Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
AIA Thailand
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
4 ม.ค. 2024 เวลา 02:00 • ท่องเที่ยว
เทคนิคเก็บเงินเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้เที่ยวจริง ไม่เที่ยวทิพย์!!
ใคร ๆ ก็รู้ว่ายากกว่าการเดินทางไปเที่ยว คือการเก็บเงินไปเที่ยว!! นั่นก็เพราะว่าแต่ละคนก็มีภาระทางการเงินที่หลากหลายจนทำให้การเก็บเงินไปท่องเที่ยวกลายเป็นความสำคัญลำดับท้ายสุด …อย่างไรก็ตามก็ใช่ว่าการออมเงินไปเที่ยวจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพียงแต่เราจำเป็นต้องมีการวางแผนที่ดีมากพอ วันนี้เราจึงจะมาแชร์เทคนิคที่ทำง่าย ๆ 4 ขั้นตอนเท่านั้นที่ทำให้คุณได้ไปเที่ยวแบบจริง ๆ ไม่ใช่เที่ยวทิพย์ที่แค่คิดแล้วจบไป
🧳 ขั้นตอนที่ 1 : กำหนดเป้าหมายปลายทาง
เริ่มต้นจากการวางแผนว่าจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวนี้อยู่ที่ตรงไหน โดยระบุ 2 หัวข้อย่อย เพื่อให้เห็นรายละเอียดของการออมที่จะมาตอบโจทย์ทริปดังกล่าว
🔘 ปลายทางที่เลือกเป็นในประเทศหรือต่างประเทศและคือที่ไหน - การให้ความชัดเจนว่าไปต่างประเทศหรือในประเทศจะสำคัญต่อการคำนวณเงินว่าต้องคิดตามความผันผวนในการแลกเปลี่ยนหรือไม่ ที่สำคัญคือสามารถกำหนดระยะได้ว่าควรเก็บเงินในระยะเวลาเท่าใด (ในประเทศ 2-6 เดือน / ต่างประเทศใกล้ไทย 6 เดือน- 1 ปีครึ่ง/ต่างประเทศอื่น ๆ 2 ปีขึ้นไป)
🔘 ปลายทางของการไปเที่ยวใช้ระยะเวลากี่วัน - เป็นการดูตัวแปรเกี่ยวกับจำนวนวันที่เราท่องเที่ยว เช่น ในประเทศอาจจะแค่ 2-3 วัน แต่ต่างประเทศอาจใช้เวลาเป็นอาทิตย์
1
🧳 ขั้นตอนที่ 2 : คำนวณรายละเอียดและค่าใช้จ่าย
เมื่อเราได้สถานที่ที่ต้องการไปเที่ยวและจำนวนวันเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการแตกรายละเอียดที่จะเกิดขึ้นในทริป ด้วยการกำหนดเพดานแต่ละส่วนของค่าใช้จ่ายว่าจำกัดที่เท่าไหร่ เช่น ค่าที่พักในประเทศไม่เกิน 2,500 บาทต่อคืน เป็นต้น โดยสามารถกำหนดเบื้องต้นได้ดังนี้
- ค่าเดินทาง (ค่าตั๋วเครื่องบิน / ค่าตั๋วรถโดยสารสาธารณะ / ค่าน้ำมัน)
- ค่าที่พัก
- ค่าอาหารในแต่ละวัน (กำหนดเป็นวัน)
- ค่าใช้จ่ายจิปาถะต่าง ๆ (ค่า Internet Sim Card, ค่าสถานที่ท่องเที่ยว, ค่าของที่ระลึก ฯลฯ)
- กรณีไปต่างประเทศให้คำนวณเผื่อค่าดำเนินการขอวีซ่าในบางประเทศ และค่าประกันภัยการเดินทาง
- ค่าชอปปิง (มีหรือไม่มีก็ได้)
- เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน หากเกิดเหตุการณ์สุดวิสัย (อย่างน้อย 10% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด)
🧳 ขั้นตอนที่ 3 : กำหนดกรอบระยะเวลา, คำนวณกำลังใช้จ่าย และการวางแผนเก็บเงิน
ถัดมาคือการวางกรอบเวลาในการเก็บเงิน (นับเป็นเดือน) ว่าจะใช้เวลากี่เดือนที่คิดว่าจะได้เท่ากับจำนวนที่คำนวณค่าใช้จ่ายในการเที่ยว จากนั้นจึงคำนวณตัวเลขกำลังใช้จ่ายต่อเดือนของเราว่ามีค่าใช้จ่ายประจำเท่าใด และจะออมเงินได้เดือนละเท่าไหร่ต่อเดือน
เมื่อได้ครบองค์ประกอบทางการเงินแล้ว คือ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ต้องใช้ในการเที่ยว / ระยะเวลาการเก็บเงิน / จำนวนเงินที่เราน่าจะเก็บได้ต่อเดือน ให้นำทั้ง 3 องค์ประกอบนี้มาคำนวณหาเงินที่ต้องออมเพิ่ม ผ่านสมการง่าย ๆ
‘(จำนวนเงินที่ต้องใช้ในทริป ÷ จำนวนเดือนในการออม) - เงินที่เราน่าจะเก็บได้ต่อเดือน = เงินที่ต้องเก็บเพิ่ม’
เมื่อคำนวณได้ตามสมการอย่างครบถ้วนจะได้ค่าส่วนต่างที่ต้องเก็บต่อเดือนว่ายังขาดอีกแค่ไหน (กรณีที่เมื่อลบแล้วไม่มีเงินต้องเก็บเพิ่มให้เก็บตามจริงอย่างมีวินัย) ซึ่งเราสามารถหาเงินให้ครบถ้วนได้ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น
- หารายได้เสริมเพื่อเติมเต็มสัดส่วนเงินที่ต้องเก็บเพิ่ม
- ลดค่าใช้จ่ายต่อเดือนเพื่อเพิ่มเงินเก็บต่อเดือน
- ยืดระยะการเก็บเงินเพื่อให้งบประมาณครอบคลุมยิ่งขึ้น
1
🧳 ขั้นตอนที่ 4 : วางแผนการจ่ายเป็นขั้น Milestone
สุดท้ายคือขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้ทริปการท่องเที่ยวไม่ล่มคือการวางแผนจ่ายสิ่งจำเป็นด้วยรูปแบบ Milestone หรือจุดมุ่งหมายระหว่างทาง โดยไม่รอต้องเก็บเงินให้ครบแต่เลือกการทยอยจ่ายไปในแต่ละส่วน เช่น ถ้าเราวางแผนไปประเทศญี่ปุ่นโดยคิดว่าจะใช้เวลาเก็บเงินทั้งหมด 18 เดือน ให้แบ่งออกมาก่อนว่าครบ 6 เดือนจะนำเงินทั้งหมดไปจ่ายค่าตั๋วเครื่องบิน ครบ 12 เดือนจะนำเงินที่มีจ่ายค่าที่พัก ครบ 15 เดือนจะนำเงินไปจ่ายค่าสถานที่ท่องเที่ยว
1
ซึ่งคือการทยอยจ่ายในส่วนจำเป็นโดยเงินเก็บไม่ตกหล่น หรือกรณีเที่ยวในประเทศกับเพื่อนให้วางจุดมุ่งหมายไว้ก่อนเลยว่าจะจ่ายค่าที่พักเมื่อไหร่ เงินค่าเดินทาง(น้ำมันรถ)เท่าไหร่ เพื่อป้องกันการเบี้ยวของกลุ่มเพื่อนด้วย
เคล็ดลับในการเก็บเงินเพิ่มเติมสำหรับการเดินทางที่ใช้เงินจำนวนมาก
นอกจากการวางแผน 4 ขั้นตอนแล้ว ยังมีเทคนิคอื่น ๆ ที่ช่วยให้การเก็บเงินจำนวนมากเพื่อใช้ในทริปต่างประเทศทำได้ง่ายขึ้นอีก เช่น
- การแยกบัญชีสำหรับการท่องเที่ยวออกมาจากบัญชีใช้ประจำ เพื่อเป็นตัวแทนการเก็บเงินโดยเฉพาะ
- การเก็บเงินเพิ่มเติมด้วยการหักเงินใช้รายวัน วันละเล็กน้อยแต่ทำทั้ง 365 วัน
- การแบ่งเงินเก็บก่อนใช้เงิน ซึ่งอาจจะใช้ตัวช่วยการตัดผ่านบัญชีทุกครั้งที่มีเงินเดือนเข้า
เพียงแค่เรารู้จักวางแผนและวาดภาพให้ครบถ้วนเสียก่อนว่าการท่องเที่ยวในแต่ละครั้งจะใช้เงินจำนวนเท่าไหร่ พร้อมกับการทยอยจ่ายในส่วนที่จำเป็น เห็นไหมว่าการไปเที่ยวก็ไม่ใช่เรื่องยาก และไม่ใช่แค่ความฝันอีกต่อไป! 🌎
ขอบคุณข้อมูล ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ติดตาม Community AIA Thailand ได้ที่
https://www.blockdit.com/aiathailand
aiathailand
ท่องเที่ยว
การเงิน
20 บันทึก
28
2
28
20
28
2
28
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย