบคุมระดับสามัญวิศวกร สาขาไฟฟ้ากำลัง มาสดๆร้อนๆ จึงตั้งใจที่จะมาแชร์ประสบการณ์รวมไปถึงขั้นตอนเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตใหม่ในครั้งนี้ ตั้งแต่ประสบการณ์การทำงาน, การเตรียมยื่นผลงาน ไปจนถึงการเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์เลยค่ะ
โดยคุณสมบัติของผู้สมัครขอเลื่อนระดับเป็นสามัญวิศวกร เพื่อนๆสามารถศึกษาได้จากเวบไซต์ของสภาวิศวรด้านล่างนี้เลยค่ะ
  • 1) ประสบการณ์การทำงาน
ปัจจุบันเราอายุ 27 ปี ทำงานที่บริษัทรับเหมาติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล มาเป็นเวลาเกือบๆ 4 ปีแล้วค่ะ (ณ ตอนที่ยื่นเอกสาร) ได้มีโอกาสทำทั้งงานประเมินราคา ไปจนถึงออกแบบระบบไฟฟ้าแรงดันปานกลางตั้งแต่ 22–24kV ลงมาจนถึงงานแรงดันต่ำ 400–230V
นอกจากนี้ก็มีประสบการณ์ออกแบบระบบสื่อสารต่างๆอีกด้วย แต่จะไม่ได้รู้ลึกและซับซ้อนเท่ากับ expert ทางด้านนี้ ก็จะอาศัยคำปรึกษาจาก Supplier ซึ่งเป็นผู้จำหน่าย Product ซึ่งเราจะต้องออกแบบในระบบนั้นๆ จากประสบการณ์ข้างต้น บวกกับได้รับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรไฟฟ้ากำลังมาครบ 3 ปีพอดี จึงทำให้ตัดสินใจยื่นผลงาน (อัพเกรดตัวเองสักหน่อยยย) นำไปสู่ขั้นตอนถัดไป
  • 2) การเตรียมเอกสารเพื่อยื่นผลงาน
ในหัวข้อนี้จะขออธิบายก่อนว่า ในการเตรียมผลงาน ทางสภาวิศวกรจะมีกำหนดมาเลยว่ามีเอกสารอะไรบ้าง (ตาม Link ด้านบนก็มีบอกไว้ด้วย) ซึ่งเราจะสรุปเป็นหัวข้อดังนี้
รายการเอกสารที่ต้องใช้ยื่นขอรับใบอนุญาต
  • รูปถ่าย
  • ลายเซ็นต์
  • แบบประวัติการประกอบวิชาชีพ : มีแบบฟอร์มให้ดาวน์โหลด
  • บัญชีแสดงผลงานและปริมาณงานในการประกอบอาชีพวิศวกรรม : มีแบบฟอร์มให้ดาวน์โหลด https://service-api.coe.or.th/assets/doc_7_0923.docx
อธิบายเพิ่มเติมเล็กน้อยสำหรับหัวข้อนี้ คือ งานที่เราทำ ควรจะต้องเป็นงานที่รับรองโดยสามัญวิศวกรหรือวุฒิวิศวกรในสาขาเดียวกันกับผู้ยื่นขอ อันนี้สำคัญมากๆ เนื่องจากการที่เราทำงานที่เข้าข่ายวิศวกรรมควบคุมนั้น จะมีข้อกำหนดว่าวิศวกรระดับใด ทำงานแบบใดได้บ้างอยู่ด้วย
โดยงานที่เรายื่น เป็นงานประเภท "ออกแบบและคำนวณ" ซึ่งกำหนดขอบเขตดังนี้
Credit : เอกสารโดย อ.ลือชัย ทองนิล
