25 ธ.ค. 2023 เวลา 07:41 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

อาณาจักรสิ่งมีชีวิต | Biology with JRitsme.

🕕 ระยะเวลาในการอ่าน 6 นาที
หมวดหมู่ที่ใช้จำแนกตามหลักอนุกรมวิธานสากล ที่มา: https://faunafacts.com/classification-of-living-things/
เกณฑ์การจัดจำแนกทางอนุกรมวิธานตามหลักสากลแล้ว จะแบ่งจากหมวดใหญ่ไปหมวดย่อย ตามความเหมือนหรือแตกต่างตามลักษณะสัณฐานวิทยา สรีรวิทยา พฤติกรรม และพันธุกรรม ถ้าจะให้อธิบายเกณฑ์ทั้งหมดคงต้องใช้เวลาค่อนชีวิต เลยจะขออธิบายหมวดหมู่ในระดับต่าง ๆ พอสังเขปนะครับ
โดเมนทั้ง 3 และอาณาจักรทั้ง 6 ที่มา: https://ib.bioninja.com.au/standard-level/topic-5-evolution-and-biodi/53-classification-of-biodiv/domains-of-life.html
หมวดที่ใหญ่ที่สุดเรียกว่า “โดเมน” [Domain] ใช้จำแนกสิ่งมีชีวิต 3 กลุ่มได้แก่ อาร์เคีย [Archaea] หรือแบคทีเรียโบราณ โพรคาริโอต [Prokaryote] สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส นั่นคือแบคทีเรีย และยูคาริโต [Eukaryote] เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เช่น โปรโตซัว เห็ดรา พืช สัตว์
รองลงมาคือ “อาณาจักร” [Kingdom] ใช้ในการแบ่งสิ่งมีชีวิตในแต่ละโดเมนออกจากกัน ตามลักษณะทางกายภาพพื้นฐานอันสังเกตได้ ได้แก่ อาณาจักรมอเนอรา ที่ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสหรืออยู่ในโดเมนโพรคาริโอต นั่นคือแบคทีเรีย อาณาจักรโพรติสตา [Protista] ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กหรือโปรโตซัว อาณาจักรฟังไจ [Fungi] ประกอบด้วยเห็ดรา อาณาจักรพืช [Plantae] และอาณาจักรสัตว์ [Animalia]
การจำแนกไฟลัมของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักร และแสดงวิวัฒนาการ ที่มา: https://www.naturalbornscientists.com/seamonkeys/2021/1/18/phylum-the-animal-kingdom-has-9-major-phyla-that-further-subdivide-into-a-total-of-35-phyla-total
ย่อยลงมาจากแต่ละอาณาจักรจะแบ่งเป็น “ไฟลัม” [Phylum] ตัวอย่างเช่น ในอาณาจักรสัตว์ ประกอบด้วย ไฟลัมสัตว์ขาปล้อง [Arthropoda] หนอนตัวแบน [Platyhelminthes] หนอนกลม [Nematoda] สัตว์มีกระดูกสันหลัง [Chordata]
หมดหมู่ชั้นทั้งหมดที่อยู่ภายใต้ไฟลัมสัตว์ทีกระดูกาสันหลัง ที่มา: https://www.exploringnature.org/db/view/Class-Mammals-4th-Grade-and-up
“ชั้น” [Class] ใช้แบ่งย่อยไฟลัมลงมา เช่น ในไฟลัมสัตว์มีประดูกสันหลัง แบ่งเป็นชั้นปลาไม่มีขากรรไกร [Cyclostoma] ปลากระดูกอ่อน [Chondrichthyes] ปลากระดูกแข็ง [Osteichthyes] สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก [Amphibian] สัตว์เลื้อยคลาน [Reptile] สัตว์ปีก [Aves] สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม [Mammals]
“อันดับ” [Order] ใช้แบ่งย่อยชั้นลงมา เช่น ชั้นกระดูกสันหลังแบ่งเป็น สัตว์พันแทะ [Rodentia] สัตว์กีบคี่ [Perissodactyla] สัตว์กีบคู่ [Artiodactyla] สัตว์มีงวง [Proboscidea] สัตว์ทีครีบ [Cetacea] สัตว์สมองเจริญ [Primate]
“วงศ์” [Family] ใช้แบ่งย่อยอันดับลงมา เช่น สัตว์สมองเจริญ แบ่งได้เป็น วงศ์ Lorisidae หรือลิงลม วงศ์ Hylobatidae หรือชะนี วงศ์ Hominidae เช่น กอริลลา, อุรังอุตัง, ชิมแปนซี, มนุษย์
“สกุล” [Genus] ใช้แบ่งย่อยวงศ์ลงมา เริ่มการใช้พันธุกรรมในการจัดจำแนกมากขึ้น และชื่อสกุลจะปรากฎในชื่อวิทยาศาสตร์เสมอ เช่น Homo เป็นสกุลของมนุษย์
“สปีชีส์” [Species] คือหมวดหมู่สุดท้ายสำหรับระบุชนิดสิ่งมีชีวิต เขียนเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ระบบทวินาม เช่น Homo sapiens คือชื่อวิทยาศาสตร์หรือชื่อชนิดของมนุษย์ปัจจุบัน
ในตอนต่อไป มาพบกับสิ่งมีชีวิตโบราณที่อยู่ในโดเมนอาร์เคีย มันคืออะไรกันแน่ รอชมได้เลยครับ อย่าลืมติดตามเพจ Mr.BlackCatz. Academy ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจ เพื่อไม่พลาดเนื้อหาชีววิทยาฉบับคนทั่วไปเข้าใจง่ายนะครับ 😺

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา