29 ธ.ค. 2023 เวลา 01:43

📚 ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์ #32

เล่มนี้อาจจะมาแนวตรงข้ามกับหนังสือแนวพัฒนาตัวเอง ที่คอยบอกเราว่า เราต้องเก่งขึ้น ดีขึ้น พยายามมากขึ้น บริหารจัดการเวลาให้ดียิ่งขึ้น
แต่เล่มนี้กลับพูดถึงว่า เราไม่จำเป็นต้องใส่ใจกับ ประสิทธิภาพการทำงาน productivity หรือการจัดการเวลาขนาดนั้น เพราะในความเป็นจริงเราไม่สามารถจัดการมันได้ดี
ยิ่งเราบริหารได้ดี งานใหม่ๆก็จะเข้ามาอย่างถาโถมเช่นเดิม กลับกัน เราอาจต้องยอมรับความเป็นจริง และเพียงทำมัน หรือไม่ต้องนึกถึงความสำคัญเรื่องการบริหารจัดการเวลาให้ดีขนาดนั้น แค่ใช้ชีวิตให้ดี ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เราคิดว่าสำคัญกับเราจริงๆ
ในปี 1930 นักเศรษฐศาสตร์ จอหน์ เมย์นาร์ด เคนส์ ได้ทำนายไว้ว่า ภายในร้อยปีข้างหน้า ด้วยมูลค่าของสินทรัพย์ที่โตขึ้น และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
จะไม่มีใครต้องทำงานมากกว่าสิบห้าชั่วโมงต่อสัปดาห์อีกต่อไป
ความท้าทายจะอยู่ที่ การหาอะไรทำเพื่อเติมเต็มเวลาที่ว่างขึ้น โดยไม่เป็นบ้าไปเสียก่อน
แต่ปัจจุบัน กลับกลายเป็นว่า เมื่อเราทำเงินได้มากขึ้นเท่าที่จำเป็น เราก็จะหาสิ่งจำเป็นใหม่ๆ และไลฟ์สไตล์ที่จะต้องตะกายไปให้ถึง
ยากที่พวกเราจะรู้สึกทัดเทียมไอดอลที่ชื่นชม เพราะเมื่อไหร่ที่เราเฉียดไปใกล้จุดเดียวกัน พวกเราก็จะสถานปนาไอดอลคนใหม่ที่ดีกว่า เป็นเป้าหมายต่อไป
ผลลัพธ์คือพวกเราจะทำงานหนักขึ้น
ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เหตุผลเดียวของการเป็นคนรวยคือเพื่อที่เราจะไม่ต้องทำงานหนัก
แต่หนึ่งในวิธีหาเงินเพิ่มของคนรวยคือ การตัดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงประสิทธิภาพในบริษัท และอุตสาหกรรมของเขา
นั่นหมายถึงความไม่มั่นคงที่เพิ่มขึ้นสำหรับคนระดับล่าง ที่จำเป็นต้องทำงานหนักขึ้นเพียงเพื่อจะหาเช้ากินค่ำ
คนที่เคยผ่านเหตุการ์ที่ใกล้เคียงกับความตาย หรือคนใกล้ชิดคนที่ตายจากไป จะรู้สึกขอบคุณทุกจังหวะของชีวิตที่เหลืออยู่
เทคนิคการบริหารจัดการเวลา แบบไม่ตึงเกินไป
- จงทำโครงการที่สำคัญที่สุดในชั่วโมงแรกของแต่ละวัน และป้องกันเวลาของตัวเอง
- จ่ายให้ตัวเองก่อน ให้เวลาตัวเองก่อน
- จำกัดจำนวนชิ้นงานที่ทำอยู่ เช่น ไม่เกินสามสิ่ง
สมัยนี้สิ่งรบกวนสมาธิมากมาย อินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นอุปสรรคต่อความพยายามมีสมาธิของเรา
หลายคนนั่งดู live ดูคลิป content ที่ไม่ได้อยากจะดูตั้งแต่แรก แต่เพลินๆ รู้ตัวอีกทีก็ปาไปเกือบชั่วโมงละ
Attention economy
Social medial platform พวกเราต่างรู้ว่าเราใช้ได้ฟรีอยู่ทุกวันนี้ ไม่ใช่ของฟรีจริง
เราไม่ใช่ลูกค้า แต่เราเป็นสินค้าที่ถูกขาย กำไรของบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้มาจากการฉกฉวยความสนใจของเรา แล้วเอาไปขายให้กับพวกนักโฆษณา
โทรศัพท์มือถือจะคอยติดตามความสนใจ ความเคลื่อนไหวต่างๆของเรา ว่าเราคลิกอะไร ไถดูอะไร สิ่งไหนที่เราหยุดดู สิ่งไหนที่เราเลื่อนผ่านไป เพื่อเอาไปประเมินผล และย้อนกลับมาแสดงเนื้อหาที่ทำให้เราติดงอมแงม
ซึ่งก็มักจะเป็นอะไรที่ทำให้เราโกรธที่สุด หรือสยองขวัญที่สุด เพราะฉะนั้น การทะเลาะเบาะแว้ง ข่าวปลอม และการดูถูกกันในที่สาธารณะบนโซเชียลมีเดีย หรือการยุยงแบ่งขั้ว ปรปักษ์ทางการเมือง จึงไม่ใช่ข้อบกพร้องในสายตาเจ้าของ platform แต่เป็นส่วนสำคัญของโมเดลธุรกิจ
Social media บ่อนทำลายความสามารถที่จะ “ต้องการสิ่งที่เราอยากจะต้องการ”
หากเราเชื่อว่า โซเชียลมีเดีย ไม่ได้ เปลี่ยนให้คุณมีตัวตนที่โกรธเกรี้ยวกราดขึ้น เมตตาน้อยลง วิตกกังวลมากกว่าเดิม หรือเฉื่อยชาไร้ความรู้สึก อาจเป็นเพราะมันทำเช่นนั้นสำเร็จไปแล้ว
และเวลาที่มีวันหมดของคุณถูกเอาไปใช้แล้ว โดยที่คุณไม่ได้ตระหนักเลยว่ามีอะไรบางอย่างไม่ถูกต้อง
#GolferoReview
โฆษณา