29 ธ.ค. 2023 เวลา 10:36 • ข่าวรอบโลก
ไทย

การประชุมผู้นำความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (MLC)

นายกฯ ประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (the 4th Mekong-Lancang Cooperation(MLC)) ครั้งที่ 4 เสนอ Advancement of Three Futures เพื่อพัฒนาการเชื่อมโยงด้านกายภาพ
และมุกในการแก้ปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ร่วมกัน พร้อมสร้างโอกาสเติบโตใหม่ๆ
และเน้นการประชุมผู้นำความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขงเสนอให้กระชับความร่วมมือในการต่อสู้กับการพนันออนไลน์และการฉ้อโกงทางอิเล็กทรอนิกส์
ความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย และจีน กรอบความร่วมมือนี้เป็นข้อริเริมของไทยเมื่อปี 2555
1
มีประสงค์จะพัฒนากรอบความร่วมมือในเขตเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง โดยเน้นให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำ และส่งเสริมกระบวนการพัฒนาอาเซียน
ซึ่งประเทศสมาชิกได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับการพัฒนากรอบความร่วมมือดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
และได้ประกาศจัดตั้งอย่างเป็นทางการในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 1 ในเดือนพฤศจิกายน 2558
ตั้งแต่นั้นมา การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศแม่โขง – ล้านช้าง (Mekong - Lancang Cooperation Foreign Ministers’ Meeting) จัดขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปี
และการประชุมสุดยอดแม่โขง – ล้านช้าง (Mekong – Lancang Cooperation Leaders’ Meeting) มีกระทรวงต่างประเทศเป็นหน่วยงานหลัก
โดยแนวทางความร่วมมือของกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง กรอบ MLC พัฒนามาจากข้อริเริ่มของไทยเมื่อปี 2555 โดยประกอบด้วย 3 เสาความร่วมมือ
ได้แก่ การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน สังคมและวัฒนธรรม โดยมี 5 สาขา ความร่วมมือหลัก
ได้แก่ ความเชื่อมโยง ศักยภาพในการผลิต เศรษฐกิจข้ามพรมแดน ทรัพยากรน้ำ และการเกษตรขจัดความยากจน
ซึ่งในการประชุมครั้งนี้มีเอกสารที่เป็นผลลัพธ์
ได้แก่ 1.ปฏิญญาเนปยีดอ 2. แผนดำเนินการระยะ 5 ปี ของกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (พ.ศ. 2566-2570)
และ 3.ข้อริเริ่มร่วมเรื่องการพัฒนาระเบียงนวัตกรรมภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขงล้านช้าง
ในกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างนี้ มีการจัดตั้งคณะทำงาน 6 คณะ เพื่อผลักดันในประเด็นต่าง ๆ
ซึ่งนายกรัฐมนตรีเชื่อว่า MLC จะเสริมสร้างความเป็นผู้นำร่วมกัน สร้างอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่มีสันติภาพและเจริญรุ่งเรือง
และได้เสนอ "ความก้าวหน้าของ 3 อนาคต Advancement of Three Futures " เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายร่วมกัน คือ
1. MLC จำเป็นต้องพัฒนาความร่วมมือในการเชื่อมต่อด้านกายภาพ ส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในอนุภูมิภาคและภูมิภาค
ต่อยอดเครือข่ายความเชื่อมโยงภายใต้ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative) ระเบียงการพัฒนาเศรษฐกิจแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong-Lancang Economic Development Belt)
และระเบียงการค้าระหว่างประเทศทางบกและทางทะเลแห่งใหม่ (New International Land-Sea Trade Corridor) เพื่อเชื่อมโยงกับอนุภูมิภาค
2. แก้ไขปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ร่วมกัน โดยเฉพาะปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การค้ามนุษย์ การหลอกลวงทางโทรคมนาคม และการฉ้อโกงออนไลน์
เพื่อคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และความมั่นคงของชาติของเรา
ซึ่งรวมถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมลภาวะหมอกควันข้ามแดน พัฒนาข้อริเริ่ม ‘อากาศสะอาด’ ภายใต้กรอบความร่วมมือ MLC
เพื่อรักษาสุขภาพและสวัสดิภาพของประชาชน รวมทั้ง ความร่วมมือด้านการบริหารจัดการน้ำ
ผ่านการประสานงานระหว่างศูนย์ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong-Lancang Water Resources Cooperation Center) กับสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission Secretariat)
3. สร้างโอกาสการเติบโตใหม่ ไทยสนับสนุนการพัฒนาระเบียงนวัตกรรมภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (MLC innovation corridor)
สร้างระบบนิเวศให้นวัตกรรม การเติบโตที่ยั่งยืน และการเปลี่ยนผ่านสีเขียว
โดยนายกรัฐมนตรีได้ย้ำถึงคำมั่นที่ได้ประกาศในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติเมื่อเดือนกันยายนว่า
ประเทศไทยจะยกระดับความพยายามในการส่งเสริมการพัฒนาด้านเทคโนโลยี
ทั้งนี้ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และส่งเสริมการดำเนินการที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (climate actions) รวมทั้งการตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศสมาชิกฯ เป็นสองเท่าภายใน 2 ปีข้างหน้า
จะส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในภูมิภาค ให้มีความปลอดภัยและการคุ้มครองด้านกงสุลแก่นักท่องเที่ยว
ตามรายงาน ทุกฝ่ายต่างชื่นชมผลสำเร็จของความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง เป็นอย่างมาก
โดยกล่าวว่าทั้ง 6 ประเทศควรมีโอกาส แบ่งปัน
เผชิญกับความท้าทายร่วมกัน และร่วมกันวางแผนการพัฒนาในอนาคตของความร่วมมือล้านช้าง-แม่น้ำโขง
เสริมสร้างความร่วมมือในด้านการเกษตร นวัตกรรม การบรรเทาความยากจน
1
การเชื่อมโยงโครงข่าย เศรษฐกิจดิจิทัล การพัฒนาสีเขียว ทรัพยากรน้ำ การท่องเที่ยว มนุษยศาสตร์
และการต่อสู้กับการฉ้อโกงทางออนไลน์ เป็นกรณีเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมการกระชับความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขงให้ลึกซึ้งและแข็งแกร่ง
และสร้างแถบพัฒนาเศรษฐกิจล้านช้าง-แม่โขง สร้างชุมชนแห่งอนาคตร่วมกันสำหรับประเทศล้านช้าง-แม่โขงต่อไป
....เพราะความจนมันน่ากลัวครับ....
โฆษณา