ถ้าหากจะให้ผมยกตัวอย่าง ผมขอสมมติเรื่องราวขึ้นมาเรื่องหนึ่ง เอาแบบเข้าใจง่ายๆ ซึ่งเรื่องก็มีอยู่ว่า นาย A ทำการลงทุนกับหุ้นตัวหนึ่ง ซึ่งนาย A ก็ทำการศึกษาทุกอย่างเกี่ยวกับหุ้นตัวนี้อย่างจริงจังแล้ว ว่าเหมาะสมที่จะทำการลงทุนในระยะยาว และนาย A ก็ยังศึกษาหุ้นที่จะทำการลงทุนอีกหลายตัว ซึ่งหุ้นเหล่านั้น เป็นหุ้นของบริษัทที่กำลังเติบโตไปในทางที่ดีอย่างมาก ถ้าหากพิจารณาตามดุลยพินิจของนาย A แล้ว มันก็เหมาะแก่การลงทุนอย่างยิ่งเลยทีเดียว
แต่ปรากฏว่าในช่วงๆหนึ่ง ก็เกิด วิกฤตการณ์การเงิน ( The Great Depression ) ซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลก เป็นเหตุให้การลงทุนของนาย A ต้องจบลง โดยที่ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้เลย
ในขณะที่ นาย B ซึ่งเกิดในอีกยุคสมัยหนึ่ง ที่เศรษฐกิจดีมากๆ นาย B ซึ่งวางแผนลงทุนคล้ายคลึงกับของนาย A แต่กลับทำเงินจากการลงทุนระยะยาวได้มาก ผลตอบแทนที่ได้รับมีมูลค่าสูงตามคาด ตามที่ผมได้ยกตัวอย่างครับ ว่าบางครั้ง ปัจจัยภายนอก ก็ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวง ต่อชีวิตเรา มากกว่าปัจจัยภายในเสียอีก ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ เราทำอะไรไม่ได้ ได้แต่ยอมรับ และก็วางแผนเอาตัวรอดในสถานการณ์วิกฤตกันไปครับ
ถ้าให้พูดสรุป ก็คือ นาย B นั้นเป็นบุคคลที่ถือว่าโชคดี ที่ดันเกิดและโต ในยุคที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง ในทางตรงกันข้าม นาย A ที่มีแผนการลงทุนที่ดีเช่นกัน แต่โชคร้ายที่เกิด และโตในช่วงของ วิกฤตเศรษฐกิจ
2.) การไม่รู้จักพอ
เคยมีคำกล่าวว่า “ The only way to know how much food you can eat is to eat until you’re sick “ ซึ่งแปลได้ว่า ” ทางเดียวที่คุณจะรู้ว่าคุณกินอาหารได้เยอะแค่ไหน ก็คือกินมันจนอ้วกไปเลย “ ใช่ครับ และประโยคนี้บอกอะไรกับเรา? หลายคนไม่เจ็บไม่จำครับ ผมขอยกตัวอย่างให้ชัดเจนกับในเรื่องของการพนันนะครับ เพราะประโยคนี้ใช้อธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้เล่นพนันได้ชัดเจนมาก