จากตารางด้านบน เราจะยกตัวอย่างในกรณีของเราเอง โดยผลงานของเรา ทั้งหมดจะ เป็นงานออกแบบและคำนวณที่ระบบแรงดัน 22kV หรือ 24kV โดยหม้อแปลงมีขนาดตั้งแต่ 500kVA จนถึง 2500kVA เลย ทำให้ผลงานของเรานั้น เกินขอบเขตที่ภาคีวิศวกรรับผิดชอบ จึงต้องทำงานภายใต้สามัญวิศวกร หรือวุฒิวิศวกรนั่นเอง
รายงานผลงานโครงการดีเด่น : หัวข้อนี้ เราจะต้องคัดเลือกผลงานจากบัญชีแสดงผลงานและปริมาณงานของเรามา 2–5 ผลงาน เพื่อเป็นผลงานดีเด่น ซึ่งเป็นผลงานที่กรรมการจะใช้สัมภาษณ์เราเมื่อเรายื่นผลงานผ่าน โดยเราจะต้องทำรายงานโดยมีรายละเอียดตามนี้ รายละเอียดการทำรายงานสาขาไฟฟ้า
  • รายงานผลงานโครงการดีเด่น : หัวข้อนี้ เราจะต้องคัดเลือกผลงานจากบัญชีแสดงผลงานและปริมาณงานของเรามา 2–5 ผลงาน เพื่อเป็นผลงานดีเด่น ซึ่งเป็นผลงานที่กรรมการจะใช้สัมภาษณ์เราเมื่อเรายื่นผลงานผ่าน โดยเราจะต้องทำรายงานโดยมีรายละเอียดตามลิงค์ด้านล่าง
  • แบบประเมินตนเองด้านความสามารถทางวิศวกรรมควบคุม : มีแบบฟอร์ม
  • หนังสือรับรอง กรณีใช้ผลงานดีเด่นต่างประเทศ (ถ้ามี)
  • หลักฐานการศึกษา เพิ่มเติม (ถ้ามี)
  • คะแนนเพิ่มเติมกรณีใช้หน่วยความรู้ (CPD) เพิ่มเติม (ถ้ามี) : อันนี้สำหรับคนที่มีโอกาสได้ไปอบรมเยอะๆจะได้เปรียบมาก เนื่องจากคะแนนจากหน่วย CPD สามารถช่วยเพิ่มคะแนนสัมภาษณ์ให้เราได้ ซึ่งอันนี้เราไม่ได้ยื่นไปด้วย เนื่องจากเราไม่ได้อบรมมากพอที่จะทำให้มีคะแนนจากหัวข้อนี้ ถ้าสนใจลองไปศึกษาต่อนะ ว่าจะกี่หน่วยจะได้กี่คะแนน
เมื่อเตรียมผลงานเสร็จเรียบร้อย ก็ดำเนินการยื่นผลงาน ซึ่งหากเอกสารถูกต้อง เมื่ออัพโหลดไปแล้ว ในวันถัดมาจะมีคำว่า Approve ตัวสีเขียวขึ้นมาในช่องที่เราอัพโหลด
จากนั้นก็รอกรรมการตรวจสอบผลงาน เมื่อกรรมการตรวจสอบผลงานเรียบร้อยแล้วผลงานผ่าน ก็จะนัดสัมภาษณ์ ซึ่งของเราใช้เวลาประมาณ 2 เดือน 
(ยื่น 10 มิย. 2021 ได้ e-mail นัดสัมภาษณ์ตอนปลายเดือน สค. 2021)
  • 3) ขั้นตอนการเตรียมตัวสัมภาษณ์
เป็นขั้นตอนที่เราศึกษาผลงานดีเด่นของตัวเอง เพื่อหาที่มาที่ไปที่แน่ชัดของงานที่เราได้ออกแบบไป ง่ายๆคือใน Single line diagram ของเรานี่แหละ ที่กรรมการผู้สัมภาษณ์จะนำมาเป็นข้อสอบสัมภาษณ์ วิธีการที่เราเตรียมตัวก็จะเป็นประมาณนี้
  • ตั้งคำถามกับสัญลักษณ์ทุกอย่างใน Single line diagram ของเราเอง เช่น คำนวณขนาดหม้อแปลงอย่างไร ? , ทำไมถึงเลือก Circuit breaker ขนาดเท่านี้ ?
  • ติดตามเพจของสภาวิศวกร เพื่อรอว่าเมื่อไหร่จะมีสัมนาเกี่ยวกับการขอเลื่อนระดับเป็นสามัญวิศวกร ซึ่งก็จะมีมาเรื่อยๆ โดยอาจารย์ก็จะแนะนำตั้งแต่การยื่นผลงานไปจนถึงสัมภาษณ์เลย
  • หาความรู้รอบตัวเพิ่มเติม : สำหรับเรา แนะนำ FB Page : ห้องไฟฟ้า
และแล้วก็มาถึงวันสัมภาษณ์ ของเราเป็นการสัมภาษณ์ผ่านโปรแกรม Zoom
เมื่อถึงเวลาเข้าห้อง เจ้าหน้าที่จะถึงเราเข้าไปรอในห้องรอสัมภาษณ์ เมื่อกรรมการสัมภาษณ์คนก่อนหน้าเสร็จ จึงจะดึงเราเข้าห้องที่มีคณะกรรมการ
อาจารย์จะให้เราแนะนำตัวเองก่อน เกี่ยวกับประสบการณ์การทำงาน ก่อนที่จะให้เราเริ่มอธิบายผลงานดีเด่น (เลือกจากผลงานดีเด่นที่ทำรายงานมาแค่ 1 ผลงาน) หากเราอธิบาย Single line diagram ได้คล่อง อาจารย์ก็จะไม่ได้สงสัยในงานที่เราทำ ว่าเราทำเองจริงหรือเปล่า
คำถามที่เราเจอในห้องสัมภาษณ์ ถ้าให้พูดตรงๆคือ ที่อ่านมาไม่ค่อยถาม ถามแต่ที่ไม่รู้ 555555 ของเราที่เจอคือ แทบไม่ถามวิธีการออกแบบ แต่อาจารย์ถามลงลึกไปถึงส่วนประกอบของแต่ละอุปกรณ์เลย ซึ่งทำให้เรามึนมาก เพราะบางอย่างเราก็ไม่ได้รู้ลึกถึงขนาดนั้น ซึ่งเราจะบอกอาจารย์ไปตรงๆเลยว่าไม่ทราบค่ะ เนื่องจากการแถดูจะเป็นวิธีที่ไม่ค่อยดีนัก โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นความรู้ทางวิศวกรรมซึ่งมีความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ
faiiside
พอเราตอบว่าไม่รู้ อาจารย์ก็ไม่ได้ใจร้ายขนาดนั้น และจะอธิบายความรู้เพิ่มเติมให้เราฟัง (ส่วนเราก็จดรัวๆเลยยยยยย แบบลนๆ) 
ส่วนคำถามที่เรารู้ (ประมาณ 30%–35%)เราก็ตอบแบบใจเย็น และมีสติ ก็คือต้องแสดงให้เห็นว่าเรื่องที่เรารู้ เรารู้จริงๆนะ
เมื่อสัมภาษณ์เสร็จ (อาจารย์ให้สัญญาณว่า ของผมไม่มีคำถามอะไรจะถามแล้ว) อาจารย์ก็ได้ให้โอวาทเล็กน้อย เกี่ยวกับการไปอบรม หาความรู้เพิ่มเติม รวมไปถึงหาคำตอบในสิ่งที่วันนี้ตอบไม่ได้ ก่อนจะออกจากห้องสัมภาษณ์กันไป
ส่วนเราอยู่ในอาการแบบ แย่แล้ว ตอบได้น้อยมาก จะผ่านหรือเปล่า ทำไมเจอคำถามยากขนาดนี้ว้า ซึมไปหลายนาทีอยู่
แต่แล้วหลังจากรอลุ้นผลสัมภาษณ์มา 1 เดือนกว่าๆ ในที่สุด
"ผ่านแล้วจ้าาาาาาา"
ตะกุกตะกัก ไม่รู้ไปบ้าง แต่ก็ผ่านมาได้
รู้สึกขอบคุณอาจารย์ด้วยที่ถามคำถามที่เราตอบไม่ได้เยอะมาก ทำให้เรารู้สึกว่าตัวเองยังไม่เก่ง และต้องไปหาความรู้เพิ่มเติมอีกเยอะมาก
จบการรีวิวเรื่องมีสาระยาวๆครั้งแรกในชีวิต
หวังว่าประสบการณ์ของเราจะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆทุกคนค่ะ
หากมีคำถาม หรือเรื่องที่อยากแชร์สามารถคอมเมนต์ไว้ได้นะคะ
โฆษณา