Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
2 ม.ค. 2024 เวลา 02:30 • ธุรกิจ
BYD แก้เกมภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ส่งออกรถไฟฟ้า จากเม็กซิโก ด้วยภาษี 0 บาท
ถ้ารถยนต์ BYD ในจีน มีราคาเริ่มต้นประมาณ 690,000 บาทต่อคัน
หากเราส่งออกรถยนต์คันนี้ จากจีนไปยังสหรัฐฯ
รู้ไหมว่า ราคารถยนต์จะพุ่งสูงเป็น 876,000 บาท
เพราะโดนภาษีนำเข้ามากถึง 27%
3
แต่รถยนต์คันเดียวกันนี้ หากจีนไปผลิตรถยนต์ที่เม็กซิโก แล้วส่งออกไปยังสหรัฐฯ ราคาจะเหลือเพียง 690,000 บาทเท่าเดิม เพราะจ่ายภาษีแค่ 0 บาท
เรื่องนี้เป็นเพราะอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ปัจจุบัน เราคงปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า รถยนต์ไฟฟ้าจีน
ได้กลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ไล่ตั้งแต่ BYD, Changan, MG, Geely ไปจนถึง GAC
1
โดยเฉพาะ BYD ที่ล่าสุด มียอดส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้ากว่า 2 ล้านคัน แซงหน้า Tesla ที่ส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าแค่ 1.3 ล้านคัน ไปเป็นที่เรียบร้อย
ซึ่งการเติบโตที่ก้าวกระโดดเช่นนี้ ส่วนหนึ่ง มาจากการที่รัฐบาลจีน ส่งเสริมอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าของตัวเองอย่างหนัก เพื่อชิงที่หนึ่งของโลก
ไม่ว่าจะเป็น
- การอุดหนุนราคารถไฟฟ้าในประเทศ
- สร้างสถานีชาร์จรถไฟฟ้าทั่วประเทศ
- สนับสนุนเงินให้บริษัท ที่ทำธุรกิจแบตเตอรี่
- เข้าครอบครองแหล่งแร่ ที่ใช้ผลิตแบตเตอรี่
และอีกเรื่องหนึ่ง เพราะภาพลักษณ์รถยนต์ไฟฟ้าจีน
ดูดีขึ้นในสายตาของคนทั่วโลก ทั้งเรื่องความคุ้มค่า การดิไซน์ รวมไปถึงเทคโนโลยีที่ไม่แพ้รถยนต์เจ้าอื่น
แต่การเติบโตอย่างรวดเร็วของรถยนต์จีน ทำให้สหรัฐฯ จับตามองอย่างใกล้ชิด และพยายามกีดกันไม่ให้จีน แข่งขันได้อย่างถนัดนัก
ตัวอย่างเช่น ยอมตั้งกำแพงภาษีนำเข้ารถยนต์จากจีน
ในอัตราสูงถึง 27% เพื่อให้ราคาขายในสหรัฐฯ สูง
นอกจากนี้ ยังประกาศนโยบายขอเครดิตภาษีรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศตัวเองได้สูงสุด 7,500 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินราว 260,000 บาท
แต่เพิ่มเงื่อนไขเข้าไป คือ ต้องใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศไม่เกิน 25%
นั่นเท่ากับว่า เป็นการปิดโอกาสไม่ให้คนอเมริกันที่ซื้อรถจีน ได้เครดิตภาษีคืนไปในทันที
แล้วเรื่องนี้ แบรนด์รถยนต์จีน แก้เกมอย่างไร ?
คำตอบก็คือ แบรนด์รถยนต์จีน นำโดย BYD
ตีท้ายครัวสหรัฐฯ ด้วยการส่งออกรถยนต์ของตัวเอง
ผ่านทางเม็กซิโกแทน
เหตุผลก็เพราะว่า เม็กซิโก ถือว่าเป็นโรงงานผลิตรถยนต์อันดับ 7 ของโลก จนได้ฉายาว่า ดีทรอยต์แห่งลาตินอเมริกาใต้
ในขณะที่ดีทรอยต์แห่งเอเชีย นั่นคือ ประเทศไทย
ที่เป็นฐานการผลิตให้กับญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน
โดยเม็กซิโก กลายเป็นฐานการผลิตรถได้ จากการที่มีแรงงานราคาถูก เทียบกับฝีมือของแรงงานที่มีความสามารถเหมาะสม ทำให้บริษัทรถยนต์สหรัฐฯ มาตั้งโรงงานที่นี่มากมาย
ตลอดจนแบรนด์รถยนต์ชาติอื่น ๆ ที่เข้ามาตั้งโรงงาน
เพื่อส่งออกรถยนต์ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้อีกด้วย
แต่การจะใช้เม็กซิโกเป็นฐานการผลิต เพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้ แบรนด์รถยนต์จีนเอง ก็ต้องเจาะตลาดเม็กซิโกให้ได้เสียก่อน
แบรนด์รถยนต์จีน เห็นโอกาสการเติบโตในเม็กซิโก จึงใช้กลยุทธ์ขายราคาถูก ดิไซน์สวย แต่คุณภาพใกล้เคียงกับแบรนด์อื่น ๆ แทน
เพราะรถยนต์แบรนด์ต่างชาติที่ผลิตในเม็กซิโกมีราคาสูง
ทำให้คนเม็กซิโก ไม่สามารถซื้อมาใช้งานได้มากเท่าไรนัก
4
ซึ่งด้วยกลยุทธ์แบบนี้ ทำให้รถยนต์จีนประสบความสำเร็จในเม็กซิโกอย่างมาก ดังที่เห็นได้จาก
ปี 2016
- รถยนต์จีน ส่งออกไปเม็กซิโก 661 คัน
- รถยนต์สหรัฐฯ ส่งออกไปเม็กซิโก 169,170 คัน
2
ปี 2021
- รถยนต์จีน ส่งออกไปเม็กซิโก 142,249 คัน
- รถยนต์สหรัฐฯ ส่งออกไปเม็กซิโก 55,640 คัน
จะเห็นได้ว่า รถยนต์จีนสามารถเอาชนะคู่แข่งอย่างสหรัฐฯ ได้แบบถล่มทลาย และทำให้จีนสามารถยึดตลาดเม็กซิโกได้สำเร็จ
พอเป็นแบบนี้ แบรนด์รถยนต์จีนก็เริ่มกลยุทธ์ต่อไป ด้วยการเปลี่ยนจากสำนักงานดีลเลอร์ขายรถ เป็นโรงงานเพื่อเป็นฐานการผลิตแทน
ไล่ตั้งแต่ BYD ประกาศตั้งโรงงานผลิตรถในเม็กซิโกภายในปี 2024 ตามมาด้วยแบรนด์อื่น ๆ ทั้ง JAC, SAIC, Chery และอีกมากมาย
ซึ่งทำให้รถยนต์จีน สามารถส่งออกรถไปยังประเทศอื่น ๆ ทั้งทวีปอเมริกา โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่เป็นตลาดรถยนต์ใหญ่อันดับ 2 ของโลก
แถมยังไม่โดนภาษีส่งออก 27% เพราะเม็กซิโกอยู่ภายใต้ข้อตกลง USMCA ซึ่งเป็นข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างสหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโก
1
โดยอนุญาตให้รถยนต์ที่ผลิตในเม็กซิโก สามารถส่งออกมายังสหรัฐฯ ได้ ด้วยภาษี 0 บาท แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องใช้วัตถุดิบภายในประเทศนั้น ๆ 75%
5
ดังนั้นแล้ว หากมีโรงงานที่เป็นฐานการผลิตอยู่ในเม็กซิโก ก็สามารถเข้าเงื่อนไขได้ทั้ง 2 ข้อ เรียกได้ว่า ยิงปืนนัดเดียวได้นกถึงสองตัว
1
อ่านมาถึงตรงนี้ คงเห็นแล้วว่า แม้สหรัฐฯ จะพยายามกีดกันแบรนด์รถยนต์จีนมากแค่ไหน แต่สุดท้ายแล้ว จีนเองก็พยายามหาทางแก้ได้อยู่ดี
1
ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า สหรัฐฯ จะแก้เกมอย่างไรกับเรื่องนี้ ซึ่งในตอนนี้แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Tesla เองก็ประกาศตั้งโรงงานที่เม็กซิโกด้วยเช่นกัน
1
ทำให้เม็กซิโก กำลังเป็นทะเลเดือด ที่บรรดาแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก
เข้ามาตั้งโรงงาน เพื่อเจาะตลาดประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกา
โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีตลาดรถยนต์ ใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก..
47 บันทึก
111
1
79
47
111
1
79
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย