30 ธ.ค. 2023 เวลา 12:00 • ประวัติศาสตร์

ทำไม (เกือบ) ทั่วโลกถึงใช้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันปีใหม่?

เข้าสู่ช่วงปีใหม่ก็ชวนให้ฉงนสงสัยว่าทำไมวันที่ 1 มกราคมต้องเป็นวันปีใหม่ที่ทุกคนมาเฉลิมฉลองกัน บทความ Bnomics วันนี้มีคำตอบ
📌 วิวัฒนาการปฏิทิน
ก่อนจะทราบว่าทำไมต้องเป็นวันที่ 1 ต้องย้อนไปดูปฏิทินกันก่อนว่าเรามีปฏิทินมาตั้งแต่เมื่อไหร่ แล้วพัฒนามาสู่วันนี้ได้ยังไง?
หลักฐานการใช้ปฏิทินของมนุษย์แรกเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยอียิปต์ เรียกว่า ‘ปฏิทินอียิปต์’ ซึ่งคิดคำนวณวันเวลาจากการไหลของแม่น้ำไนล์และดวงจันทร์ ต่อมาชาวโรมันโบราณก็ได้คิดค้นปฏิทินสุริยคติมี 365 วันและทุก ๆ 4 ปีจะมี 366 วัน ซึ่งเรียกว่า ‘ปฏิทินจูเลียน’ (Julian Calendar) ซึ่งถูกใช้มาเป็นเวลาหลายร้อยปีในโลกตะวันตก
แล้วปฏิทินที่เราใช้กันในปัจจุบันมาจากไหนกันแน่? ปฏิทินที่เราใช้นั้นคือ ปฏิทินเกรโกเรียน (Gregorian calendar) ซึ่งก็พัฒนามาจากปฏิทินจูเลียนให้มีความแม่นยำเที่ยงตรงมากขึ้นนั่นเอง ซึ่งก็จะเห็นว่ามีการระบุวัน 365 วันและทุก 4 ปีจะมี 366 ซึ่งวันที่เพิ่มมาก็จะปรากฎเป็นวันที่ 29 กุมภาพันธ์นั่นเอง
3
📌 ทำไมปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม?
1
จากที่กล่าวไปข้างต้นเห็นได้ว่า ปฏิทินที่เราใช้มีรากเหง้ามาจากโรมันเสียมาก โดยแรกเริ่มนั้นชาวโรมันมีเดือนในปฏิทินเพียงแค่ 10 เดือนเท่านั้น ไม่ใช่ 12 เดือนแบบที่เราใช้กันในปัจจุบัน
1
โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม (March) ไปจนถึงธันวาคม (December) เท่านั้น (ยังไม่มีเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์) ดังนั้น วันปีใหม่จึงเริ่มนับวันที่ 1 เดือนมีนาคม
2
เรื่องนี้มีการบันทึกไว้โดยนักปรัชญาชาวกรีกนามว่า ‘พลูทาร์ก’ ได้กล่าวไว้ว่า กษัตริย์องค์แรกของกรุงโรมเป็นนักรบ มีนิสัยชอบต่อสู้ทำสงคราม และเชื่อกันว่าเป็นบุตรของดาวอังคารซึ่งเป็นดาวแห่งสงครามซึ่งคำว่า March ก็มาจากคำว่า Mars ที่แปลว่าดาวอังคารนั่นเอง ดังนั้น จึงให้เดือนแรกเริ่มนับเป็นเดือนมีนาคมเสียแทน
1
ต่อมา กษัตริย์กรุงโรมนามว่า ‘นูมาร์’ มีนิสัยที่แตกต่างคือรักสงบและต้องการเปลี่ยนแปลงอาณาจักรจากการมุ่งทำสงครามไปทำการเลี้ยงสัตว์แทน จึงเริ่มตั้งต้นเดือนว่า ‘มกราคม’ หรือ January ซึ่งมาจากคำว่า Janus ซึ่งเป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งการเริ่มต้นใหม่
3
จนเข้าสู่ยุคสมัยของจูเลียส ซีซาร์ รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่แห่งโรมันเห็นว่าปฏิทินจันทรคติมีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงตามฤดูกาลจึงมีการปรับปรุงพัฒนาใหม่กลายเป็น ‘ปฏิทินจูเลียน’ มาจากชื่อของจูเลียสซีซาร์และเป็นรากฐานของปฏิทินเกรโกเรียนที่เราใช้กันในปัจุบัน โดยมีการนับวันปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคมแทน
3
แม้วันที่ 1 มกราคมจะเป็นวันปีใหม่สากลที่ใคร ๆ ก็เฉลิมฉลอง หากแต่มีวัฒนธรรมอื่น ๆ ที่มีการฉลองปีใหม่เฉพาะของตน เช่น วันตรุษจีน (Chinese New Year) ของชาวจีนหรือชาวเชื้อสายจีนในประเทศต่าง ๆ วันปีใหม่เกาหลี Seollal (Korean New Year) วันปีใหม่ชาวยิว (Rosh Hashanah) หรือวันสงกรานต์ของประเทศไทย
4
ดังนั้น ประวัติศาสตร์ของวันปีใหม่ก็ทำให้เราได้เรียนรู้ถึงรากเหง้าความเป็นของแต่ละภูมิภาคอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกันดังที่เห็นในปัจจุบัน
1
ผู้เขียน : ขัตติยาภรณ์ ด้วงแก้ว Political Analyst, Bnomics
ภาพประกอบ : บริษัท ก่อการดี จำกัด
════════════════
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
════════════════
Source:
โฆษณา