Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Probiotic Expert
•
ติดตาม
27 ธ.ค. 2023 เวลา 09:09 • สุขภาพ
🎯5โรคต้องระวังที่มากับหน้าฝน
ฤดูฝนอาจเป็นฤดูกาลที่หลายคนไม่ชอบ เพราะอากาศเย็น ฝนตกตอนเช้า พายุเข้าตอนกลางคืน จนทำให้การเดินทางต่างๆ ติดขัด เท่านั้นยังไม่พอ ฤดูฝนยังเป็นช่วงที่เชื้อโรคและแบคทีเรียเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้ดี ส่งผลทำให้หลายคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่มีอาการป่วย เป็นไข้ ไอ ไม่สบายง่าย ดังนั้น Zenbio จะพาทุกคนมารู้จัก 5 โรคระบาดที่มักเป็นในหน้าฝน
【1. โรคไข้หวัดใหญ่ 】
กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจสามารถพบได้ตลอดทั้งปีโดยเฉพาะหน้าฝน เกิดจากเชื้อไวรัส Influenza virus แพร่กระจายผ่านการหายใจ การไอหรือจาม การสัมผัสกับละอองหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ ดูเผินๆ จะเหมือนไข้หวัดธรรมดา แต่อาการมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ปวดหัว อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย ไอ จาม น้ำมูกไหล และคัดจมูกร่วมด้วย
【2. โรคท้องร่วง】
กลุ่มโรคระบาดทางเดินอาหาร โรคท้องร่วงแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ท้องร่วงชนิดเฉียบพลันและท้องร่วงเรื้อรัง สาเหตุของโรคมีหลายปัจจัยแต่หนึ่งในสาเหตุซึ่งพบได้บ่อยกว่าสาเหตุอื่นๆ คือ เกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อน ไม่ว่าจะเป็น เชื้อจุลินทรีย์ชนิดที่ก่อโรค, พยาธิบางชนิด, สารเคมี, ยา เช่น ยาถ่าย ยาระบาย ยาปฏิชีวนะ และพืชพิษอย่างเห็ดบางชนิดหรือกลอย ทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานผิดปกติ เกิดอาการท้องเดิน ท้องเสียเฉียบพลัน
【3. โรคตาแดง】
โรคติดต่อที่เกิดจากกลุ่มไวรัสอะดีโน (Adenovirus) และกลุ่มไวรัสพิคอร์นา (picornavirus) โรคนี้สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสโดยตรงหรือทางอ้อม เช่น สัมผัสถูกสิ่งของเครื่องใช้ที่แปดเปื้อนเชื้อหรือสัมผัสโดยการอยู่ใกล้ผู้ป่วยโรคตาแดง การแสดงอาการของการติดโรคคือ ลูกตาเป็นสีแดงจากหลอดเลือดฝอยขยายตัว ระคายเคือง แสบตา น้ำตาไหล มีขี้ตาเยอะกว่าปกติ บางรายอาจมีอาการแพ้แสง หนังตาบวม ต่อมน้ำเหลืองที่กกหูบวมและมีอาการเจ็บ รวมถึงมีอาการคล้ายไข้หวัด ไอ เจ็บคอ มีไข้ มีน้ำมูก และมีอาการปวดเมื่อยร่วมด้วย
วิธีการป้องกันตนเองจากการติดโรคตาแดงเบื้องต้น แนะนำให้ระวังการสัมผัสกับผู้ป่วย ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ ห้ามใช้มือขยี้ตา ไม่อยู่ใกล้ผู้ป่วยโรคตาแดง ไม่คลุกคลีหรืออยู่ในพื้นที่แออัด เช่น การนอนร่วมกับคนที่เป็นโรคนี้ หรือการเล่นน้ำในสระ ห้ามใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย เช่น แว่นตา ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว หมอน แก้วน้ำ จาน ชาม โทรศัพท์ เป็นต้น
【4. โรคฉี่หนู】
โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) จากการสัมผัสปัสสาวะสัตว์ เช่น สุนัข แพะ หนู วัว และควาย เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยถลอก หรืออาจเกิดจากการแช่น้ำขังหรือพื้นดินชื้นแฉะที่มีการปนเปื้อนปัสสาวะสัตว์ เช่น พื้นที่ฟาร์มการเกษตร ท้องนา น้ำท่อ เป็นต้น ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงทันที ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัวในบริเวณน่องและโคนขา คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลืองตาเหลือง มีเลือดออกในปอด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้ ซึ่งเมื่อมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์และให้แพทย์วินิจฉัยอาการและรับยารักษา ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เพราะโรคนี้ยิ่งพบแพทย์เร็วก็จะหายเร็ว
【5. #โรคไข้เลือดออก】
กลุ่มโรคติดต่อโดยยุงลาย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกีโดยมียุงลายเป็นพาหะ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการระยะแรก คือ ไข้สูงเฉียบพลัน 38-41 องศา อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน มีผื่นขึ้น หน้าแดง ปวดท้องหรือท้องเสีย แต่ไม่มีน้ำมูกหรือไอ และระยะที่สองอาจมีอาการช็อก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ ปัสสาวะน้อย ซึ่งควรเข้ารับการดูแลจากแพทย์เพราะหากพบแพทย์ช้าไป ก็อาจมีโอกาสเสียชีวิตได้
ดังนั้นจึงไม่ควรมีแหล่งน้ำขังในบ้าน เปลี่ยนน้ำในกระถางทุกอาทิตย์ ปิดฝาหรือภาชนะใส่น้ำทุกครั้ง รวมถึงการเก็บและดูแลบ้านให้สะอาด ไม่มีแหล่งน้ำขังเพื่อไม่ให้เป็นจุดวางไข่ของยุง
.
นอกจาก 5 โรคติดต่อเหล่านี้แล้ว ยังมีอีกหลายโรคที่แพร่กระจายได้ เพราะความชื้นจากอากาศ ดังนั้นควรดูแลตนเองอย่างดีในช่วงฝนตก หลีกเลี่ยงพื้นที่แฉะหรือมีน้ำขัง และเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงในช่วงหน้าฝน เช่น ออกกำลังกาย หรือการรับประทานอาหารเสริม
.
📑สามารถอ่านบทความตัวเต็มได้ที่ ลิงค์ด้านล่างนี้
https://www.zenbiohealth.com/โรคระบาดในช่วงหน้าฝน/
.
อ่านเพิ่มเติม
zenbiohealth.com
5 โรคระบาดในช่วงหน้าฝน แนะนำอาหารเสริมเพิ่มภูมิคุ้มกัน Announcing Symptoms
พาทุกคนมารู้จัก 5 โรคระบาดในช่วงหน้าฝน วิธีการดูและป้องกันตัวเองในช่วงนี้ พร้อมแนะนำเมนูอาหารเสริม เพิ่มภูมิคุ้มกัน
สุขภาพ
ข่าวรอบโลก
ความรู้รอบตัว
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย